สศก.แจ้งข่าว “ประกันรายได้มันสำปะหลัง” ธ.ก.ส. จ่ายเงินงวดแรก วันที่ 1 ธ.ค.

21 ก.ย. 2565 | 15:20 น.
อัปเดตล่าสุด :21 ก.ย. 2565 | 22:31 น.
2.6 k

ข่าวดี ประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ปี 2565/66 ธ.ก.ส. นัดจ่ายตรงถึงบัญชีเกษตรกร วันที่ 1 ธ.ค. ขณะที่การส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ช่วง 7 เดือนแรก พุ่ง 7.19 ล้านตัน จีนนำเข้าแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่มีราคาสูง สงครามดันทุกประเทศทั่วโลกสำรองธัญพืชเพิ่ม

นายฉันทานนท์ วรรณเขจร เลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยถึงสถานการณ์ราคามันสำปะหลังว่า ราคาหัวมันสำปะหลังสดเชื้อแป้ง 25% ที่เกษตรกรขายได้ มีทิศทางปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตั้งแต่กลางปี 2564 เป็นต้นมา โดยราคาเฉลี่ยเดือนมกราคม - กันยายน 2565 กิโลกรัมละ  2.68 บาท สูงขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2564 ที่ราคากิโลกรัมละ 2.28 บาท เนื่องจากความต้องการมันสำปะหลังเพื่อส่งออกมีมากขึ้น

 

ขณะที่การส่งออก ในปี 2564 ไทยส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ปริมาณ 10.18 ล้านตัน มูลค่า 123,001 ล้านบาททั้งปริมาณและมูลค่าส่งออกเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2563 ร้อยละ 47 และ 49 ตามลำดับ สำหรับการส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2565 (มกราคม - กรกฎาคม) มีปริมาณ 7.19 ล้านตัน มูลค่า 91,652 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2564 ร้อยละ 16.70 และ 30.45 ตามลำดับ

 

สศก.แจ้งข่าว “ประกันรายได้มันสำปะหลัง”  ธ.ก.ส. จ่ายเงินงวดแรก วันที่ 1 ธ.ค.

 

เนื่องจากประเทศจีนซึ่งเป็นผู้นําเข้ารายใหญ่ ต้องการนําเข้ามันสำปะหลังเพื่อทดแทนข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่มีราคาสูงขึ้น ประกอบกับความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ทำให้ทั่วโลกเพิ่มปริมาณสํารองธัญพืชเพื่อการบริโภค เพื่ออุตสาหกรรมอาหารสัตว์ และพลังงาน ส่งผลทำให้ราคามันสำปะหลังปรับตัวสูงขึ้น

 

จากสถานการณ์ราคามันสำปะหลังที่อยู่ในเกณฑ์ดี จึงส่งผลให้ยังไม่มีการชดเชยส่วนต่างราคาให้เกษตรกรในโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ปี 2564/65 เนื่องจากราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงสูงกว่าราคาเป้าหมายที่รัฐบาลตั้งไว้ 2.50 บาท/กก. อย่างไรก็ตาม ในปี 2565/66 คณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการมันสำปะหลัง (นบมส.) ได้มีมติเห็นชอบหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และกรอบวงเงินของโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง และมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังปี 2565/66 จำนวน 4 โครงการ โดยกระทรวงพาณิชย์จะนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาตามระเบียบต่อไป

 

สศก.แจ้งข่าว “ประกันรายได้มันสำปะหลัง”  ธ.ก.ส. จ่ายเงินงวดแรก วันที่ 1 ธ.ค.

 

ด้านนางกาญจนา แดงรุ่งโรจน์ รองเลขาธิการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เปิดเผยเพิ่มเติม ถึงหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และกรอบวงเงินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง และมาตรการคู่ขนานฯ ปี 2565/66 จากที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายและบริหารจัดการมันสำปะหลัง (นบมส.) ครั้งที่ 2/2565 เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2565 โดยมีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธานว่า โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ปี 2565/66

 

กำหนดหลักเกณฑ์ ดังนี้ 1) การกำหนดราคาเป้าหมายและปริมาณต่อครัวเรือน ราคามันสำปะหลัง    เชื้อแป้ง 25% กิโลกรัมละ 2.50 บาท ครัวเรือนละไม่เกิน 100 ตัน แปลงละ 1 ครั้ง 2) เกษตรกรผู้มีสิทธิได้รับการชดเชย  เป็นเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเพาะปลูกมันสำปะหลังกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่มีวันเพาะปลูกตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2564 - 31 มีนาคม 2566 ได้รับสิทธิได้ในช่วงการเก็บเกี่ยวที่ระบุไว้ในทะเบียนเกษตรกร โดยมีระยะเวลาเก็บเกี่ยวจากวันที่เพาะปลูกไม่น้อยกว่า 8 เดือน แต่ไม่เกิน 12 เดือน 

 

สศก.แจ้งข่าว “ประกันรายได้มันสำปะหลัง”  ธ.ก.ส. จ่ายเงินงวดแรก วันที่ 1 ธ.ค.

 

3) ปริมาณผลผลิตของเกษตรกรที่จะได้รับสิทธิในการชดเชย ให้ใช้ปริมาณผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ตามที่คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกร ผู้ปลูกมันสำปะหลังกำหนด และ 4) การกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิง ประกาศเกณฑ์กลางอ้างอิงทุก 1 เดือน จำนวน 12 งวด เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2565 - 1 พฤศจิกายน 2566

 

 

สศก.แจ้งข่าว “ประกันรายได้มันสำปะหลัง”  ธ.ก.ส. จ่ายเงินงวดแรก วันที่ 1 ธ.ค.

 

 

สำหรับมาตรการคู่ขนานโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ปี 2565/66 จำนวน 4 โครงการ ประกอบด้วย 1) โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเพาะปลูกมันสำปะหลัง ปี 2565/66  2) โครงการสินเชื่อเพื่อรวบรวมมันสำปะหลังและสร้างมูลค่าเพิ่มโดยสถาบันเกษตรกร ปี 2565/66 3) โครงการชดเชยดอกเบี้ยในการเก็บสต็อกมันสำปะหลัง ปี 2565/66   และ 4) โครงการยกระดับศักยภาพการแปรรูปมันสำปะหลัง (เครื่องสับมันฯ)

 

ทั้งนี้ อยากฝากไปถึงเกษตรกรทุกท่าน ในการเก็บเกี่ยวผลผลิต เกษตรกรควรคำนึงถึงช่วงเวลาการเก็บเกี่ยวเพื่อรักษาคุณภาพผลผลิตและท่อนพันธุ์ที่ดีสำหรับปีการผลิตถัดไปเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อระดับราคาที่เกษตรกรจะได้รับ