โอดต้นทุนพุ่ง ขายข้าวขาดทุนยับ รัฐตัด “เงินช่วยเหลือชาวนา” ไร่ละ 1,000 บาท

01 ส.ค. 2565 | 16:50 น.
อัปเดตล่าสุด :01 ส.ค. 2565 | 23:50 น.
1.0 k

“ปราโมทย์” นายกสมาคมชาวนาฯ โชว์วิสัยทัศน์ โอด ต้นทุนพุ่ง ขายข้าวขาดทุนยับ รัฐขย่มซ้ำ ตัด “เงินช่วยเหลือชาวนา” ไร่ละ 1,000 บาท ลั่นประกาศสู้ ทวงคืนยุติธรรมให้ชาวนา 4.6 ล้านครัวเรือน ชี้พรรคการเมืองไหนอยากอยู่เคียงข้างชาวนา ติดต่อโดยตรงได้เลย

ปราโมทย์ เจริญศิลป์

 

นายปราโมทย์ เจริญศิลป์ นายกสมาคมชาวนาและเกษตรกรไทย เผยผ่านงาน สัมมนา Thailand Survival ไทย..จะรอดอย่างไรในวิกฤติโลก จัดโดยเครือเนชั่น (หนังสือพิมพ์ กรุงเทพธุรกิจ ฐานเศรษฐกิจ และเนชั่นทีวี ช่อง 22) ในนามนายกสมาคมชาวนาฯ จะฉายภาพให้เห็นว่าเกษตรกรชาวนาทั่วประเทศ มีจำนวน 4.6 ล้านครัวเรือน คือ มีชาวนาประมาณ 16-18 ล้านคน มีพื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 62 ล้านไร่  ซึ่งสถานะของชาวนาในประเทศไทยเป็นฐานรากหญ้า อยากให้ฝ่ายต่างๆ ให้ความสำคัญกับเกษตรกร เพราะถ้าไม่มีชาวนา ก็ไม่มีข้าวรับประทาน ไม่มีการส่งออก

 

“ข้าว” ติดอันดับการส่งออกอันดับ 1 ของประเทศ แต่ชาวนาประเทศไทยเหนื่อย ลำบากมาก เพราะหลังสู้ฟ้า หน้าสู้ดิน แต่ก็ต้องทำ และตอนนี้มาเจอวิกฤติเกิดสงครามรัสเซีย -ยูเครน  ประเทศไทยชาวนาปัจจัยการผลิตก็ต้องใช้ปุ๋ย น้ำมัน สารเคมี แรงงาน ซึ่งกลุ่มพวกนี้ปรับขึ้นราคามาหมดแล้ว ยกเว้นอย่างเดียวข้าวเปลือก ไม่ขึ้นราคา แนวโน้มราคาต่ำลง สวนทางข้าวสารขึ้น จะสะท้อนว่าประเทศไทยการสนับสนุนน้อยมากจากภาครัฐบาล

 

โอดต้นทุนพุ่ง  ขายข้าวขาดทุนยับ รัฐตัด “เงินช่วยเหลือชาวนา” ไร่ละ 1,000 บาท

 

“ผมขอระบายกับพวกสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) ว่าท่านต้องให้ความสำคัญกับรากหญ้า แล้วถ้าไม่มีรากหญ้าตรงนี้ประเทศไทยอยู่ไม่ได้แน่นอน เพราะว่าเศรษฐกิจกำลังทรุดตัวชาวนาผมอยู่ได้เพราะผมมีข้าวรับประทาน และพวกท่านก็อยู่ได้ไม่อดตายแน่ เพราะพวกผมปลูกข้าวให้พวกท่านรับประทาน"

 

นายปราโมทย์ กล่าวว่า ขอยืนยันว่าทุกวันนี้ที่เราทำอยู่ คือเกษตรกรสามารถผลิตข้าวได้ประมาณ 30 ล้านตันข้าวเปลือกต่อปี และที่ทราบข่าวมาก็คือมีวิกฤติโควิด  ภัยสงคราม ส่งผลทำให้ข้าวไทยส่งออกได้น้อย ประกอบกับต้นทุนการผลิตสูง น้ำมันแพง ปุ๋ยแพง สารเคมีแพง หากไปเทียบต้นทุนเวียดนามและประเทศเพื่อนบ้านมีต้นทุนถูกว่า ทำให้การส่งออกในข้าวชนิดเดียวกันราคาของเราสูงกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐที่ทราบมา

 

 

นายปราโมทย์ กล่าวว่า ก็อยากจะถามว่าหากเป็นแบบนี้คู่ค้าจะซื้อของถูกหรือของแพง ก็ต้องหันมาหาของถูก ดังนั้นก็อยากจะฝากเพราะตอนนี้ชาวนาผมเจอวิกฤติมากต้นทุนการผลิต เพราะผลผลิตที่ได้มาเวลาขายก็ไม่คุ้มทุน จะทำอย่างไร ก็ต้องให้ผู้ที่เกี่ยวข้องที่ดูแลชาวนาช่วยลงมาดูในพื้นที่หน่อยว่าเราเหน็ดเหนื่อยแค่ไหน ลำบากแค่ไหน  เราทุกข์ทนแค่ไหน แต่ชาวนาพวกผมอดทน และต้องอดทน มาตั้งแต่สมัยปู่ย่า ตายายที่ทำนาสืบทอดกันมา

 

โอดต้นทุนพุ่ง  ขายข้าวขาดทุนยับ รัฐตัด “เงินช่วยเหลือชาวนา” ไร่ละ 1,000 บาท

 

“เราทำนาเลี้ยงคนทั้งประเทศ เราทำตามโครงการพระราชดำริของในหลวง ชาวนาผมไม่มีปากเสียง แต่หากวันหนึ่งหมดความอดกลั้นขึ้นมาอาจจะอยู่ไม่ได้ (คลิกอ่าน)  ซึ่งจะต้องว่ากันในอนาคต แต่ ณ ปัจจุบันนี้ผมคงไม่พูดมาก เพราะทุกคนก็ทราบกันดีว่าเกษตรกรเป็นคนที่พูดน้อย ทำแต่งาน ไม่ยุ่งกับเรื่องการเมือง ไม่ยุ่งกับเรื่องเศรษฐกิจโลก เราอยู่ฝ่ายผลิต แล้วถ้าจะให้ผลิตส่งออกแบบไหนตามความต้องการของตลาดโลก ชาวนาเองพร้อมที่จะทำตามคำแนะนำ”

 

นโยบายปรับเปลี่ยน "เงินช่วยเหลือชาวนา" ใหม่

 

นายปราโมทย์ กล่าวว่า สถานะชาวนา เหมือนลูกที่ถูกลืม แล้วหากพรรคการเมืองไหนอยากจะช่วยอยากให้ลงมาดูว่า เราต้องการอะไร ลำบากตรงไหน เพราะปัจจุบันชาวนาเหมือนโดนถูกกระทำ โดนตัดงบ พอจะถึงมือชาวนาจริงกลับถูกเบียดบังไป ซึ่งชาวนาก็ไม่พูด และวันนี้ที่กำลังต่อสู้ในโครงการที่ชาวนาพึงจะได้รับ แต่กลับไม่ได้รับก็อยากให้นักการเมืองมาดู แล้วมาติดต่อกับผมโดยตรง ผมจะอธิบายให้ฟังว่าเป็นอย่างไร

 

โอดต้นทุนพุ่ง  ขายข้าวขาดทุนยับ รัฐตัด “เงินช่วยเหลือชาวนา” ไร่ละ 1,000 บาท

 

“ต้นทุนชาวนา สูงมาก ผมไม่ขอมาก ขอไร่ละ 1,000 บาท สูงสุด 20 ไร่   ให้ช่วยมาเบื้องต้น เพราะเราจะไปต่อยอดที่ลงทุนไปแล้วในตอนนี้ ซึ่งสมาคมกำลังตรวจสอบอยู่ที่ภาครัฐนำเงินนโยบายออกมานี้ต่อเนื่อง 3 ปีแล้ว สูงสุดได้รับครัวเรือนละ 2 หมื่นบาท ชาวนาขอแค่นี้ อยู่ได้แล้ว ไม่ขอไปมากกว่านี้” นายปราโมทย์ กล่าวในช่วงท้าย