เคลียร์ชัดทุกคำถาม “รหัส GAP“ เปลี่ยนไม่ทัน จะส่งออกผลไม้ไปจีนได้หรือไม่

24 ก.ย. 2565 | 16:15 น.
อัปเดตล่าสุด :24 ก.ย. 2565 | 22:05 น.
773

เลขาฯ มกอช. ตอบทุกคำถาม “รหัส GAP“ หากเปลี่ยนไม่ทัน จะส่งออกผลไม้ไปจีน ได้หรือไม่ กรมวิชาการเกษตร เร่งกระจายข่าว ต้องเปลี่ยนพร้อมกันทั่วประเทศ มีผลบังคับใช้ธันวาคม2565 เพื่อให้ทันรอบการขึ้นทะเบียนที่ประเทศจีน

สืบเนื่องจาก กรมวิชาการเกษตรได้นระบบซูม กับอัครราชทูตที่ปรึกษา (ฝ่ายเกษตร) ประจำกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ในการวางแนวปฏิบัติการเปลี่ยนรหัสรับรองรูปแบบใหม่สำหรับสินค้าผลไม้ที่ส่งออกไปจีน ให้สอดคล้องกับประกาศของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เรื่อง กำหนดรหัสในการใช้และแสดงเครื่องหมายในการรับรองมาตรฐานสำหรับสินค้าเกษตร ที่เริ่มมีผลบังคับใช้แล้วในปัจจุบัน

 

 

รหัสรับรอง “GAP” รูปแบบใหม่ เป็นไปตามประกาศของสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เรื่องกำหนดลักษณะการใช้และการแสดงเครื่องหมายรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตร และเพื่อให้ทันรอบการขึ้นทะเบียนที่ประเทศจีนและใช้ในการส่งออกไปยังประเทศอื่น ต้องเปลี่ยนพร้อมกันทั่วประเทศ มีผลบังคับใช้ธันวาคม 2565

 

เคลียร์ชัดทุกคำถาม “รหัส GAP“ เปลี่ยนไม่ทัน จะส่งออกผลไม้ไปจีนได้หรือไม่

 

ต่อจากกรณีดังกล่าวนี้ นายพิศาล พงศาพิชณ์ เลขาธิการสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ความจริงประเด็นในเรื่องนี้ เป็นเรื่องของเลขรหัส เครื่องหมายรับรอง ตามกฎหมายก็คือเวลาให้การรับรองมาตรฐาน อย่างเช่นการรับรองมาตรฐาน GAP ไม่ว่าจะเป็นสวนผลไม้ เป็นฟาร์ม ปศุสัตว์ เมื่อผ่านการตรวจสอบรับรองก็จะได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมาย Q ซึ่งจะมีรหัสกำกับไว้เพื่อใช้ในการติดตามตรวจสอบย้อนกลับได้ว่ามาจากแหล่งไหน อย่างไร ซึ่งในรหัสเครื่องหมาย Q ใช้มานานหลายสิบปีตามประกาศเดิม

 

 

ต่อมาในปี 2563 มีการแก้กฎหมายใหม่จึงออกกฎกระทรวงเรื่องของเครื่องหมายรับรองใหม่ ซึ่งความจริงก็ไม่ได้เปลี่ยนอะไรไปมาก เปลี่ยนเรื่องเลขระบบรหัสให้ติดตามตรวจสอบได้ชัดเจน และละเอียดขึ้น พอออกกฎกระทรวง เรื่องการใช้และเครื่องหมายแสดงรหัสใหม่ ซึ่งตัวประกาศนี้มีผลใช้ตั้งแต่ เดือนพฤศจิกายน 2563 แต่ก็ทราบว่าทางผู้ประกอบการนำไปใช้จะต้องการเวลาในการปรับตัว

 

ซึ่งในบทเฉพาะการจะเขียนเวลาในการปรับตัวไว้ด้วย อาทิ ใบรับรองที่ได้แต่เดิม ก่อน พ.ย. 63 สามารถใช้เลขหมายรหัสแบบเดิมไปได้จนกว่าใบรับรองจะครบอายุ ซึ่งปกติใบรับรองก็มักจะมีอายุประมาณ 2-3 ปี แล้วแต่ละประเภท แล้วแต่ละหน่วยงานรับรอง เพราะฉะนั้นถ้าใบรับรองไม่หมดอายุก็มีสิทธิ์ใช้เครื่องหมายและรหัสแบบเดิมได้

 

เคลียร์ชัดทุกคำถาม “รหัส GAP“ เปลี่ยนไม่ทัน จะส่งออกผลไม้ไปจีนได้หรือไม่

 

แต่ถ้ามีใบรับรองต่ออายุใหม่ ก็ขอให้ใช้รหัสแบบใหม่ และก็มีขอผ่อนผันอีกข้อหนึ่งก็คือ เนื่องจากเวลาเอาไปใช้จะมีเรื่องของฉลาก และแพ็คเก็จจิ้งเดิมที่ทำเอาไว้แล้วยังไม่หมดแล้วใช้รหัสแบบเดิมก็ให้ใช้ต่อไปได้จนหมด แต่เราได้มีการกำหนดระยะเวลาสูงสุด ไม่เกิน 2 ปี ซึ่งประกาศเรามีผลตั้งแต่ เดือน พฤศจิกายน ปี 2563 โดยเปลี่ยนให้เป็นรหัสแบบใหม่ ให้เป็นเดือนพฤศจิกายน ปี 2565 ก็นับจากวันนั้นมาถึงวันนี้ก็เป็นระยะเวลา  2 ปีแล้ว

 

"ตอนพฤศจิกายน ปี 2563 ที่ มอกช.ได้ออกประกาศไปแล้วก็มีการแจ้งไปยังหน่วยงานต่างๆ เพราะว่าประกาศแล้วเครื่องหมายรหัส ใช้ในการรับรองทุกประเภท ซึ่งหน่วยงานที่เป็นเรื่องตรวจสอบรับรองก็เริ่มเอาไปใช้กับเกษตรกรรายใหม่ที่หมดอายุแล้ว ต่ออายุก็ใช้แบบใหม่ทยอยทำกันมา"

 

 

ในทางปฎิบัติ กรมวิชาการเกษตร เริ่มทยอยเปลี่ยนมาตั้งแต่ มกราคม ปี 2565 สวนผลไม้ไหน ไม่ว่าจะเป็นลำไย หมดอายุก็เปลี่ยนใบพร้อมกับรหัสให้ใหม่ แต่จริงแล้วไม่มีผลต่อการรับรอง เพราะใครที่ได้รับการรับรองเดิมก็ได้การรับรองต่อไป ใครที่ขอใหม่ก็ตรวจตามใหม่ เพราะฉะนั้นในเรื่องใบรับรองไม่ได้มีผลอะไรเพียงแต่ว่ารายไหนมาใหม่หากมาต่ออายุก็เปลี่ยนรหัสแบบใหม่ เพราะฉะนั้นในช่วงที่ผ่านมาก็จะมีทั้งรหัสแบบเก่าและรหัสแบบใหม่ปะปนกันอยู่

 

เคลียร์ชัดทุกคำถาม “รหัส GAP“ เปลี่ยนไม่ทัน จะส่งออกผลไม้ไปจีนได้หรือไม่

 

ถ้าตามประกาศที่กรมวิชาการเกษตรตั้งแผนเอาไว้ที่เดือนพฤศจิกายน ปี 2565 ให้ทุกรายให้เข้าสู่รหัสแบบใหม่หมด หลัง พฤศจิกายน 65 จะได้ไม่มีรหัสเก่าปนรหัสใหม่ปะปนกันอยู่จะทำให้สับสน ซึ่งจริงตัวนี้เป็นตัวเกษตรกร เพียงแต่ว่าไม่ได้มีผลอะไร หมายถึงไม่ได้เกี่ยวโดยตรงกับล้ง หรือผู้ส่งออก เป็นรหัสใบรับรอง GAP ของเกษตรกร คือ สวน เพียงแต่ว่าเวลา ล้ง

 

หรือผู้ส่งออกที่จะส่งออก ต้องเอาใบรับรอง GAP เพื่อส่งออก โดยเฉพาะการส่งออกไปจีน เพราะว่าทางจีน เวลาส่งออกให้ระบุตั้งแต่ล้ง ไหน และตัวล้ง ก็ต้องมี GAP แล้วให้ระบุว่ามาจากสวนไหน โดยระบุเลขที่ใบรับรองของสวน ซึ่งในช่วง 1 ปีที่ผ่านมานี้ ประเทศจีน ก็อาจจะสับสนบ้างเวลาแจ้งเลขรหัสสวนจะมีทั้งเลขเก่าและเลขใหม่ปนกันอยู่เพราะอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน

เคลียร์ชัดทุกคำถาม “รหัส GAP“ เปลี่ยนไม่ทัน จะส่งออกผลไม้ไปจีนได้หรือไม่

 

จากการที่ได้มีการดำเนินการหารือกับกรมวิชาการเกษตรก็อยากให้เป็นไปตามประกาศ หลังเดือน พ.ย. จะเป็นเลขรหัสใหม่ทั้งหมด จะได้แจ้งทางจีน ว่าเป็นเลขรหัสใหม่ทั้งหมดแล้ว ซึ่งเป็นไปตามประกาศของ มกอช.ที่ประกาศมาเป็นระยะเวลา 2 ปีแล้วอยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่าน ส่วนทางปฎิบัติทางกรมวิชาการเกษตรก็พยายามที่จะเดินให้ได้ตามประกาศ เพื่อหลัง พฤศจิกายนจะได้เป็นระบบใหม่ทั้งหมด

 

 

เท่าที่ได้มีการพูดคุยกับกรมวิชาการเกษตร ตั้งเป้าว่าถ้าเปลี่ยนเสร็จทั้งหมด โดยตั้งเป้าจะให้แล้วเสร็จภายในเดือน พ.ย.นี้ เพื่อไม่ให้ผิดไปจากประกาศ หากเปลี่ยนหมดก็จะแจ้งจีนไปว่าเปลี่ยนหมดแล้วให้ใช้รหัสใหม่ทั้งหมด แต่ที่ผ่านมาจะทยอยแจ้ง เช่น ยกตัวอย่าง หากมีเกษตรกร 5 หมื่นราย พอเปลี่ยนหมื่นราย ก็แจ้งครั้งหนึ่ง เปลี่ยนแล้วเป็นรหัสนี้ แล้วทยอยเปลี่ยนไป มาครั้งนี้เปลี่ยนไปแล้ว 2 หมื่น เหลืออีก 3 หมื่นราย ก็มองว่าถ้าเปลี่ยนหมดแล้ว ถึงจะแจ้งทางการให้ประเทศจีนทราบ

 

"สำหรับตัวเกษตรกรไม่ได้กระทบ เพราะเกษตรกรที่ได้ใบเดิม เมื่อใดที่กรมวิชาการเกษตรไปเปลี่ยนรหัสให้ก็ได้ใบอยู่เดิม เพียงแค่เปลี่ยนรหัสให้ ถ้ายังไม่เปลี่ยนให้ ก็ถือใบเดิมอยู่ได้ ก็ถือว่ายังมีสิทธิ์เหมือนเดิม ใบรับรองไม่ได้เปลี่ยนอะไรเลย เปลี่ยนแต่รหัสอย่างเดียว เพียงแต่ว่าตัวผู้ส่งออก ก็คือ ตัวล้งที่จะถือรหัสเก่าอยู่ หรือตัวล้งที่จะไปซื้อใบรับรองจากเกษตรกรต้องเอาสำเนาใบรับรองมาด้วย จะมีใบรับรองพร้อมรหัสเก่าอยู่ ถ้าเกษตรกรเปลี่ยนแล้วก็เพียงแจ้งกับทางล้งว่าตอนนี้เปลี่ยนรหัสแล้ว ก็แนบสำเนาใบใหม่ให้"

 

 

เคลียร์ชัดทุกคำถาม “รหัส GAP“ เปลี่ยนไม่ทัน จะส่งออกผลไม้ไปจีนได้หรือไม่

 

 

เพราะฉะนั้นคนที่อาจจะมีผลก็คือตัวล้งว่าเกษตรกรที่ไปซื้อมาตอนนี้ใช้รหัสเก่าหรือรหัสใหม่ แล้วถ้าเปลี่ยนไม่ทันเกษตรกรไม่มีความผิดอะไร เป็นภาคสมัครใจ เพราะฉะนั้นขึ้นอยู่กับกรมวิชาการเกษตรไปเปลี่ยนให้หรือยัง ถ้าเปลี่ยนแล้วให้ใช้อันใหม่ แต่ถ้ายังไม่มีเปลี่ยนก็สามารถใช้อันเก่าอยู่ ซึ่งรหัสเก่าก็ถือ ว่ามีสิทธิ์อยู่ปกติทุกประการ และเมื่อใดที่เปลี่ยนเสร็จแล้วค่อยไปแจ้งประเทศจีนว่า “เปลี่ยนแล้ว” ถ้าเปลี่ยนหมดตามแผนทัน ในเดือนพฤศจิกายน ก็แจ้งไปตามแผน แต่ถ้าเดือนพฤศจิกายน เปลี่ยนรหัส ไม่หมด ก็ให้แจ้งเท่าที่เปลี่ยน ย้ำของเก่า ใช้ได้ปกติ

 

นายพิศาล  กล่าวว่า ความจริงในส่วนของเกษตรกร ไม่น่าที่จะได้รับผลกระทบไม่มีปัญหาอะไรไม่ต้องกังวล เมื่อไรที่เปลี่ยนรหัสให้แล้ว ก็ใช้รหัสใหม่ ถ้าเกษตรกรมีการขาย หรือประสานกับทางล้ง หรือผู้ส่งออกก็ให้แจ้งข้อมูลใหม่ที่เปลี่ยนไปให้ทางล้งหรือผู้ส่งออกทราบ เพราะบางทีล้งก็มีความกังวลว่า ถือใบเก่าอยู่แล้วใบใหม่เปลี่ยนหรือยัง

 

สำหรับในเรื่องผลไม้ แผนปี 2566 กำลังอยู่ในช่วงรับฟังความคิดเห็นจะมีมาตรฐานจัดการเกี่ยวกับล้งทุเรียน เพื่อแก้ปัญหาทุเรียนอ่อนซึ่งจะมีเกณฑ์ในการตรวจสอบ เป็นตัวสำคัญ ตั้งเป้าพยายามที่จะออกให้มีผลบังคับใช้ในฤดูทุเรียน ประมาณเดือนเมษายน ปีหน้า