กนอ. นำร่อง15โรงงาน ใน 8 นิคมฯ เปิดโครงการพัฒนาเกณฑ์ผลสัมฤทธิ์ทางสังคมฯ

27 ก.ค. 2565 | 23:18 น.
อัปเดตล่าสุด :28 ก.ค. 2565 | 06:26 น.

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดตัวโครงการเพื่อพัฒนาเกณฑ์ผลสัมฤทธิ์ทางสังคมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน (ISB : I-EA-T Sustainable Business) มุ่งผลสัมฤทธิ์ทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ควบคู่กับการเติบโตทางเศรษฐกิจตามมาตรฐานสากล นำร่อง 15 โรงงาน ใน 8 นิคมฯ 

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า ปัจจุบัน ทุกประเทศทั่วโลกมีเป้าหมายด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยนำหลัก SDGs มาใช้กับการประกอบธุรกิจ กนอ.จึงเร่งส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการ ที่มุ่งผลสัมฤทธิ์ทางสังคมและสิ่งแวดล้อมควบคู่กับการเติบโตทางเศรษฐกิจ ผ่านโครงการเพื่อพัฒนาเกณฑ์ผลสัมฤทธิ์ทางสังคมสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน (ISB : I-EA-T Sustainable Business)

 

ที่นำมาตรฐานสากลในการวัดผลสัมฤทธิ์ทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของธุรกิจทั่วโลก มาพัฒนาให้เหมาะสมกับผู้ประกอบการอุตสาหกรรมไทย เพื่อเตรียมความพร้อมทั้งในกระบวนการดำเนินธุรกิจ (CSR In Process) และในกระบวนการ (CSR After process) และยังสอดคล้องกับมาตรฐานสากล “ธุรกิจสร้างคุณประโยชน์สังคม” (Benefit Corporation หรือ B Corp)

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.)

นอกจากนี้ กนอ.ยังมีการมอบรางวัล I-EA-T Sustainable Business Awards 2022 เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน ตลอดจนสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่จะได้รับการส่งเสริมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศด้วย

ด้าน นางบุปผา กวินวศิน ผู้ช่วยผู้ว่าการสายงานพัฒนาที่ยั่งยืน กนอ. กล่าวเสริมว่า กนอ.สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพให้แก่ผู้ประกอบการ โดยพัฒนาทักษะให้แก่บุคลากร รวมถึงยกระดับและปรับปรุงองค์กรทั้งในมิติผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจ (Business Impact Assessment หรือ BIA) และมิติผลสัมฤทธิ์ทางสังคม (Social Impact Assessment หรือ SIA) ผ่านกระบวนการจัดทำรายงาน (Impact Report) อันเป็นที่ยอมรับในการดำเนินธุรกิจสีเขียว

 นางบุปผา กวินวศิน ผู้ช่วยผู้ว่าการสายงานพัฒนาที่ยั่งยืน กนอ.

เพื่อเพิ่มโอกาส New Sustainable S- Curve ของธุรกิจ สร้างความเข้มแข็ง ดึงดูดพันธมิตรธุรกิจและเม็ดเงินการลงทุนสีเขียวจากทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังเป็นโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มตลาดใหม่ ส่งเสริมความผูกพันของพนักงานและคนรุ่นใหม่ ตลอดจนได้รับการประชาสัมพันธ์การดำเนินงานขององค์กร สร้างการรับรู้แบรนด์ที่มีแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน 

กนอ.จัดตั้งคณะผู้เชี่ยวชาญโครงการฯ หรือ ISB Coach ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญจากการพัฒนาธุรกิจยั่งยืน การประเมินผลสัมฤทธิ์ทางสังคม การดำเนินกิจกรรมชุมชน สังคม ร่วมให้คำปรึกษาและร่วมพัฒนาศักยภาพให้แก่ผู้ประกอบการ รวมทั้งตรวจประเมินรับรองการประเมินผลสัมฤทธิ์ทางสังคมสำหรับเจ้าหน้าที่ กนอ. และผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรม

 

ตลอดจนการส่งเสริมการสร้างเครือข่ายผู้ประกอบการ ISB Business Network ให้เกิดการแลกเปลี่ยนความร่วมมือและเชื่อมโยงสิทธิประโยชน์การส่งเสริมผู้ประกอบการอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปีนี้เป็นปีแรก และได้รับการตอบรับอย่างดีจากผู้ประกอบการนำร่องทั้ง 15 ราย ในนิคมอุตสาหกรรม 8 แห่ง ได้แก่ 

กนอ. นำร่อง15โรงงาน ใน 8 นิคมฯ เปิดโครงการพัฒนาเกณฑ์ผลสัมฤทธิ์ทางสังคมฯ

บริษัท แคนนอน ไฮ-เทค (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท สตาร์ส เทคโนโลยี อินดัสเตรียล จำกัด, บริษัท คราวน์ เบ็บแคน แอนด์ โคลสเชอร์ส (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท สยามอุตสาหกรรมยิปซัม (สงขลา) จำกัด, บริษัท ครูเกอร์ เวนทิเลชั่น อินดีสทรีส์ (ไทยแลนด์) จำกัด, บริษัท ครูเกอร์ เวนทิเลชั่น อินดัสทรีส์ เอเชีย จำกัด, บริษัท ธ.พุทธรักษา จำกัด, บริษัท ที.เค.เอส เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน), บริษัท ราชราตัน ไทย ไวร์ จำกัด

 

บริษัท เอเเอนด์เอ็มแคสติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท เดลต้า อิเล็กทรอนิกส์ จำกัด, บริษัท คาโอ อินดัส   เตรียล (ประเทศไทย) จำกัด, บริษัท เออร์ลิคอน บัลเซอร์ส โค้ทติ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด, บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)  

กนอ. นำร่อง15โรงงาน ใน 8 นิคมฯ เปิดโครงการพัฒนาเกณฑ์ผลสัมฤทธิ์ทางสังคมฯ
ทั้งนี้ โครงการ ISB มีระยะเวลาในการดำเนินโครงการนำร่องในผู้ประกอบการ 15 รายตั้งแต่เดือนกรกฎาคมถึงเดือนตุลาคม สำหรับผู้ประกอบการรายอื่น ๆ ที่สนใจ สามารถศึกษาข้อมูล กรณีศึกษาและคู่มือเกณฑ์การประเมิน ที่จะเผยแพร่ให้แก่ผู้ประกอบการที่สนใจ ตลอดจนเวทีเสวนาซึ่งเปิดให้บุคคลภายนอกและอุตสาหกรรมอื่น ๆ ร่วมรับฟังข้อมูลอันเป็นประโยชน์ได้ ขณะที่การจัดพิธีมอบรางวัล I-EA-T Sustainable Business Awards 2022 จะจัดขึ้นในเดือนตุลาคม 2565