บุก "กสทช.-กขค." ค้าน "ดีลทรู-ดีแทค" ทำประชาชน-ประเทศเปรียบ :ภาพชุด

29 ส.ค. 2565 | 13:55 น.
อัปเดตล่าสุด :29 ส.ค. 2565 | 21:04 น.

เปิดภาพ ภาคประชาชนบุก กสทช.-กขค. ยื่นหนังสือ พิจารณาปม 3 ห่วง ควบรวมทรู-ดีแทค หลังส่งหนังสือถึงนายกฯ ชงกฤษฎีกาตีความอำนาจรอบ 2 ส่อเจตนาเร่งปิดดีล ทรู-ดีแทค ทำประชาชน-ประเทศเสียเปรียบ 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 28 สิงหาคม 2565 ที่สำนักงาน กสทช. นายพรหมศร วีระธรรมจารี และนายภานุพงศ์ จาดนอก ตัวแทนกลุ่มพลเมืองเพื่อเสรีภาพในการสื่อสาร และเครือข่ายภาคประชาชน ยื่นหนังสือร้องเรียนถึงศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธานกรรมการ กสทช.และบอร์ดทั้งหมด

 

จากกรณีที่ กสทช. ทำหนังสือนายกรัฐมนตรี เพื่อให้กฤษฎีกาพิจารณาถึงอำนาจหน้าที่ของตน ในการพิจารณาการควบรวมธุรกิจดังกล่าวเป็นรอบที่ 2 แสดงถึงเจตนาและความพยายามที่จะไม่ยอมปฏิบัติหน้าที่ของตนในฐานะองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ ยินยอมให้ฝ่ายบริหารเข้ามามีบทบาทแทรกแซง ครอบงำการใช้อำนาจของ กสทช. ซึ่งขัดต่อรัฐธรรมนนูญอย่างชัดเจน  

 

ซึ่งมีนายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการแทน เลขาธิการ กสทช. เป็นผู้มารับหนังสือแทน

บุก \"กสทช.-กขค.\" ค้าน \"ดีลทรู-ดีแทค\" ทำประชาชน-ประเทศเปรียบ :ภาพชุด

ภาคประชาชนได้ทำการ ฉีกซิม สีฟ้า-สีแดง ที่เป็นสัญลักษณ์ พร้อมแสดงจุดยืนในการคัดค้านดีลควบรวมธุรกิจ ทรูและดีแทค
  

นายพรหมศร ระบุว่า ประเด็นแรก จากการที่ กสทช. ได้ทำหนังสือไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกาเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2565 และได้รับการตอบกลับว่าไม่สามารถรับข้อหารือไว้พิจารณาได้ เนื่องจากเป็นเรื่องที่มีการฟ้องร้องเป็นคดีอยู่ในศาล แต่เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2565 กสทช. ได้ทำหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาถึงอำนาจหน้าที่ของ กสทช. ในการพิจารณาการควบรวมธุรกิจดังกล่าว ด้วยเนื้อหาเดียวกันช้ำอีกครั้ง

 

อาจทำให้ประชาชนสับสนและเข้าใจคลาดเคลื่อนไปได้ว่า กสทช มีความพยายามที่จะหลีกเลี่ยงการปฏิบัติหน้าที่ ในฐานะองค์กรอิสระตามรัฐธรมนูญหรือไม่ โดยยินยอมให้ฝ่ายบริหารเข้ามามีบทบาทแทรกแซง และครอบงำการใช้อำนาจของ กสทช. อาจเป็นการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 60 และส่งผลให้ นายกรัฐมนตรี มีความเสี่ยงในการปฏิบัติที่ขัดต่อกฎหมาย

บุก \"กสทช.-กขค.\" ค้าน \"ดีลทรู-ดีแทค\" ทำประชาชน-ประเทศเปรียบ :ภาพชุด

ประเด็นที่2 เรากังวลว่าการควบรวมครั้งนี้ จะทำให้ผู้บริโภคต้องรับภาระราคาค่าบริการที่เพิ่มขึ้น 2.03-244.50% หรือไม่มีโอกาสที่จะปรับราคาลดต่ำลงได้ เหมือนเช่นในอดีต ที่มีการแข่งขันสูง

 

ประเด็นที่3 อาจทำให้เกิดการดำเนินธุรกิจแบบ Cross Industry การบริการจะถูกย้ายจาก ร้านค้าตู้ ไปยังร้านค้าปลีกในเครือ เพราะไม่มีความจำเป็นต้องจ่ายค่านายหน้าในการขายสินค้าให้ร้านค้าอีกต่อไป ส่งผลกระทบโดยตรงต่อตลาดขายส่งและขายปลีก Sim card ต่อเนื่องไปถึง Vender/Supplier ผู้ให้เช่าสถานที่ และพนักงาน

บุก \"กสทช.-กขค.\" ค้าน \"ดีลทรู-ดีแทค\" ทำประชาชน-ประเทศเปรียบ :ภาพชุด

รวมไปถึงผู้ประกอบการต่างๆ ที่ต้องพึ่งพาบริการโทรคมนาคมในการขายสินค้าหรือบริการของตนผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ด้วย

 

นายพรหมศร กล่าวว่า การควบคุมธุรกิจครั้งนี้เป็นเรื่องสำคัญเพราะยิ่งมีการแข่งขันน้อย การแข่งขันจะสามารถทำอะไรก็ได้ ยิ่งถ้าค่าโทรศัพท์ที่สูงซึ่งเป็นปัจจัยที่ 5 สูงขึ้นไปอีก เชื่อว่าคนไทยน่าจะดำรงชีวิตกันยากในยุคปัจจุบันนี้ 

 

ตัวแทนกลุ่มพลเมืองฯ ย้ำว่า การควบรวมธุรกิจจะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคที่จะต้องรับภาระราคาค่าบริการที่เพิ่มขึ้น 2.03-244.50% (อ้างอิงผลการศึกษา กสทช.) หรือไม่มีโอกาสที่จะปรับราคาลดต่ำลงได้ เหมือนเช่นในอดีต ที่มีการแข่งขันกันกันสูง หากอนุญาตให้ควบรวมธุรกิจ นอกจากเป็นการลดทางเลือกผู้บริโภคแล้ว

 

ยังเป็นการสร้างอาณาจักรเพิ่มเติมของนายทุนให้สามารถดำเนินการธุรกิจแบบ Cross Industry การบริการจะถูกย้ายจาก ร้านค้าลูกตู้ ไปยัง ร้านค้าปลีก 7/11 เพราะไม่มีความจำเป็นต้องจ่ายค่านายหน้าในการขายสินค้าให้ร้านค้า อีกต่อไป

บุก \"กสทช.-กขค.\" ค้าน \"ดีลทรู-ดีแทค\" ทำประชาชน-ประเทศเปรียบ :ภาพชุด

ซึ่งทางกลุ่มหวังเป็นอย่างยิ่งว่า กสทช. จะปฏิบัติหน้าที่อย่างเข้มแข็ง ในฐานะองค์กรอิสรที่มีหน้าที่กำกับดูแลให้เกิดการแข่งขันอย่างเสรีและเป็นธรรม ไม่ทำให้เกิดการลดการแข่งขัน อันอาจจะทำให้ผู้บริโภคและประเทศชาติเสียผลประโยชน์ ตามที่ได้กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

 

ด้านนายไตรรัตน์ ระบุว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) กสทช.ครั้งก่อน ได้สั่งการให้หาข้อมูลเพิ่มเติมในบางประเด็น โดยจะนำเสนอเข้าที่ประชุมบอร์ด กสทช.อีกครั้งในวันที่ 31 ส.ค.65 ขึ้นอยู่ผลการพิจารณาจะออกมาเป็นอย่างไร กรอบระยะเวลาเคาะดีลควบรวมนี้จะเสร็จสิ้นเมื่อไร ขอให้ประชาชนมั่นใจว่า กสทช.จะดำเนินการบนพื้นฐานกฎหมายที่ถูกต้องและให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย 

 

ส่วนกรณีที่ กสทช.ได้ทำหนังสือด่วนที่สุดถึงนายกรัฐมนตรี ขอความอนุเคราะห์ให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาตีความอำนาจหน้าที่ของ กสทช.กรณีการควบรวมทรู-ดีแทค เป็นครั้งที่ 2 เนื่องจากครั้งก่อนคณะกรรมการกฤษฎีกาไม่รับตีความ เพราะมีคดีหลักอยู่ในศาล เว้นแต่นายกรัฐมนตรีสั่งการเป็นการเฉพาะ จึงทำหนังสือทวนเข้าไป แม้ กสทช.จะเป็นองค์กรอิสระ และคณะกรรมการกฤษฎีกาจะเป็นฝ่ายกฎหมายของรัฐก็ตาม 

 

หลังจากนั้น กลุ่มพลเมืองฯได้เดินหน้าต่อไปยัง สำนักงานการแข่งขันทางการค้า หรือ กขค. ยื่นหนังสือเรียกร้องให้นายมนยศ วรรธนะภูติ
รองเลขาธิการรักษาการแทนเลขาธิการคณะกรรมการการแข่งขันทางการค้าพิจารณาการควบรวมธุรกิจระหว่าง ทรูและดีแทค

 

ซึ่งจะเป็นการควบรวมของบริษัทเอกชนทั้ง 2 บริษัท ประเทศแรกในโลก ที่มีการอนุญาตให้ควบรวมผู้ประกอบการรายใหญ่จาก 3 ราย เหลือ 2 ราย และการควบรวมธุรกิจดังกล่าวเป็นการผูกขาดตลาด ลดทางเลือกในการใช้บริการของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นทางเลือกด้านราคา ทางเลือกด้านบริการหลังการขาย และ ทางเลือกด้านคุณภาพการใช้บริการ

 

เนื่องจากก่อนหน้านี้ กขค. มีความเห็นว่า กสทช. มีกฎหมายเฉพาะ สามารถพิจารณาการควบรวมดังกล่าวเองได้ เห็นว่าถ้าเป็นเรื่องใบอนุญาตบริการ คลื่นความถี่ และเรื่องทางเทคนิคต่างๆที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจโทรคมนาคม เป็นหน้าที่ของ กสทช. ที่ต้องกำกับดูแล

 

แต่ผลกระทบกับตลาดการแข่งขัน กขค. ย่อมไม่อาจปฏิเสธอำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบที่จะต้องเข้ามาพิจารณาควบคู่กับไปกับการพิจารณา ของ กสทช.