“ล้งไข่ไก่” ผวา ร่างมาตรฐานฯ จัดระเบียบ ทำการค้าป่วน

15 ก.ย. 2565 | 16:53 น.
อัปเดตล่าสุด :15 ก.ย. 2565 | 23:59 น.
859

วงการค้าไข่ไก่ตื่น วันพรุ่งนี้ “มกอช” เปิดรับฟังความคิดเห็น ทบทวนร่างมาตรฐานล้งไข่ไก่ ผวาจัดระเบียบทำธุรกิจเจ๊ง ชี้บังคับเมื่อไร จะเหลือรายใหญ่เท่านั้น รายเล็ก เจ๊งระนาว เพราะทำไม่ได้ มาตรฐานเทพ สมาคมการค้าผู้ค้าไข่ไทยนายกโพสต์ฯ ปลุกสมาชิก เข้าวงรับฟัง

นายสุธาศิน อมฤก นายกสมาคมการค้าผู้ค้าไข่ไทย (บังจู) โพสต์ กลุ่มสมาคม มีสมาชิก 1.9 หมื่นคน “ไหวไหม” กับร่างการปฏิบัติการที่ดีสำหรับศูนย์รวบรวมไข่ (ทบทวน)   ขอให้ล้งไข่ ผู้ค้าไข่ ที่จะต้องเกี่ยวข้องกับร่างฉบับนี้ อ่านโดยละเอียดก่อน ซึ่งร่างทวบทวนนี้ อาจมีการแก้ไข เปลี่ยนแปลงอีกครั้ง ในวันนี้ แต่ไม่น่าจะแตกต่างจากตรงนี้มากนัก ซึ่งหลักการเหตุผลจำเป็นในการสัมมนาระดมความเห็นต่อร่างมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติที่ดีสำหรับศูนย์รวบรวมไข่ (ทบทวน)

 

 

“ล้งไข่ไก่” ผวา ร่างมาตรฐานฯ จัดระเบียบ ทำการค้าป่วน

“ไข่” เป็นสินค้าเกษตรที่สำคัญของไทย และเป็นอาหารที่คนทุกวัยนิยมบริโภค เนื่องจากมีคุณค่าทางโภชนาการสูง ราคาไม่แพง หาซื้อได้ง่าย และสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายรูปแบบ ในปี 2564 ประเทศไทยมีเกษตรกรที่เลี้ยงไก่ไข่และเป็ดไข่มากกว่า 235,500  ครัวเรือน มีจำนวนไก่ไข่และเป็ดไข่มากกว่า 84  ล้านตัว โดยเฉลี่ยแล้วมีปริมาณการผลิตไข่ไก่ออกสู่ตลาดภายในประเทศอยู่ที่ประมาณ 42 ล้านฟองต่อปี และปริมาณไข่เป็ดประมาณ 98 ล้านฟองต่อปี และมีปริมาณการบริโภคอยู่ที่ประมาณ 38 ล้านฟองต่อปี ซึ่งเฉลี่ยแล้วในประเทศไทยมีการบริโภคไขไก่โดยเฉลี่ยประมาณ 223  ฟองต่อคนต่อปี

 

อย่างไรก็ตามไข่จัดเป็นอาหารกลุ่มที่มีความเสี่ยงในการปนเปื้อนเชื้อจุลินทรีย์ และมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในด้านคุณภาพความสดของไข่ โดยไข่ที่ผลิตได้จากฟาร์มต่างๆ จะถูกรวบรวมไปยังศูนย์รวบรวมไข่เพื่อผ่านกระบวนการต่างๆ ก่อนจัดส่งไปยังผู้บริโภค ซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญที่ต้องมีการดำเนินการอย่างรวดเร็วและลดการปนเปื้อนให้เหลือน้อยลง รวมถึงเพื่อเป็นการยกระดับการผลิตไข่ให้มีคุณภาพ ถูกสุขลักษณะจึงจำเป็นต้องมีการจัดการตั้งแต่การผลิตขั้นต้นอย่างเหมาะสม

 

 

สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) อยู่ระหว่างดำเนินการทบทวนปรับปรุงมาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติที่ดีสำหรับศูนย์รวบรวมไข่ ให้มีความเหมาะสมกับสถานการณ์และสามารถนำไปขยายผลให้มีการรับรองมาตรฐานฯ เพิ่มขึ้น โดยร่างมาตรฐานที่จัดทำขึ้นนี้ได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการวิชาการพิจารณามาตรฐานสินค้าเกษตร เรื่อง การปฏิบัติที่ดีสำหรับศูนย์รวบรวมไข่ แล้วจึงเห็นควรจัดสัมมนาระดมความเห็นเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เกี่ยวข้องได้มีส่วนร่วมในการเสนอข้อคิดเห็นต่อร่างมาตรฐานฯ เพื่อนำข้อคิดเห็นมาปรับปรุงให้ร่างมาตรฐานฯ เป็นที่ยอมรับจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

 

 

“ล้งไข่ไก่” ผวา ร่างมาตรฐานฯ จัดระเบียบ ทำการค้าป่วน

 

นายสุธาศิน  กล่าวว่า มีหลายข้อที่เป็นกังวล ยกตัวอย่าง   ต้องทำการเคลือบไข่หลังทำความสะอาด โดยใช้สารเคลือบผิวทั้งชนิดและปริมาณที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค และปฏิบัติตามกรณีมีกระบวนการเคลือบไข่ (coating) หลังการทำความสะอาด สารเคลือบไข่หากผ่านการใช้งานมาแล้วและพบสิ่งปนเปื้อนต่างๆ ให้ทำความสะอาด เช่น กรองสิ่งปนเปื้อนออกและอุ่นที่อุณหภูมิ 80 *C (องศาเชลเชียส) เป็นเวลาอย่างน้อย 3 นาที ก่อนนำมาใช้อีกครั้งหนึ่งไข่ที่ผ่านกระบวนการทำความสะอาดผิวแบบเปียกและเคลือบเปลือกไข่แล้ว

 

การบรรจุ และการเก็บรักษา ข้อ 3.5.1.4.4 มีมาตรการในการป้องกันการปนเปื้อนและการเสื่อมคุณภาพของไข่ ระหว่างการเก็บรักษาไข่ที่ผ่านกระบวนการบรรจุแล้วควรนำส่งไปยังสถานที่จำหน่ายให้เร็ว ภายใน 24 ชั่วโมงหากจำเป็นต้องเก็บรักษา นานกว่า 24 ชั่วโมง ควรเก็บไข่ในห้องที่มีอุณหภูมิไม่เกิน 25 'C

 

ทั้งนี้คุณภาพความสดของไข่ ที่ออกจากศูนย์รวบรวมไข่ควรมีค่าความสด (haugh uni) ไม่ต่ำกว่า 65 (ข้อกำหนดหลัก) 3.5.1.4.5 กรณีเก็บรักษาไข่ โดยใช้ห้องเย็นควรดูแลไม่ให้เกิดหยดน้ำเกาะผิวเปลือกไข่หรือเหงื่อไข่ รวมถึงรักษาความสะอาด และรักษาระบบให้มีความเย็นสม่ำเสมอ (ข้อกำหนดหลัก)

 

3.5.1.5.1 ต้องมีมาตรการป้องกันการปนเปื้อนข้ามของจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรคที่มีประสิทธิภาพ เช่น1) แยกพื้นที่สำหรับไข่ที่ยังไม่ผ่านกระบวนการออกจากไข่ที่บรรจุเรียบร้อยแล้ว และให้มีการทำความสะอาดและฆ่าเชื้อตามความเหมาะสม

 

2) ควรแยกผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่สำหรับไข่ที่ยังไม่ผ่านกระบวนการกับผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ไข่ที่บรรจุเรียบร้อยแล้ว

 

3) ทำความสะอาดพื้นผิวต่าง ๆ เครื่องมือ อุปกรณ์ ภาชนะ และส่วนประกอบต่างๆ ที่ติดตั้งไว้ถาวร ให้สะอาดอย่างทั่วถึงและทำการฆ่าเชื้อหลังการปฏิบัติงาน (ข้อกำหนดหลัก)

 

 

“ล้งไข่ไก่” ผวา ร่างมาตรฐานฯ จัดระเบียบ ทำการค้าป่วน

 

 

นายสุธาศิน   กล่าว การจัดระเบียบดังกล่าว หากใช้บังคับ แล้วให้ไข่ไก่อยู่ในห้องแอร์อุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียล แล้วผู้ค้ารับไปต่อจะทำให้ไข่ไก่เน่าเสียเร็ว แล้วจะกระทบกับราคาไข่ไก่ที่จะต้องมีค่าดำเนินการในตรงนี้ที่ไม่สมควรจะต้องมี สุดท้ายภาระจะตกอยู่กับใคร แล้วล้งที่ไม่มีทุนรอน จะต้องออกจากอาชีพไปเพราะทำมาตรฐานไม่ได้ จะเหลือรายใหญ่ เหมือนกับสุรา