นายยุทธศักดิ์ สุภสร ประธานกรรมการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยบทวิเคราะห์เศรษฐกิจการลงทุน “กลยุทธ์เร่งรัดให้เกิดการลงทุนจริงอย่างมีความหวัง (HOPE)” ว่า ปัจจุบันประเทศไทยจำเป็นต้องเร่งรัดให้เกิดการลงทุนจริง และพัฒนาอุตสาหกรรมและสาขาการผลิตใหม่ที่ ซับซ้อนขึ้นให้เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปเศรษฐกิจด้วยเงินลงทุนระหว่างประเทศและการเชื่อมต่อห่วงโซ่มูลค่าโลก
โดยนิคมอุตสาหกรรมจะเป็น “Bright Spot” ของเศรษฐกิจไทย และการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) ก็พร้อมที่จะร่วมเป็น “คนพายเรือที่แข็งแรง” ที่จะช่วยเร่งฝีพายทำให้เศรษฐกิจไทยได้ไปต่ออย่างรวดเร็ว แข็งแกร่ง มีคุณภาพ เกิดการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างของอุตสาหกรรมการผลิตและเศรษฐกิจไทยในระยะ ข้างหน้า
ทั้งนี้ในปี 2568 กนอ. ตั้งเป้าหมายที่จะทำให้ประเทศไทยมีความหวังที่ดีที่สุดเพื่อสร้างอนาคตทางเศรษฐกิจ ที่สดใส (I-EA-T will give Thailand hope for the best to make a brighter future.) โดยมีความหวังที่จะเห็นเศรษฐกิจไทยขยายตัวเติบโตได้มากกว่า 3%
ควบคู่ความหวังที่จะเห็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงเชิงโครงสร้างที่จะนำไปสู่การปฏิรูปอุตสาหกรรม และความหวังที่ช่วยสร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจให้ไทยไปต่อได้ในอนาคตบนพื้นฐานของความยั่งยืน
นายยุทธศักดิ์ กล่าวว่า ภายใต้แนวทางการดำเนินงาน เร่งรัดให้เกิดการลงทุนจริงอย่างมีความหวัง (HOPE) มีสาระสำคัญแยกเป็นเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับและดึงดูดการลงทุนมูลค่าสูง ประเภท Future Investment หรือ High-Tech FDI ให้เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปอุตสาหกรรม ปรับโมเดลการ พัฒนาเศรษฐกิจจาก Investment-led Growth เดิม ไปสู่ Investment-led Growth Plus เงินลงทุน ผสมผสานกับการดูดซับความสามารถ (Infusion) และการสร้างนวัตกรรม (Innovation) จากต่างประเทศ
ทั้งนี้ถือเป็นแนวทางหนึ่งที่ธนาคารโลกเห็นว่า สามารถช่วยให้ประเทศสามารถหลุดพ้นจาก “กับดับรายได้ปานกลาง” โดยต้องไปไกลกว่ากลยุทธ์ที่ขับเคลื่อนด้วยเงินลงทุนเพียงอย่างเดียว แต่ต้องนำเทคโนโลยีสมัยใหม่และแนวทางปฏิบัติธุรกิจที่ประสบความสำเร็จจากต่างประเทศมาใช้อย่างกว้างขวาง
รวมทั้งนำเอาเทคโนโลยี ตลอดจนกระบวนการและความสามารถใหม่ ๆ ที่มีนวัตกรรมมาใช้ เพื่อให้ประเทศแข่งขันได้ในภูมิทัศน์ทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา โดยโครงสร้างพื้นฐานที่ต้องผลักดันและเร่งให้เกิดการพัฒนา ประกอบด้วย
โดยตั้งเป้าหมายร่วมกันของทุกหน่วยงานที่ส่งเสริมการลงทุนในการดึงดูดการลงทุนทางตรงจากต่างประเทศประเภท Future Investment หรือ High-Tech FDI มาลงทุนจริงในไทยให้ได้ไม่น้อยกว่าปีละ 10,000 ล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ หรือ 350,000 ล้านบาทต่อปี
ทั้งนี้เพื่อให้เศรษฐกิจไทยกลับมาเติบโตในอัตราที่สูงขึ้นตามความหวังจะเห็นเศรษฐกิจไทยขยายตัวเติบโตได้มากกว่า 3% เพราะการลงทุนในพื้นที่ที่มีความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวก เช่นนิคมอุตสาหกรรมจะมีส่วนอย่างสำคัญยิ่งในการเร่งรัดการลงทุนและกระตุ้นให้เงินลงทุนเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจของประเทศเร็วขึ้น
เพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานของระบบราชการเพื่อเพิ่ม Ease of Doing Business & Investment โดยเฉพาะการปฏิรูปกฎหมาย ตัดกฎหมายที่ไม่จำเป็นและยุบรวมกฎหมายที่เกี่ยวข้องเข้าด้วยกัน พิจารณาสิทธิประโยชน์พิเศษเพิ่มเติมแก่การลงทุนที่ให้ความสำคัญกับการถ่ายทอดเทคโนโลยี และการจ้างงานทักษะสูงแก่คนไทย
ควบคู่การเร่งสร้าง “ระบบนิเวศ” ที่ทำให้ไทยมีศักยภาพในการผสมผสานดูดซับความสามารถ (Infusion) และการสร้างนวัตกรรม (Innovation) จากต่างประเทศ พร้อมสนับสนุน SMEs ไทย ทั้งการเป็นคู่ค้ากับผู้ลงทุนจากต่างประเทศและการสนับสนุน High-tech Start-ups ที่ใช้เทคโนโลยีเข้มข้นและมุ่ง ขยายตัวอย่างรวดเร็ว
สำหรับ กนอ. ก็พร้อมสร้างความมั่นใจในการลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมสู่เป้าหมาย “Bright Spot” ของเศรษฐกิจไทย ด้วยบริการอย่างมืออาชีพ จาก “กนอ. ไม่วุ่นวาย” สู่ “กนอ. ทำถึง” ที่มุ่งสนับสนุนนักลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมให้สามารถดำเนินธุรกิจในไทยได้ง่ายและสะดวกยิ่งขึ้น บนแนวคิด 未来人 (MI•KI•TO)
โดยนำปัจจัยแห่งอนาคตมาเป็นพลังขับเคลื่อนปัจจุบัน ให้ความสำคัญกับการพัฒนาคนและความสามารถของคน เสริมสร้างองค์ความรู้ให้เป็นคนที่มีสมรรถนะสูง และนำเอาเทคโนโลยี AI ตลอดจนเทคโนโลยีดิจิทัลใหม่ ๆ มาประยุกต์ใช้ในกระบวนการทำงานและการให้บริการแก่นักลงทุนอย่างรวดเร็ว โปร่งใส
สร้างความเชื่อมั่นร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดการลงทุน ภายใต้แคมเปญ “เชื่อมั่นลงทุนไทย อนาคตสดใสและยั่งยืน” ในการทำการตลาดเชิงรุกอย่างสร้างสรรค์ สร้างความมั่นใจสร้างภาพลักษณ์ด้านการลงทุนในประเทศไทยและเศรษฐกิจไทย ที่ไม่ใช่ “คนป่วย” หรือ “โตต่ำ” แต่เป็นประเทศที่มีความหวัง มีอนาคตที่สดใสและยั่งยืน ผ่านการสร้างการรับรู้และกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในระยะเวลาอันสั้น
รวมทั้งการเข้าหากลุ่มนักลงทุนเป้าหมายแบบตัวต่อตัว การใช้แพลตฟอร์มดิจิทัลเผยแพร่ข้อมูลการมีส่วนร่วมของนักลงทุนที่มีศักยภาพและแสดงเรื่องราวของความสำเร็จ การทำงานใกล้ชิดกับหน่วยงานของรัฐ ธุรกิจในท้องถิ่น และพันธมิตรระหว่างประเทศ เพื่อสร้างระบบนิเวศที่สนับสนุนซึ่งการอำนวยความสะดวกในการลงทุนและจัดการกับความท้าทายที่จะเกิดขึ้นในเชิงรุก
รวมถึงการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องแก่นักลงทุนเดิมที่มีอยู่ เพื่อกระตุ้นให้ขยายการลงทุนและการบอกปากต่อปากในเชิงบวก ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นในการเป็นพันธมิตรระยะยาว
นอกจากนี้ ยังจะพิจารณาจัดนิทรรศการโครงสร้างพื้นฐานและการลงทุน I-EA-T Fair : Infrastructure & Investment Fair เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและแสดงศักยภาพความพร้อมของประเทศไทยด้านการลงทุน
ทำหน้าที่เป็นเครื่องยนต์ขับเคลื่อนความยั่งยืน มุ่งขยายการดำเนินงานด้านความยั่งยืนให้เกิดผลกระทบเชิงบวกในวงกว้างยิ่งขึ้น ตอบโจทย์ในการสร้างความยั่งยืนให้กับนักลงทุนจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและกติกาใหม่ของโลก เพื่อผู้ประกอบการยั่งยืน การลงทุนยั่งยืน ชุมชนยั่งยืน และประเทศไทยยั่งยืน บนพื้นฐานของ Climate Action and New Energy โดยยึดมั่นในสามพลังสร้างความยั่งยืน ประกอบด้วย
โดยเน้นการทำงานร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียในลักษณะ E & E (Engagement and Empowering) สร้างความร่วมมือ ขยายผล สร้าง “การเปลี่ยนแปลง” เพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนเร็วขึ้น เช่น SDGs และการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ความยั่งยืนต้องเป็นจุดขายใหม่ของไทยด้านการลงทุนสร้าง “นิคมฯ พลังงานสะอาด” ให้ เป็น “นิคมฯ เลอค่าด้านความยั่งยืน”
รวมทั้งเร่งรัดการจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรม Circular แสวงหาความร่วมมือกับหน่วยงานต่าง ๆ รวมถึงสถาบันการเงินในสร้างเครือข่ายพลังงานสะอาดแข่งขันได้หรือพลังงานสะอาดต้นทุนต่ำ โดยจัดตั้ง NET : New Energy Thailand เป็นเครือข่ายความร่วมมือในการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน การใช้พลังงานทางเลือกและพลังงานทดแทนอย่างเป็นรูปธรรม
นายยุทธศักดิ์ กล่าวว่า กนอ. พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการเปลี่ยนผ่านพลังงานในการเพิ่มสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนมากขึ้น เร่งหาแหล่งพลังงานมารองรับปริมาณการใช้งานเทคโนโลยี AI โดยเฉพาะพลังงานสะอาดที่มีความเสถียรมากขึ้น และอีกด้านหนึ่งของการใช้พลังงาน สะอาด คือ การพยุงเศรษฐกิจของประเทศให้ก้าวทันโลกที่กำลังมองหาพลังงานสะอาดเพื่อขับเคลื่อนการค้าและการลงทุน
ไม่ว่าจะเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ ไฮโดรเจน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ขนาดเล็กแบบโมดูล (Small Modular Reactor หรือ SMR) ขณะเดียวกันจะให้ความสำคัญกับการพัฒนา “เศรษฐกิจติดนิคม” เพื่อสร้างรายได้และแก้ปัญหาบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม เป็นการดูแลครัวเรือนและชุมชนรอบนิคมอุตสาหกรรมให้สามารถปรับตัวได้กับผลกระทบต่าง ๆ ให้อย่างยั่งยืนต่อไป