แจกเงินดิจิทัล 10,000 ผู้สูงอายุ เฟส 2 ซื้ออะไรได้บ้างเช็กที่นี่

18 ม.ค. 2568 | 05:25 น.

แจกเงินดิจิทัล 10,000 ผู้สูงอายุ เฟส 2 ซื้ออะไรได้บ้าง เช็กเงื่อนไข และ ช่องทางตรวจสอบข้อมูลทั้งหมดตรวจสอบรายละเอียดด่วน

ใกล้งวดเข้ามาทุกทีสำหรับการแจกเงินดิจิทัล 10,000 ผู้สูงอายุ เฟส 2 ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปจำนวน 4 ล้านคน จะได้รับเงิน 10,000 โดย กระทรวงการคลัง โอนเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์ โดยเปิดให้ตรวจสอบรายชื่อผ่านแอปทางรัฐ

อัพเดทคุณสมบัติกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไปผ่านแอปทางรัฐ รายละเอียดดังนี้

1. คุณสมบัติกลุ่มเป้าหมาย: จะต้องเป็นผู้ที่ลงทะเบียนผ่านแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 เมษายน 2567 สำเร็จ (ลงทะเบียนโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet สำเร็จ) ที่มีสัญชาติไทยและมีอายุตั้งแต่ 60 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ณ วันที่ 15 กันยายน 2567 (เกิดก่อนหรือในวันที่ 16 กันยายน 2507) และมีคุณสมบัติเพิ่มเติม ดังนี้

 1.1 ไม่เป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินเกิน 840,000 บาท สำหรับปีภาษี 2566

 1.2 ไม่เป็นผู้ที่มีเงินฝากรวมกันเกิน 500,000 บาท ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2567

 1.3 ไม่เป็นผู้อยู่ในสถานสงเคราะห์ในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2567

 1.4 ไม่เป็นผู้ต้องขัง 4 ประเภท ได้แก่ นักโทษเด็ดขาด ผู้ต้องขังระหว่าง ผู้ต้องกักขัง และผู้ต้องกักกัน ตามฐานข้อมูลของกรมราชทัณฑ์ ณ วันที่ 30 พฤศจิกายน 2567

1.5 ไม่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่ได้รับเงินตามโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ ปี 2567 ผ่านผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและคนพิการ

2. สามารถตรวจสอบสิทธิการได้รับเงินในโครงการฯ ผ่านแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” ได้ตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2568 เป็นต้นไป โดยกรอกบัญชีผู้ใช้หรือเลขประจำตัวประชาชน (Username) และรหัสผ่าน (Password) เพื่อ “เข้าสู่ระบบ” ให้เรียบร้อยก่อน และกด “ตรวจสอบสถานะการลงทะเบียน” โครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet เพื่อเข้าสู่หน้าแสดงผลผู้มีสิทธิโครงการฯ

3. ผู้สูงอายุที่มีสิทธิได้รับเงินในโครงการฯ จะได้รับเงิน 10,000 บาท ผ่านบัญชีเงินฝากที่ผูกพร้อมเพย์กับเลขประจำตัวประชาชนเท่านั้น (ไม่สามารถรับเงินผ่านบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกไว้กับเบอร์โทรศัพท์ได้) ซึ่งการผูกบัญชีพร้อมเพย์กับเลขประจำตัวประชาชน สามารถผูกกับบัญชีเงินฝากของธนาคารใดก็ได้โดยไม่จำกัดว่าต้องเป็นธนาคารของรัฐ ทั้งนี้ ขอแนะนำให้ดำเนินการผูกบัญชีพร้อมเพย์กับเลขประจำตัวประชาชนให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 22 มกราคม 2568 เพื่อรอรับการจ่ายเงินในวันที่ 27 มกราคม 2568

4. กรณีผู้สูงอายุมีบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชนอยู่แล้ว ควรตรวจสอบกับธนาคารด้วยว่าบัญชีดังกล่าวยังคงมีสถานะปกติที่สามารถรับเงินโอนได้หรือไม่ เพื่อให้มั่นใจว่าพร้อมรับเงินในวันที่ 27 มกราคม 2568

5. ในกรณีที่จ่ายเงินให้แก่กลุ่มเป้าหมายไม่สำเร็จในครั้งแรก จะมีการดำเนินการจ่ายเงินซ้ำ (Retry) ให้แก่กลุ่มเป้าหมายดังกล่าวจำนวน 3 ครั้ง ได้แก่

แจกเงินดิจิทัล 10,000 ผู้สูงอายุ เฟส 2

 

รอบจ่ายซ้ำ จ่ายเงินภายในวันที่  ผูกบัญชีพร้อมเพย์กับเลขประจำตัวประชาชนภายในวันที่

  • ครั้งที่ 1 28 กุมภาพันธ์ 2568 25 กุมภาพันธ์ 2568
  • ครั้งที่ 2 28 มีนาคม 2568 25 มีนาคม 2568
  • ครั้งที่ 3 28 เมษายน 2568 23 เมษายน 2568

ทั้งนี้ เมื่อพ้นกำหนดการ Retry ครั้งที่ 3 แล้ว กระทรวงการคลังจะยุติการจ่ายเงินให้แก่กลุ่มเป้าหมาย และถือว่ากลุ่มเป้าหมายไม่ประสงค์รับเงินภายใต้โครงการฯ

6. ผู้ได้รับสิทธิในโครงการฯ สามารถตรวจสอบผลการจ่ายเงินว่าตนได้รับโอนเงิน 10,000 บาท สำเร็จหรือไม่ ผ่านแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” ได้ในวันถัดจากวันที่รัฐจ่ายเงิน (แสดงผลการจ่ายเงินครั้งแรกในวันที่ 28 มกราคม 2568)

 

แจกเงินดิจิทัล 10,000 ผู้สูงอายุ เฟส 2 ซื้ออะไรได้บ้าง?

นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า เงินที่รัฐสนับสนุนจำนวน 10,000 บาทต่อคน ให้แก่กลุ่มเป้าหมายรวมจำนวนประมาณ 4 ล้านราย สามารถนำไปใช้จ่ายซื้อสินค้าที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตโดยไม่กำหนดเงื่อนไขการใช้จ่ายแต่อย่างใด

 

เช็กช่องทางสอบถามตรวจสอบข้อมูลเงินดิจิทัล 10,000 กลุ่มผู้สูงอายุ ดังนี้

  • ช่องทางหลักในการตรวจสอบสิทธิ และผลการได้รับเงินในโครงการฯ แอปพลิเคชัน “ทางรัฐ"
  • เว็บเพจรวบรวมข้อมูลข่าวสารประชาสัมพันธ์ของโครงการฯ เว็บไซต์กระทรวงการคลัง www.mof.go.th แบนเนอร์โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านผู้สูงอายุ (https://mof.go.th/th/detail/2024-12-27-15-36-42/2024-12-27-15-42-50)
  •  Call Center สำหรับสอบถามข้อมูลโครงการฯ ศูนย์บริการข้อมูลภาครัฐเพื่อประชาชน สายด่วน 1111

อนึ่ง เงินที่รัฐสนับสนุนจำนวน 10,000 บาทต่อคน ให้แก่กลุ่มเป้าหมายรวมจำนวนประมาณ 4 ล้านราย สามารถนำไปใช้จ่ายซื้อสินค้าที่เหมาะสมต่อการดำรงชีวิตโดยไม่กำหนดเงื่อนไขการใช้จ่ายแต่อย่างใด.

ที่มา: กระทรวงการคลัง