ค่าครองชีพแพง-เศรษฐกิจแย่ ดันหนี้ครัวเรือนพุ่ง2.18แสนบาทในรอบ14ปี

28 เม.ย. 2565 | 13:37 น.
อัปเดตล่าสุด :28 เม.ย. 2565 | 20:45 น.
573

ค่าครองชีพแพง-เศรษฐกิจแย่ ดันหนี้ครัวเรือนพุ่ง2.18แสนบาทค่อครัวเรือนสูงในรอบ14ปี  หอการค้า เผยเงินสะพัดวันแรงงานปีนี้ ลดลง 14.9% จากหนี้ครัวเรือนพุ่ง ค่าครองชีพสูง เศรษฐกิจไม่ดี แรงงานขอปรับค่าจ้างตามค่าครองชีพ

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ เปิดเผยถึงผลสำรวจสถานภาพแรงงานไทย กรณีศึกษาผู้มีรายได้ต่ำกว่า 15,000 บาทต่อเดือน จากกลุ่มตัวอย่างพบว่า แรงงานส่วนใหญ่ร้อยละ 99.0 มีหนี้ ส่งผลทำให้หนี้ครัวเรือนในปีนี้สูงขึ้นมาอยู่ที่ 2.18 แสนบาทต่อครัวเรือน เป็นยอดหนี้ที่สูงสุดในรอบ 14 ปี และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 90 ต่อ GDP

นายธนวรรธน์ พลวิชัย อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และประธานที่ปรึกษาศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ

โดยสาเหตุหลักเกิดจากรายได้ของแรงงานไม่พอกับรายจ่ายที่สูงขึ้นเนื่องจากค่าครองชีพและราคาสินค้าปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงมีหนี้เดิมทำให้ต้องมีการระมัดระวังการใช้จ่ายและมีการผิดนัดชำระหนี้มากขึ้น ส่งผลทำให้วันหยุดแรงงานปีนี้ ผู้ใช้แรงงานมีการปรับตัวลดค่าใช้จ่ายทำให้ยอดเงินสะพัดวันแรงงานปีนี้ลดลงร้อยละ 14.9 คิดเป็นมูลค่าเพียง 1,525 ล้านบาท

 

ค่าครองชีพแพง-เศรษฐกิจแย่  ดันหนี้ครัวเรือนพุ่ง2.18แสนบาทในรอบ14ปี

อย่างไรก็ตามผู้ใช้แรงงานต้องการให้รัฐบาลดูแลในเรื่องของการปรับค่าแรงขั้นต่ำให้เหมาะสมกับค่าครองชีพ ดูแลการว่างงาน รวมถึงการชำระหนี้ โดยในเวลานี้มองว่าค่าแรงขั้นต่ำน้อยเกินไปไม่เพียงพอกับค่าครองชีพที่ปรับตัวสูงขึ้นรวมถึงเศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวจึงควรปรับค่าแรงให้สอดคล้องกับค่าครองชีพ

 

ค่าครองชีพแพง-เศรษฐกิจแย่  ดันหนี้ครัวเรือนพุ่ง2.18แสนบาทในรอบ14ปี

แต่สำหรับมุมมองของนักวิชาการนั้น มองว่า การปรับขึ้นค่าแรงตามข้อเสนอ 492 บาทเป็นอัตราเดียวทั่วประเทศสูงเกินไป เพราะถือเป็นการปรับขึ้นในครั้งเดียวร้อยละ 10-20 ผู้ประกอบการโดยเฉพาะรายเล็กที่ประสบปัญหาขาดสภาพคล่องอยู่ในเวลานี้อาจไม่สามารถรับได้และอาจเลือกการปลดคนงานแทนการปรับขึ้นค่าแรง แนวทางที่ดีจึงควรปรับไปตามกลไกการพิจารณาของคณะกรรมการไตรภาคีในแต่ละจังหวัด