ราคาน้ำมันไตรมาส4/65-ปีหน้ายังอยู่ในระดับสูง หลังความต้องการใช้ฟื้น

22 ก.ย. 2565 | 20:27 น.
อัปเดตล่าสุด :23 ก.ย. 2565 | 03:27 น.

ราคาน้ำมันไตรมาส4/65-ปีหน้ายังอยู่ในระดับสูง หลังความต้องการใช้ฟื้น ไทยออยล์คาดอยู่ในกรอบ 90-100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล

นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่  บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงสถานการณ์ราคาน้ำมันในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 65 ว่า จะทรงตัวในระดับสูงต่อเนื่องคาดในกรอบ 90-100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล โดยจะอยู่ในระดับสูงไปจนถึงปีหน้า เนื่องจากความต้องการใช้น้ำมันทั่วโลกเริ่มกลับมาสู่ช่วงระดับก่อนโควิด-19 แพร่ระบาด ขณะที่สงครามรัสเซีย-ยูเครน ยืดเยื้อ มีปัญหาเรื่องภูมิรัฐศาสตร์  ทำให้ราคาพุ่งและผันผวนในระดับสูง

 

ด้านแนวโน้มผลการดำเนินงานปี2565นั้น คาดค่าการกลั่น(GRM)ในปีนี้เฉลี่ยอยู่ที่ 7-8 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เนื่องจากในช่วงครึ่งหลังปี2565 ค่าการกลั่นอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับช่วงไตรมาส 2/2565 ค่าการกลั่นดีดตัวสูงผิดปกติอยู่ที่ 25 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ทำให้ช่วงครึ่งปีแรกนี้ค่าการกลั่นบริษัทฯเฉลี่ยอยู่ที่ 10 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล แต่เมื่อเทียบกับปี 2564 ที่ค่าการกลั่นอยู่ที่ 2.20 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ถือว่าสูงขึ้นมาก 
 

ขณะที่ปัจจุบันโรงกลั่นไทยออยล์เดินเครื่องกลั่นกลับสู่ภาวะปกติเกินกว่า 100% ของกำลังการกลั่นรวม 2.75 แสนบาร์เรลต่อวัน ทำให้ผลการดำเนินงานทั้งรายได้และกำไรเติบโตขึ้นต่อเนื่อง โดยช่วงครึ่งแรกปีนี้ บริษัทมีกำไรสุทธิสูงถึง 32,510 ล้านบาท สูงกว่าทั้งปี2564 ที่มีกำไรสุทธิ 12,578 ล้านบาท

 

"ธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันดีขึ้นต่อเนื่องหลังจากสถานการณ์โควิด-19 คลี่คลาย ทำให้ความต้องการใช้น้ำมันสำเร็จรูปเพิ่มขึ้นทั้งน้ำมันเบนซิน ดีเซล โดยเฉพาะน้ำมันอากาศยาน(Jet) ที่กลับมาผลิตได้เกือบเท่าเดิม"

 

ราคาน้ำมันไตรมาส4/65-ปีหน้ายังอยู่ในระดับสูง

 

ขณะที่ความคืบหน้าโครงการสะอาด (CFP) ซึ่งเป็นโครงการที่เพิ่มประสิทธิภาพโรงกลั่นและขยายกำลังการกลั่นจาก 2.75 แสนบาร์เรลต่อวัน เป็น 4 แสนบาร์เรลต่อวัน มูลค่าลงทุน 1.5 แสนล้านบาท การก่อสร้างคืบหน้าไปแล้ว 87% และคาดว่าจะสามารถทยอยเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2567 

 

และสามารถดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้เต็มรูปแบบในปี 2568 ซึ่งเป็นช่วงจังหวะ Golden Period ของโรงกลั่น เนื่องจากยังไม่มีโรงกลั่นอื่นๆขยายกำลังการผลิตเพิ่ม หรือสร้างใหม่ แม้ว่าราคาน้ำมันดิบอาจไม่กลับไปสูงสุดเหมือนในอดีต แต่คาดว่าจะเฉลี่ยอยู่ที่ 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ขณะที่ซัพพลายยังมีจำกัด ท่ามกลางดีมานด์ที่ยังคงเติบโตต่อเนื่อง 

ส่วนความคืบหน้าการลงทุนใน PT Chandra Asri Petrochemical Tbk (CAP) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตปิโตรเคมีชั้นนำในประเทศอินโดนีเซีย ไทยออยล์ได้ร่วมลงทุนใน CAP ในปี 2564 ทำให้ไทยออยล์สามารถก้าวเข้าสู่ธุรกิจโอเลฟินได้อย่างรวดเร็วและทำให้โครงสร้างธุรกิจครอบคลุมธุรกิจปิโตรเลียมและปิโตรเคมีได้อย่างสมบูรณ์ สร้างโอกาสการเติบโตในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีสูงมาก 

 

โดย CAP มีโครงการแผนขยาย CAP2 เพิ่มกำลังการผลิตเม็ดพลาสติกเป็น 8.1-8.2 ล้านตันต่อปี ซึ่ง CAP2 จะมีตัดสินใจลงทุนขั้นสุดท้าย (FID) ภายในไตรมาส 4/2565 และคาดว่าจะเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2569 โดยไทยออยล์ได้เข้าถือหุ้น 15% และปีที่ผ่านมาได้ใส่เงินลงทุนเข้าไปแล้วประมาณ 913 ล้านเหรียญสหรัฐ หากมีตัดสินใจ FID โครงการ CAP2 ก็จะใส่เงินเข้าไปอีก ประมาณ 270 ล้านเหรียญสหรัฐ

 

นายวิรัตน์ กล่าวอีกว่า ความคืบหน้าโครงการสะอาด (CFP) เป็นโครงการที่เพิ่มประสิทธิภาพโรงกลั่นและขยายกำลังการกลั่นจาก 2.75 แสนบาร์เรลต่อวัน เป็น 4 แสนบาร์เรลต่อวัน มูลค่าลงทุน 1.5 แสนล้านบาท การก่อสร้างคืบหน้าไปแล้ว 87% และคาดว่าจะสามารถทยอยเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2567 

 

และสามารถดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้เต็มรูปแบบในปี 2568 ซึ่งเป็นช่วงจังหวะ Golden Period ของโรงกลั่น เนื่องจากยังไม่มีโรงกลั่นอื่นๆขยายกำลังการผลิตเพิ่ม หรือสร้างใหม่ แม้ว่าราคาน้ำมันดิบอาจไม่กลับไปสูงสุดเหมือนในอดีต แต่คาดว่าจะเฉลี่ยอยู่ที่ 100 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ขณะที่ซัพพลายยังมีจำกัด ท่ามกลางดีมานด์ที่ยังคงเติบโตต่อเนื่อง

 

อย่างไรก็ดี ความคืบหน้าการลงทุนใน PT Chandra Asri Petrochemical Tbk (CAP) ซึ่งเป็นบริษัทผู้ผลิตปิโตรเคมีชั้นนำในประเทศอินโดนีเซีย ไทยออยล์ได้ร่วมลงทุนใน CAP ในปี 2564 ทำให้ไทยออยล์สามารถก้าวเข้าสู่ธุรกิจโอเลฟินได้อย่างรวดเร็วและทำให้โครงสร้างธุรกิจครอบคลุมธุรกิจปิโตรเลียมและปิโตรเคมีได้อย่างสมบูรณ์ สร้างโอกาสการเติบโตในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประเทศที่มีความต้องการผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีสูงมาก 

 

โดย CAP มีโครงการแผนขยาย CAP2 เพิ่มกำลังการผลิตเม็ดพลาสติกเป็น 8.1-8.2 ล้านตันต่อปี ซึ่ง CAP2 จะมีตัดสินใจลงทุนขั้นสุดท้าย (FID) ภายในไตรมาส 4/2565 และคาดว่าจะเริ่มดำเนินการเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2569 โดยไทยออยล์ได้เข้าถือหุ้น 15% และปีที่ผ่านมาได้ใส่เงินลงทุนเข้าไปแล้วประมาณ 913 ล้านเหรียญสหรัฐ หากมีตัดสินใจ FID โครงการ CAP2 ก็จะใส่เงินเข้าไปอีก ประมาณ 270 ล้านเหรียญสหรัฐ