"แมลง"อาหารทางเลือกของสินค้าไทย สร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร

19 ก.ค. 2565 | 00:30 น.
อัปเดตล่าสุด :19 ก.ค. 2565 | 04:50 น.
941

"แมลง"อาหารทางเลือกของสินค้าไทย สร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร  ชี้ไทยสามารถผลิตแมลงเศรษฐกิจได้มากกว่า 7,000 ตันต่อปี และมีฟาร์มเลี้ยงจำนวนมาก โดยเฉพาะจิ้งหรีด คาดปี 2570 มูลค่าการตลาดของอาหารโปรตีนจากแมลงจะสูงถึง 2,067.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

"แมลง" ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มอาหารใหม่ (Novel Food) หรืออาหารที่ผลิตจากโปรตีนทางเลือกโดยปัจจุบันอาหารหรือขนมที่มีส่วนประกอบของแมลง เริ่มได้รับความนิยมเนื่องจากมีคุณค่าทางสารอาหารจำนวนมากมีโปรตีนสูงไม่แพ้โปรตีนจากเนื้อสัตว์หลัก รวมทั้งมีแร่ธาตุ แคลเซียม ไฟเบอร์ วิตามินสูง และไขมันต่ำ

นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.)

นายรณรงค์ พูลพิพัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า (สนค.) กล่าวว่า ปัจจุบันวิถีการบริโภคของประชาชน ได้ปรับเปลี่ยนไปตามกระแสของสังคมและเศรษฐกิจ การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมอาหาร มีการนำแหล่งสารอาหารที่มีประโยชน์มาพัฒนาเป็นอาหารในรูปแบบใหม่ ๆ ที่เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคเฉพาะกลุ่ม เช่น อาหารสำหรับกลุ่มผู้รักสุขภาพ อาหารเกษตรอินทรีย์ (Organic Food) หรืออาหารคลีน (Clean Food) อาหารจากพืช (Plant-based Food) อาหารวีแกน (Vegan) และอาหารคีโต (Keto)

\"แมลง\"อาหารทางเลือกของสินค้าไทย  สร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร

 

 

 

 

โดยตลาดส่งออกของไทย 5 อันดับแรกคือ กัมพูชา คิดเป็นสัดส่วน 47.80% สหรัฐอเมริกา สัดส่วน 26.07% ญี่ปุ่น สัดส่วน 12.28% เมียนมา สัดส่วน 4.69% และฮ่องกง สัดส่วน 6.51%

\"แมลง\"อาหารทางเลือกของสินค้าไทย  สร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร

ทั้งนี้สนค. วิเคราะห์ว่าประเทศไทยมีศักยภาพสูงในการเพาะเลี้ยงและผลิตโปรตีนทางเลือกจากแมลง เนื่องจากมีสภาพภูมิอากาศที่เอื้ออำนวยต่อการเติบโตของแมลง มีเทคโนโลยีและนวัตกรรมแปรรูปอาหารที่ทันสมัยนอกจากนี้

 

ในกระบวนการเพาะเลี้ยงและการผลิตใช้ทรัพยากรน้อยกว่าสัตว์อื่นๆ เนื่องจากวงจรการเติบโตของแมลงมีระยะสั้น จึงก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมจำนวนน้อย และเกิดแก๊สมีเทนที่จะสร้างปัญหาต่อก๊าซเรือนกระจกต่ำ

\"แมลง\"อาหารทางเลือกของสินค้าไทย  สร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร

ปัจจุบันไทยสามารถผลิตแมลงเศรษฐกิจได้เกือบ 200 ชนิด แต่แมลงที่เป็นที่นิยมมากในการผลิต คือ จิ้งหรีด นอกจากนี้สหภาพยุโรปได้อนุมัติแมลงเศรษฐกิจชนิดอื่น เช่น หนอนนก (Mealworms) และตั๊กแตน (European locust) ให้เป็นอาหารสำหรับการบริโภคได้ ซึ่งเป็นโอกาสที่เกษตรกรผู้เลี้ยงสามารถเพาะขยายพันธุ์ เพื่อการส่งออก และเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร อาทิ อาหารสำเร็จรูป ขนมขบเคี้ยว อาหารเพื่อสุขภาพ และอาหารเสริมโปรตีน รวมทั้งเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์ เพื่อขยายฐานการผลิตและเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตร

\"แมลง\"อาหารทางเลือกของสินค้าไทย  สร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร

“มูลค่าตลาดของอาหารแห่งอนาคต มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นับเป็นโอกาสของเกษตรกรรายย่อยที่จะเพาะเลี้ยง และพัฒนาการเลี้ยงแมลงให้มีคุณภาพมาตรฐานสากล เพื่อส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศ รวมทั้งเป็นโอกาสของอุตสาหกรรมอาหารแปรรูปของไทยในการสร้างมูลค่าเพิ่มจากการผลิตอาหารโปรตีนทางเลือกจากแมลง ที่จะต้องอาศัยความร่วมมือจากภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาและส่งเสริมการเพาะเลี้ยงแมลงที่มีคุณภาพ ปลอดภัย รวมทั้งพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยีการแปรรูปอาหารซุปเปอร์ฟู้ดเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของตลาดในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าเกษตร และสร้างรายได้ให้แก่เศรษฐกิจฐานรากของประเทศ”