สธ.จับมือ กวก. พัฒนาสายพันธุ์ กัญชา กัญชง ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์-สุขภาพ

19 พ.ค. 2565 | 16:06 น.
อัปเดตล่าสุด :19 พ.ค. 2565 | 23:07 น.

กระทรวงสาธารณสุข ลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกับ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ศึกษา วิจัย และพัฒนาสายพันธุ์กัญชา กัญชงในประเทศ พร้อมกระจายต้นกล้ากัญชา 1 ล้านต้นให้ประชาชนปลูกในครัวเรือนเพื่อใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพ

 

สธ.จับมือ กวก. พัฒนาสายพันธุ์ กัญชา กัญชง ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์-สุขภาพ

 วันนี้ (19 พฤษภาคม 2565) ที่ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข และ นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อการใช้ประโยชน์กัญชาทางการแพทย์และศึกษาวิจัย โดยมี นายแพทย์ภูวเดช สุระโคตร ผู้ช่วยปลัดกระทรวงสาธารณสุข ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขและกรมวิชาการเกษตร ร่วมเป็นสักขีพยาน

 

สธ.จับมือ กวก. พัฒนาสายพันธุ์ กัญชา กัญชง ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์-สุขภาพ

นายแพทย์เกียรติภูมิ กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุขมีนโยบายผลักดันกัญชา กัญชง ให้เป็นพืชเศรษฐกิจที่นำมาใช้ประโยชน์ในด้านการแพทย์และสุขภาพ ซึ่งปัจจุบันมีงานวิจัยจำนวนมากที่แสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของกัญชาต่อสุขภาพทั้งด้านการแพทย์แผนปัจจุบันและการแพทย์แผนไทย การผลักดันกัญชา กัญชงดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยมีสถาบันกัญชาทางการแพทย์ เป็นหน่วยประสานความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกกระทรวงจัดการต้นทาง กลางทาง และปลายทางห่วงโซ่คุณค่าอย่างเป็นระบบ เน้นให้เกิดความปลอดภัยในการใช้ จนล่าสุดกัญชาถูกปลดล็อคออกจากการเป็นยาเสพติด ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 9 มิถุนายน 2565 นี้ ทำให้ประชาชนสามารถปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ในการดูแลสุขภาพเบื้องต้น ต่อยอดเป็นธุรกิจในครัวเรือนได้

สธ.จับมือ กวก. พัฒนาสายพันธุ์ กัญชา กัญชง ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์-สุขภาพ

กระทรวงสาธารณสุข และกรมวิชาการเกษตร จึงร่วมกันเตรียมความพร้อมให้กับประชาชนในการปลูกและนำส่วนต่างๆ มาใช้ให้เกิดประโยชน์ โดยกำหนดแนวทางในการส่งเสริม สนับสนุนการใช้กัญชา กัญชงที่ปลอดภัยอย่างเป็นระบบ ตั้งแต่การศึกษา วิจัย ปรับปรุงสายพันธุ์กัญชาและกัญชงในประเทศ เพื่อให้ได้สายพันธุ์ที่ดี เป็นต้นพันธุ์ที่มีคุณภาพ ทนต่อโรค เหมาะกับสภาพแวดล้อม ภูมิอากาศของประเทศไทย

 

และมีสารสำคัญที่สามารถนำไปใช้ทางการแพทย์และสุขภาพได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย พร้อมทั้งมีคู่มือการใช้เพื่อดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัว เน้นให้ใช้กัญชาอย่างเข้าใจ ประยุกต์ภูมิปัญญาพื้นบ้านกับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เพื่อสุขภาพของคนไทย

 

สธ.จับมือ กวก. พัฒนาสายพันธุ์ กัญชา กัญชง ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์-สุขภาพ

ทั้งนี้ หลังจากได้สายพันธุ์กัญชาที่ดีแล้ว กรมวิชาการเกษตรจะกระจายต้นกล้ากัญชา 1 ล้านต้น เป็นต้นพันธุ์ให้กับประชาชนนำไปปลูกในครัวเรือนเพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ โดยต้นแม่พันธุ์ได้มาจากโครงการต้นกล้าพันธุ์กัญชาทางการแพทย์บุรีรัมย์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองครก ร่วมกับวิสาหกิจชุมชนเกษตรนอกกรอบเพื่อรอยยิ้มที่ยั่งยืน และจะเริ่มแจก 1,000 ต้น ในงาน "มหกรรม 360 องศา ปลดล็อคกัญชา" ประชาชนได้อะไรที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 10-12 มิถุนายน 2565 นอกจากการแจกต้นกล้าพันธุ์แล้ว จะมีการนำร่องแอปพลิเคชันจดแจ้ง ของ อย. เพื่อความสะดวกให้กับเกษตรกร และแจกคู่มือการปลูกของกรมวิชาการเกษตรด้วย

 

 

และมีสารสำคัญที่สามารถนำไปใช้ทางการแพทย์และสุขภาพได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย พร้อมทั้งมีคู่มือการใช้เพื่อดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัว เน้นให้ใช้กัญชาอย่างเข้าใจ ประยุกต์ภูมิปัญญาพื้นบ้านกับวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ เพื่อสุขภาพของคนไทย

 

ทั้งนี้ หลังจากได้สายพันธุ์กัญชาที่ดีแล้ว กรมวิชาการเกษตรจะกระจายต้นกล้ากัญชา 1 ล้านต้น เป็นต้นพันธุ์ให้กับประชาชนนำไปปลูกในครัวเรือนเพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ โดยต้นแม่พันธุ์ได้มาจากโครงการต้นกล้าพันธุ์กัญชาทางการแพทย์บุรีรัมย์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหนองครก ร่วมกับวิสาหกิจชุมชนเกษตรนอกกรอบเพื่อรอยยิ้มที่ยั่งยืน และจะเริ่มแจก 1,000 ต้น ในงานมหกรรม 360 องศา ปลดล็อคกัญชา ประชาชนได้อะไรที่จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 10-12 มิถุนายน 2565 นอกจากการแจกต้นกล้าพันธุ์แล้ว จะมีการนำร่องแอปพลิเคชันจดแจ้ง ของ อย. เพื่อความสะดวกให้กับเกษตรกร และแจกคู่มือการปลูกของกรมวิชาการเกษตรด้วย

สธ.จับมือ กวก. พัฒนาสายพันธุ์ กัญชา กัญชง ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์-สุขภาพ

ด้าน นายระพีภัทร์ กล่าวว่า กรมวิชาการเกษตร เป็นองค์กรที่เป็นเลิศในด้านการวิจัยและพัฒนาด้านพืชต่างๆ ในส่วนพืชกัญชา กัญชง ได้มีการศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัย พัฒนามาอย่างต่อเนื่อง และจัดทำเป็นคู่มือการปลูกพืชสกุลกัญชาที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ พร้อมทั้งถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตให้กับสมาชิกสหกรณ์และเกษตรกรผู้ปลูก ตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืช (Good Agriculture Practices : GAP) เพื่อพัฒนาเป็นพืชเศรษฐกิจ สร้างรายได้ให้เกษตรกร และนำรายได้เข้าสู่ประเทศ

 

สธ.จับมือ กวก. พัฒนาสายพันธุ์ กัญชา กัญชง ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์-สุขภาพ

 

ปัจจุบันได้ก่อสร้างอาคารวิจัยกัญชาระบบปิด โรงเรือนทดลองในระบบกึ่งปิด และแปลงทดลองในสภาพกลางแจ้ง ณ ศูนย์วิจัยพืชสวนเชียงราย จังหวัดเชียงราย รวมถึงแปลงทดสอบพันธุ์กัญชงที่เหมาะสมกับพื้นที่ประเทศไทย มีศูนย์เครือข่ายภายใต้สังกัดกว่า 26 ศูนย์ฯ ทั่วประเทศ โดยตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ ตลอดจนเทคโนโลยีการผลิตแบบครบวงจร ซึ่งนอกจากจะเป็นสถานที่รองรับการวิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี นวัตกรรมการผลิตแล้ว ยังสามารถใช้เป็นแหล่งผลิตและกระจายต้นกล้ากัญชา กัญชง สายพันธุ์ดีต่อไปในอนาคตได้