สถานีชาร์จรถไฟฟ้า2565 ล่าสุดมีกี่แห่งในไทย ใครเป็นเจ้าของบ้าง อ่านเลย

27 พ.ค. 2565 | 08:39 น.
อัปเดตล่าสุด :27 พ.ค. 2565 | 09:22 น.
8.0 k

สถานีชาร์จรถไฟฟ้า2565 ล่าสุดมีกี่แห่งในไทย ใครเป็นเจ้าของบ้าง อ่านเลยที่นี่มีคำตอบ สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานอัพเดทข้อมูลปัจจุบัน

สถานีชาร์จรถไฟฟ้า2565 เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญ ที่จะต้องเกิดขึ้นควบคู่ไปกับยานยนต์ไฟฟ้าหรือ อีวี (EV) ซึ่งจะเป็นแนวโน้มของยานยนต์ในอนาคต  

 

โดยเฉพาะในช่วงที่สถานการณ์น้ำมันปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก "ฐานเศรษฐกิจ" จะพาไปอัพเดทความคืบหน้าของการก่อสร้างสถานีชาร์จรถไฟฟ้าในประเทศไทยว่าปัจจุบันเป็นอย่างไรบ้าง

 

ล่าสุดสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน เปิดเผยถึงจำนวนสถานนีชาร์จยานยนต์ไฟฟ้าในปัจจุบัน  (ข้อมูล ณ วันที่ 4 มีนาคม 2565)  ว่ามีจำนวน 944 สถานี โดยรายละเอียดของจำนวน และตำแหน่งสถานีอัดประจุในประเทศไทย ประกอบด้วย

 

  • บริษัท พลังงานมหานคร จำกัด มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 417 สถานี

 

  • บริษัท เอ็มจี เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 120 สถานี

 

  • บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 108 สถานี

 

  • การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) มีจำนวนสถานีอัดประจุที่ กฟภ. เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 73 สถานี

 

  • สถานีอัดประจุจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) และสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย มีจำนวนสถานีอัดประจุทั้งหมด 68 สถานี

 

สถานีชาร์จรถไฟฟ้า2565 ล่าสุดมีกี่แห่งในไทย

 

  • บริษัท อีโวลท์ เทคโนโลยี จำกัด มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 51 สถานี

 

  • บริษัท บีเอ็มดับเบิลยู (ประเทศไทย) จํากัด มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 42 สถานี

 

  • บริษัท ชาร์จ แมเนจเม้นท์ จํากัด มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 18 สถานี

 

  • การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) มีจำนวนสถานีอัดประจุที่ กฟผ. เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 15 สถานี
  • การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) มีจำนวนสถานีอัดประจุที่ กฟน. เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 14 สถานี

 

  • บริษัท กริดวิซ (ประเทศไทย) จำกัด มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 8 สถานี

 

  • บริษัท โชเซ่น เอ็นเนอร์จี้ จำกัด มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 6 สถานี

 

  • บริษัท อรุณ พลัส จำกัด มีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 3 สถานี

 

  • บริษัท เกรท วอลล์ มอเตอร์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จํากัดมีจำนวนสถานีอัดประจุที่บริษัทฯ เป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด 1 สถานี

 

อย่างไรก็ดี เมื่อแยกเป็นรายภาคแล้ว พบว่า จำนวนสถานีอัดประจุยานยนต์ไฟฟ้าทั่วไทยมีอยู่ในพื้นที่

 

  • กทม. นนทบุรี ปทุมธานี รวม 473 สถานี

 

  • ภาคกลาง 152 สถานี

 

  • ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 95 สถานี 

 

  • ภาคเหนือ 109 สถานี 

 

  • ภาคใต้ 115 สถานี