รัฐ-เอกชน ปรับวิธีคิด - ทำ สู่ชีวิตวิถีใหม่พาไทยสู่เป้า Net Zero ที่เป็นจริง

20 พ.ค. 2565 | 16:07 น.
อัปเดตล่าสุด :20 พ.ค. 2565 | 23:17 น.

ภาครัฐ - เอกชน ร่วมแชร์ไอเดีย บนเวที Better Thailand Open Dialogue สร้างเศรษฐกิจสีเขียว เดินหน้าสังคมยั่งยืน สู่เป้าหมายประเทศไทย Net Zero Emission

จากงานเสวนา Better Thailand Open Dialogue หัวข้อ “สิ่งแวดล้อมยุคใหม่ เติบโตไปพร้อมกับเศรษฐกิจ” ลดโลกร้อน เพิ่มพลังงานสะอาด และเยียวยาระบบนิเวศ ซึ่งมีวิทยากรทั้งภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วย นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม นายกุลิศ สมบัติศิริ ปลัดกระทรวงพลังงาน นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส

กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมแชร์ไอเดีย การเดินหน้าประเทศไทยสู่เป้าหมายNet Zero Emission ที่จะเกิดได้จริง 

นายวราวุธ ศิลปอาชา

นายวราวุธ กล่าวว่า จากเป้าหมายที่นายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประกาศเจตนารมณ์ เมื่อวันนที่ 1 พ.ย.64 ว่า ไทยพร้อมยกระดับการแก้ไขปัญหาภูมิอากาศ เพื่อบรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutral) ภายในปี ค.ศ. 2050 และบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Emission) ภายในปี ค.ศ. 2065 รัฐบาลได้เดินหน้าสู่เป้าหมาย ด้วยการจัดทำหลายเรื่อง โดยเฉพาะใน 3 ส่วนหลักคือ น้ำเสีย ขยะและมลพิษทางอากาศ มีการห้ามนำเข้าขยะอิเลคทรอนิก การเพิ่มพื้นที่สีเขียว และอื่นๆ เพราะเรื่องนี้เป็นเรื่องที่จำเป็นต้องเร่งทำ แม้ประเทศไทยจะเป็นผู้ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพียง 0.8% ของโลก แต่ไทยเป็นประเทศต้นๆ ที่ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate change)

ด้านปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ภาคพลังงานและการขนส่งปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงถึง 70% ของการปล่อก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทั้งหมดของประเทศไทย เนื่องจากเป็นภาคอุตสาหกรรมที่ใช้เชื้อเพลิงจากฟอสซิล ถ่านหินละก๊าซธรรมชาติ และ 96% ของภาคขนส่ง ยังใช้น้ำมันเบนซินและดีเซล 

 

การที่จะเดินหน้าไปให้ถึงการลดก๊าซเรือนกระจก ลดการใช้คาร์บอนไดออกไซด์ จึงต้องมีการบริหารจัดการ นำพลังงานหมุนเวียนเข้ามาใช้ ซึ่งรัฐบาลได้ออกกรอบแผนพลังงานแห่งชาติภายในปี ค.ศ. 2065 – 2070 ซึ่งจะมีผลต่อทิศทางการพัฒนาพลังงานที่สำคัญ ประกอบด้วย 4 ด้าน คือ 1. ด้านไฟฟ้าเพิ่มสัดส่วนพลังงานทดแทนและพลังงานสะอาดจากโรงไฟฟ้าใหม่ โดยมีสัดส่วน RE ไม่น้อยกว่า 50%  ด้านส่งเสริมการใช้ยานยนต์ไฟฟ้า

 

พัฒนาและยกระดับเทคโนโลยีระบบไฟฟ้า (Grid Modernization) รองรับการผลิตไฟฟ้าแบบกระจายศูนย์ระบบไมโครกริด มุ่งปลดล็อคกฎระเบียบการซื้อขายไฟฟ้า รองรับการผลิตเอง ใช้เอง (Prosumer) ที่มากขึ้น 2. ด้านก๊าซธรรมชาติเน้นการเปิดเสรีและการจัดหา สร้างความมั่นคงให้กับระบบพลังงานประเทศวางแผนสร้างสมดุลระหว่างการจัดหาในประเทศ และการนำเข้า LNG มุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการซื้อขาย หรือ LNG Hub 3. ด้านน้ำมัน ปรับแผนพลังงานภาคขนส่งสร้างสมดุลระหว่างผู้ใช้เชื้อเพลิงชีวภาพ (Bio Fuel) และ EV และ 4. ด้านพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงานส่งเสริมการผลิตและการใช้พลังงานทดแทนทุกภาคส่วนให้มากขึ้น เพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานจากทุกภาคส่วนให้เข้มข้นมากขึ้น

การจะไปถึงเป้าหมายทั้ง 4 ด้านได้ ทางกระทรวงมีมาตรการ 4D ในการขับเคลื่อน คือ Decarbonization การมุ่งเน้นการส่งเสริมการผลิตที่ลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์และมลภาวะ ส่งเสริมการใช้พลังงานหมุนเวียน, Digitalization ยกระดับการพัฒนาดิจิทัล, Decentralization การใช้ไมโครกริด นำไฟฟ้าส่วนเกินเข้าสู่ระบบ แล้วนำมาขายไฟฟ้าออนไลน์ และ Deregulation เรื่องของกฎระเบียบ 

รัฐ-เอกชน ปรับวิธีคิด - ทำ สู่ชีวิตวิถีใหม่พาไทยสู่เป้า Net Zero ที่เป็นจริง

ด้าน ปตท.นายอรรถพล กล่าวว่า ปตท.มีการตั้งเป้าหมายที่ทำการลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้ได้เร็วกว่าเป้าหมายประเทศ ซึ่งขณะนี้กำลังร่างแผนและจะประกาศแผนการดำเนินงานที่ชัดเจนในปีนี้ ซึ่งในเบื้องต้น ปตท.จะดำเนินการในรูปแบบ 3 เรื่องหลัก คือ 1. การพยายามลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก มีออกแบบกระบวนการทำงาน ใหม่ นำพลังงานที่เคยปล่อยทิ้งกลับมาใช้ใหม่ 2. มีการกักเก็บคาร์บอนมาเก็บในแหล่งก๊าซแหล่งน้ำมัน ซึ่งดำเนินการไปแล้วเป็นโครงการนำร่อง คือ แท่นผลิตก๊าซธรรมชาติโครงการอาทิตย์ เก็บได้ 4 แสนตันต่อปี และจะมีการขยายไปยังแหล่งอื่นๆ ต่อไป   และ 3. เรื่องข้อกำหนดกฎเกณฑ์ ที่จะทำให้ ปตท.สามารถดำเนินการตามเป้าหมายได้ 

 

ขณะนี้ ปตท. ได้ดำเนินการไปแล้วหลายอย่าง รวมไปถึงการปรับพอรตธุรกิจ และที่กำลังทดลองทำอีกอัน คือ คาร์บอนเทรนดิ้ง ด้วยการลองเข้าไปเป็นผู้ซื้อก่อน รวมถึงมีการรทดลองใช้ไฮโครเจน ทั้งการทำโครงการนำร่อง และการทดลองใช้ในกระบวนการทำงานของ ปตท.รวมถึงการปลูกป่าเพิ่มอีก 2 ล้านไร่ ซึ่งจะช่วยดูดซับคาร์บอนได้ 4 ล้านตันต่อปี 

รัฐ-เอกชน ปรับวิธีคิด - ทำ สู่ชีวิตวิถีใหม่พาไทยสู่เป้า Net Zero ที่เป็นจริง

ส่วนนายรุ่งโรจน์ เอสีจี ได้กล่าวถึง นโยบาย 4Plus เพื่อมุ่งสู่แนวทาง ESG 4 Plus ได้แก่ 

  1. มุ่ง Net Zero มุ่งสู่การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2050
  2. Go Green การใช้พลังงานทดแทนให้ได้มากที่สุด มีการลงทุนในกระบวนการผลิตใหม่ๆ 
  3. Lean เหลื่อมล้ำ 
  4. ย้ำร่วมมือ เพราะทุกวันนี้ไม่มีใครสามารถเดินหน้าไปได้คนเดียว และ 5. Plus คือ เป็นธรรม โปร่งใส

ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล 

ด้านศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวว่า โมเลธุรกิจ BCG ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ( Bioeconomy) เชื่อมโยงกับ เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) คำนึงถึงการนำวัสดุต่าง ๆ กลับมาใช้ประโยชน์ให้มาก และ เศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ทั้ง 3 มิตินี้ต้องเร่งดำเนินการ ซึ่งทุกคนทุกองค์กรอยากทำและมีความเข้มแข็งอยู่แล้ว และ BCG โมเดล เป็นเรื่องของปัจจุบันและอนาคต ที่ภาครัฐมีความมุ่งในเรื่องต่างๆ ได้แก่ 1. มีการจัดตั้งคณะกรรมขับเคลื่อน BCG ระดับประเทศ ที่มีนายกฯ เป็นประธาน มีการซัพพอร์ตในเชิงนโยบายชัดเจน 2. มีการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพ และการจัดการ รัฐบาล มีบีโอไอที่ช่วยสนับสนุนการลงทุนของทั้ง รายใหญ่ รายกลาง และรายย่อย 3.การสนับสนุนเชิงวิจัยและนวัตกรรม และ 4. การสนับสนุนกำลังคน 

 

นายวราวุธ กล่าวอีกว่า สัญญาณเตือนจากโควิด-19 ทำใหการเดินหน้าจากทุกๆ ภาคส่วน ต้อง คำนึงถึง green road ถ้าไม่มีธรรมชาติมนุษย์อยู่ไม่ได้ ประเทศไทยต้องมุ่งสู่ Build forward Greener ปรับเปลี่ยนชีวิตวิถีใหม่ อย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 

 

การเดินหน้า BCG โมเดล แม่ต้นทุนที่จ่ายต้องเพิ่มขึ้น แต่ยังไงๆ เราก็ต้องจ่าย เพราะต้นทุนที่ได้มา กับการจัดการของเสียมันต่างกันเยอะ ท้ายที่สุด  ถ้าเราไม่ลงทุนกับโลกใบนี้ มนุษย์จะต้องจ่ายค่าบำรุงรักษาสิ่งเหล่านี้อย่างมหาศาล