วันแรงงาน หรือวันแรงงานแห่งชาติ ปีนี้ตรงกับวันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม 2565 พี่น้องแรงงานก็จะได้หยุดพักผ่อนประจำปี
วันดังกล่าวถือเป็นหมุดหมายสำคัญที่แรงงานได้นัดรวมตัวกันภายใต้องค์กรและเครือข่ายต่างๆ เพื่อแสดงพลังในการเรียกร้องสิทธิด้านแรงงานต่อรัฐ ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติต่อเนื่องมานาน
สภาองค์การลูกจ้างแห่งชาติ ข้อเรียกร้องมีด้วยกันทั้งหมด 8 ข้อ โดยเป็นข้อเรียกร้องของ 15 สภาองค์การลูกจ้าง
- ให้รัฐบาลรับรองอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศฉบับที่ 87 ว่าด้วยเสรีภาพในสมาคมและคุ้มครองสิทธิในการรวมตัว และฉบับที่ 98 ว่าด้วยเรื่องสิทธิในการรวมตัวและเจรจาต่อรอง
- ให้รัฐบาลเร่งดำเนินการนำร่าง พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ....ฉบับแก้ไขเข้าสู่รัฐสภาเร่งด่วน
- ขยายวงเงินเพื่อลดหย่อนภาษีเงินได้ที่ลูกจ้างได้รับก้อนสุดท้าย ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน
- ให้รัฐบาลเพิ่มเติม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 อาทิ หามาตรการให้สถานประกอบการที่รับเหมาช่วงปฎิบัติตามกฏหมาย
- ปฎิรูปแก้ไขประกันสังคม อาทิ ปรับฐานการรับเงินบำนาญ ขยายอายุผู้ประกันตนจาก 15-60 ปีเป็น 15-70 ปี
- เร่งออกกฎหมายคุ้มครอง ส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพแรงงานนอกระบบ
- จัดระบบกองทุนสวัสดิการเพื่อเลี้ยงชีพให้กับลูกจ้างรัฐวิสาหกิจให้เทียบเคียงกับระบบสวัสดิการภาคราชการ
- ให้แต่งตั้งคณะทำงานติดตามข้อเรียกร้อง
ขณะเดียวกันประเด็นการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำก็ยังเป็นที่จับตา เพราะในหลายประเทศได้ให้น้ำหนักและความสำคัญกับคนงาน เนื่องจากเป็นตัวชี้วัดการเติบโตของระบบเศรษฐกิจ
คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) พร้อม สมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ออกจดหมายเปิดผนึกถึงรัฐบาล และ พล.อ.ประยุทธ์ เรียกร้องให้เร่งรัดการพิจารณาปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำให้กับผู้ใช้แรงงานทั่วประเทศ ในอัตราเดียวกัน 492 บาท
หลังจากใช้ความพยายามในการผลักดันให้รัฐบาลปรับค่าจ้างขั้นต่ำ เพราะสถานการณ์เศรษฐกิจ อัตราเงินเฟ้อทั้งของไทย และทั่วโลกที่สูงขึ้นต่อเนื่อง ราคาสินค้า อาหารการกิน เครื่องมือ เครื่องใช้ ราคาน้ำมัน ก๊าซหุงต้ม ปรับราคาพุ่งสูงขึ้น
การเผชิญกับโควิด ทำให้คนงานจำนวนไม่น้อยตกงาน ว่างงาน ขาดรายได้ บางคนทำงานที่บ้าน (Work from home) ต้องแบกรับภาระจากค่าไฟฟ้า ค่าน้ำประปา ค่าโทรศัพท์ ค่าอินเตอร์เน็ต แทนผู้ประกอบการ สวนทางกับค่าจ้างไม่ได้มีการปรับมาเกือบ 3 ปีแล้ว
การปรับค่าจ้างขั้นต่ำในประเทศไทยเกิดขึ้นเมื่อ วันที่ 1 มกราคม 2563 แบ่งออกเป็น 10 ราคา ตามเขตพื้นที่ คือ 313, 315, 320, 323, 324, 325, 330, 331, 335 และ 336 บาท อ้างอิงตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้าง เรื่องอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ ฉบับ 10
ค่าแรงขั้นต่ำ 2565 แยกตามพื้นที่ 77 จังหวัด
- กรุงเทพมหานคร วันละ 331 บาท
- กระบี่ วันละ 325 บาท
- กาญจนบุรี วันละ 320 บาท
- กาฬสินธุ์ วันละ 323 บาท
- กำแพงเพชร วันละ 315 บาท
- ขอนแก่น วันละ 325 บาท
- จันทบุรี วันละ 323 บาท
- ฉะเชิงเทรา วันละ 330 บาท
- ชลบุรี วันละ 336 บาท
- ชัยนาท วันละ 320 บาท
- ชัยภูมิ วันละ 315 บาท
- ชุมพร วันละ 315 บาท
- เชียงราย วันละ 315 บาท
- เชียงใหม่ วันละ 325 บาท
- ตรัง วันละ 315 บาท
- ตราด วันละ 325 บาท
- ตาก วันละ 315 บาท
- นครนายก วันละ 323 บาท
- นครปฐม วันละ 331 บาท
- นครพนม วันละ 320 บาท
- นครราชสีมา วันละ 325 บาท
- นครศรีธรรมราช วันละ 315 บาท
- นครสวรรค์ วันละ 320 บาท
- นนทบุรี วันละ 331 บาท
- นราธิวาส วันละ 313 บาท
- น่าน วันละ 320 บาท
- บึงกาฬ วันละ 320 บาท
- บุรีรัมย์ วันละ 320 บาท
- ปทุมธานี วันละ 331 บาท
- ประจวบคีรีขันธ์ วันละ 320 บาท
- ปราจีนบุรี วันละ 324 บาท
- ปัตตานี วันละ 313 บาท
- พระนครศรีอยุธยา วันละ 325 บาท
- พังงา วันละ 325 บาท
- พัทลุง วันละ 320 บาท
- พิจิตร วันละ 315 บาท
- พิษณุโลก วันละ 320 บาท
- เพชรบุรี วันละ 320 บาท
- เพชรบูรณ์ วันละ 320 บาท
- แพร่ วันละ 315 บาท
- พะเยา วันละ 320 บาท
- ภูเก็ต วันละ 336 บาท
- มหาสารคาม วันละ 315 บาท
- มุกดาหาร วันละ 323 บาท
- แม่ฮ่องสอน วันละ 315 บาท
- ยะลา วันละ 313 บาท
- ยโสธร วันละ 320 บาท
- ร้อยเอ็ด วันละ 320 บาท
- ระนอง วันละ 315 บาท
- ระยอง วันละ 335 บาท
- ราชบุรี วันละ 315 บาท
- ลพบุรี วันละ 325 บาท
- ลำปาง วันละ 315 บาท
- ลำพูน วันละ 315 บาท
- เลย วันละ 320 บาท
- ศรีสะเกษ วันละ 315 บาท
- สกลนคร วันละ 323 บาท
- สงขลา วันละ 325 บาท
- สตูล วันละ 315 บาท
- สมุทรปราการ วันละ 331 บาท
- สมุทรสงคราม วันละ 323 บาท
- สมุทรสาคร วันละ 331 บาท
- สระแก้ว วันละ 320 บาท
- สระบุรี วันละ 325 บาท
- สิงห์บุรี วันละ 315 บาท
- สุโขทัย วันละ 315 บาท
- สุพรรณบุรี วันละ 325 บาท
- สุราษฎร์ธานี วันละ 325 บาท
- สุรินทร์ วันละ 320 บาท
- หนองคาย วันละ 325 บาท
- หนองบัวลำภู วันละ 315 บาท
- อ่างทอง วันละ 320 บาท
- อุดรธานี วันละ 320 บาท
- อุทัยธานี วันละ 315 บาท
- อุตรดิตถ์ วันละ 320 บาท
- อุบลราชธานี วันละ 325 บาท
- อำนาจเจริญ วันละ 315 บาท
ย้อนกลับไปก่อนหน้านี้ รัฐบาลโดยพรรคพลังประชารัฐ ได้แถลงนโยบายต่อสาธารณะว่า จะปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอย่างน้อยวันละ 425 บาท จนถึงปัจจุบันก็ยังไม่ดำเนินการตามที่ได้หาเสียงไว้ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) และสมาพันธ์แรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์ (สรส.) ได้เคยยื่นเสนอหลักการปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 360 บาท 421 บาท และ 700 บาท โดยปรับเท่ากันทั่วประเทศ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2552-2560
เหตุผลในการขอปรับเพิ่มนั้นมาจากการสำรวจความคิดเห็นจากผู้ใช้แรงงานในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ที่ความเดือดร้อนค่าจ้างไม่พอที่จะเลี้ยงตนเองและครอบครัว แม้กระทั่งลูกจ้างในภาครัฐที่รัฐเป็นผู้จ้างงานเองแต่กลับไม่ได้รับค่าจ้างขั้นต่ำตามที่รัฐประกาศโดยอ้างว่าลูกจ้างภาครัฐไม่อยู่ภายใต้กฎหมายคุ้มครองแรงงาน
ข้อมูลการสำรวจจากความเดือดร้อนของคนงานทุกภูมิภาคของประเทศ เมื่อเดือนกันยายน 2560
- ค่าใช้จ่ายรายวันๆ ละ 219.92 บาท เดือนละ 6,581.40 บาท (ค่าเดินทาง ค่าอาหาร)
- ค่าใช้จ่ายรายเดือน (เช่น ค่าน้ำประปา ไฟฟ้า ค่าเช่าบ้าน ผ่อนบ้าน ค่าโทรศัพท์ อินเตอร์เน็ต การศึกษาบุตร ดูแลบุพการี ค่าใช้จ่ายสิ่งของเครื่องใช้ในบ้าน) เดือนละ 14,771.52 บาท
- นำค่าใช้จ่ายรายวัน และ รายเดือน มารวมกันจะอยู่ที่ 21,352.92 บาท เป็นค่าจ้างที่พอเลี้ยงครอบครัวได้อยู่ที่วันละ 712 บาท
- แต่ คสรท. และ สรส. ได้ประชุมร่วมกันและมีมติเสนอตัวเลขในการปรับค่าจ้างเชิงประนีประนอมโดยคำนวณเฉพาะค่าใช้จ่ายรายเดือนมาเฉลี่ยด้วย 30 วัน