ค้าชายแดน-ผ่านแดน5เดือนพุ่ง1.74% สะท้อนเศรษฐกิจหลังโควิดเริ่มฟื้น

04 ก.ค. 2565 | 13:07 น.
อัปเดตล่าสุด :04 ก.ค. 2565 | 20:16 น.

ค้าชายแดน-ผ่านแดน5เดือนพุ่ง1.74% สะท้อนเศรษฐกิจชายแดน-ผ่านแดนเริ่มฟื้น มาเลเซียยังเป็นเบอร์หนึ่งค้าชายแดนของไทย รองลงมาเป็นเมียนมา ส่วนจีนเบอร์หนึ่งค้าผ่านแดน สินค้าส่งออกสำคัญยังคงเป็นผลไม้ คาดทั้งปีขยายตัว5%

การค้าชายแดนและผ่านแดนของไทยในช่วงการแพร่กระจายของไวรัสโควิด-19 ส่งผลให้การค้าขายตามชายแดนของไทยทั้งมาเลเซีย สปป.ลาว เมียนมา และกัมพูชา และการค้าผ่านแดนไปยังประเทศจีน สิงคโปร์ เวียดนาม และประเทศอื่นๆต้องชะงักไปเนื่อจากการปิดด่านชายแดนและผ่านแดนแต่หลังจากที่ทั้งไทยและประเทศเพื่อนบ้านต่างมีมาตรการผ่อนปรมการข้ามแดนและผ่านแดนระหว่างกันส่งผลให้การค้าขายตามชายแดนและผ่านแดนกลับมาคึกคักเหมือนเดิม

ค้าชายแดน-ผ่านแดน5เดือนพุ่ง1.74%  สะท้อนเศรษฐกิจหลังโควิดเริ่มฟื้น

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์  เปิดเผยว่าปัจจัยสนับสนุนการค้าชายแดนและผ่านแดน คือ การผ่อนคลายมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคโควิด - 19 ของไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ที่สามารถเดินทางเข้าไทยทางจุดผ่านแดนถาวร (ทางบก) ได้โดยไม่ต้องกักตัว ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป ขณะที่มาเลเซีย ลาว และกัมพูชาก็ผ่อนคลายมาตรการโดยเปิดให้ผู้ที่ได้รับวัคซีนครบเกณฑ์สามารถเดินทางเข้าประเทศโดยไม่ต้องกักตัวเช่นกัน

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

ซึ่งจะช่วยกระตุ้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการค้าในพื้นที่ชายแดนของไทยและประเทศเพื่อนบ้าน อย่างไรก็ดี มาตรการดังกล่าวต้องขึ้นกับความพร้อมของแต่ละจังหวัดและประเทศเพื่อนบ้านด้วย  ค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่า ช่วยให้สินค้าไทยสามารถแข่งขันด้านราคาได้มากขึ้น

 

ค้าชายแดน-ผ่านแดน5เดือนพุ่ง1.74%  สะท้อนเศรษฐกิจหลังโควิดเริ่มฟื้น

รวมถึงการผลักดันเปิดจุดผ่านแดนเพื่อขนส่งสินค้าภายใต้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยมีจุดผ่านแดนฝั่งไทยเปิด 59 แห่ง จากทั้งหมด 97 แห่ง ขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านเปิด 52 แห่ง  และในช่วงครึ่งปีหลังนี้กระทรวงพาณิชย์ยังมีมหกรรมการค้าชายแดนใน 8 จังหวัดเป้าหมาย โดยเหลืออีก 4 จังหวัด คือ จันทบุรี สระแก้ว เชียงราย และอุบลราชธานี

ค้าชายแดน-ผ่านแดน5เดือนพุ่ง1.74%  สะท้อนเศรษฐกิจหลังโควิดเริ่มฟื้น

ทั้งนี้จากปัจจัยบวกดังกล่าวส่งผลให้ตัวเลขการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดน5 เดือนแรกของปี 2565 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 688,822 ล้านบาท เพิ่มขึ้น +1.74% เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็นการส่งออกมูลค่า 404,585 ล้านบาท ลดลง -0.91% และการนำเข้ามูลค่า 284,237 ล้านบาท เพิ่มขึ้น +5.75% โดยไทยได้ดุลการค้าทั้งสิ้น 120,348 ล้านบาท  

ค้าชายแดน-ผ่านแดน5เดือนพุ่ง1.74%  สะท้อนเศรษฐกิจหลังโควิดเริ่มฟื้น

ส่วนการค้าผ่านชายแดนเพียงอย่างเดียว 5 เดือนมีมูลค่า267,052ล้านบาท หรือเพิ่ม17.2%  นำเข้า มีมูลค่า 174,737ล้านบาท เพิ่มขึ้น21% มีมูลค่าร่วม 441,788 ล้านบาท เพิ่มขึ้น19%  ส่วนการค้าผ่านแดน5เดือน เป็นการส่งออกมีมูลค่า 137,534ล้านบาท ติดลบ23% นำเข้า109,500ล้านบาท ติดลบ12% มีมูลค่ารวม247,034ล้านบาทติดลบ19% ทั้งนี้เป้าการค้าชายแดนและผ่านแดนทั้งปีคาดว่าขยายตัว5% หรือมีมูลค่า 1.08ล้านล้านบาทเพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่1.03ล้านล้านบาท

 

ค้าชายแดน-ผ่านแดน5เดือนพุ่ง1.74%  สะท้อนเศรษฐกิจหลังโควิดเริ่มฟื้น

โดยมาเลเซียยังเป็นประเทศที่มีมูลค่าการค้าผ่านแดนกับไทยสูงสุด มีมูลค่าส่งออก 14,932 ล้านบาท (-1.57%) สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ ยางพารา รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ รองลงมาเป็น เมียนมา มูลค่าส่งออก 13,442 ล้านบาท (+23.28%) สินค้าสำคัญ ได้แก่ น้ำมันดีเซล น้ำมันสำเร็จรูปอื่น ๆ และ เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์

ค้าชายแดน-ผ่านแดน5เดือนพุ่ง1.74%  สะท้อนเศรษฐกิจหลังโควิดเริ่มฟื้น

,กัมพูชา มูลค่าส่งออก 13,405 ล้านบาท (+13.82%) สินค้าส่งออกสำคัญ ได้แก่ เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และ รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ  และลาว มูลค่าส่งออก 13,223 ล้านบาท (+40.25%) สินค้าสำคัญ ได้แก่ น้ำมันดีเซล น้ำมันสำเร็จรูปอื่น ๆ และ ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป

ส่วนประเทศที่เป็นการค้าผ่านแดนประกอบด้วยจีนมีมูลค่าส่งออก 19,083 ล้านบาท (-18.80%) สินค้าสำคัญ ได้แก่ ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ยางพารา และ ผลิตภัณฑ์ยาง,สิงคโปร์ มูลค่าส่งออก 3,887 ล้านบาท (-11.18%) สินค้าสำคัญ ได้แก่ เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ เครื่องวิดีโอ เครื่องเสียง และเครื่องปรับอากาศ  ,เวียดนาม มูลค่าส่งออก 3,737 ล้านบาท (-15.24%) สินค้าสำคัญ ได้แก่ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์และไดโอด เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ หม้อแบตเตอรี่และส่วนประกอบ และผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง ประเทศอื่นๆ เช่น อังกฤษ ฮ่องกง สหรัฐฯ และญี่ปุ่น   มูลค่าส่งออก 8,995 ล้านบาท (- 38.80%)