เอกชนอุดรธานีเสียงแข็งยันไม่เอาAOTบริหารสนามบินอุดรฯ

17 เม.ย. 2565 | 15:47 น.
อัปเดตล่าสุด :17 เม.ย. 2565 | 22:55 น.
725

ที่ประชุมกกร.อุดรธานีย้ำเสียงแข็ง ไม่เห็นด้วยโอนสนามบินอุดรธานีให้ AOT  บริหารเพียงลำพัง กระทบแผนพัฒนาทย.ที่จะสร้างเทอมินัล 3 ถูกตัดงบ ไม่ทันรับงานมหกรรมพืชสวนโลก 2569 เสนอรัฐบาลเปิดประมูลแข่งขัน พร้อมทั้งให้ทุกองค์กรที่เคยส่งหนังสือทักท้วงไปตามความคืบหน้า 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ช่วงก่อนหยุดยาวเทศกาลสงกรานต์ 2565 นี้ ที่ห้องประชุมพระยาศรีสุริยราชวรานุวัตร (โพธิ์ เนติโพธิ์) อาคาร 1 ชั้น 3 ศาลากลางจังหวัดอุดรธานี สภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี เป็นเจ้าภาพ การประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน(กกร.) จังหวัดอุดรธานี และหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี ชมรมนักธุรกิจไทย-เวียดนาม เข้าร่วมประชุมอย่างพร้อมเพรียง เพื่อประมวลข้อมูลเศรษฐกิจเสนอกรอ.จังหวัดและกลุ่มจังหวัด 

 

นอกจากนี้ยังได้หยิบยกกรณีกระทรวงคมนาคม มติโอนการบริหารท่าอากาศยาน ในสังกัดกรมท่าอากาศยาน  3 แห่ง คือ ท่าอากาศยานอุดรธานี ท่าอากาศยานกระบี่ และท่าอากาศยานบุรีรัมย์ ให้บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)  หรือ AOT เข้ามาดูแล ท่ามกลางความไม่เห็นด้วยของผู้ประกอบการในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี ต่อการโอนการบริหารสนามบินอุดรธานีดังกล่าว 

เอกชนอุดรธานีเสียงแข็งยันไม่เอาAOTบริหารสนามบินอุดรฯ

เอกชนอุดรธานีเสียงแข็งยันไม่เอาAOTบริหารสนามบินอุดรฯ

พ.ท.วรายุส์ ตรีวัฒนสุวรรณ  ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า ในพื้นที่มีการเคลื่อนไหวคัดค้านต่อเนื่อง ล่าสุดสภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี พร้อมด้วยเอกชน 32 องค์กร ได้ทำหนังสือลงวันที่ 20 กันยานยน 2564 ถึงนายกรัฐมนตรี เพื่อขอให้ชะลอการถ่ายโอนท่าอากาศยานอุดรธานี แต่เรื่องก็เงียบหาย ไม่มีการแจ้งกลับ 

 

นอกจากนี้ AOT ยืนยันฝ่ายเดียวว่า มีศักยภาพในการพัฒนาสนามบิน ที่ได้รับถ่ายโอนไปจากกรมท่าอากาศยาน (ทย.)  ให้มีศักยภาพในระดับสากล แต่ก็ไม่เห็นมีการพัฒนาสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก มีแต่เอาพื้นที่อาารผู้โดยสาร ไปให้ร้านค้าเช่าหารายได้  ไม่ได้มีการพัฒนาอะไรเท่าที่ควร สนามบินเชียงใหม่รับโอนมา 30 กว่าปี ก็ไม่ต่างจากตอนที่รับโอนมา ทั้งที่เป็นสนามบินเครือข่ายเชื่อมโลก (Secondary Hub Airport)

ส่วนท่าอากาศยานอุดรธานีนั้น มีศักยภาพการพัฒนาในตัวเอง จากจุดแข็งพื้นที่ตั้งมีปัจจัยเสริมรอบด้าน แม้ว่าจะเป็นสนามบินในระดับภูมิภาค แต่ก็มีเที่ยวบินที่มากที่สุดของภาคอีสาน มีผู้โดยสารใช้บริการก่อนการแพร่ระบาดของโควิค-19 ปีละกว่า 2 ล้านตน เป็นสนามบินระดับภูมิภาคในสังกัดทย.ที่ทำรายได้ จำนวนผู้โดยสารสูงสุด ทั้งที่ไม่มีเที่ยวบินระหว่างประเทศเลย หลายฝ่ายเลยเกิดข้อสงสัยว่า การโอนภารกิจให้ AOT มาบริหารนั้น น่าจะมีเบื้องหลัง        

 

นอกจากนี้ การถ่ายโอนให้ AOT บริหาร จะเสียหายกับการพัฒนาสนามบิน ตามแผนงานทย.ที่มีแผนและงบประมาณจะดำเนินการ อาทิ การก่อสร้างอาคารผู้โดยสาร หลังที่ 3 เพื่อจะให้ท่าอากาศยานอุดรธานีสามารถรองรับผู้โดยสารได้ปีละ 7.4 ล้านคน ในปี 2567 จากเดิมปีละ 3 .2 ล้านคน   ออกไปเป็นปี 2571 กระทบแผนการเป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมพืชสวนโลก อุดรธานี ปี 2569  ซึ่งเป็นงานมหกรรมระดับโลก ที่ทุกประเทศต่างก็แย่งขอเป็นเจ้าภาพจัด 

 

พ.ท.วรายุส์ฯกล่าวอีกว่า ปัจจุบันการบริหารและพัฒนาสนามบิน ไม่สามารถจะทำได้แต่เพียงฝ่ายเดียว  ทุกภาคส่วนในพื้นที่ไม่ว่าจะเป็นเมืองที่ตั้งสนามบิน ภาครัฐ ภาคเอกชน บริษัทการท่องเที่ยว ผู้ประกอบการธุรกิจการบริการ สายการบินต่าง ๆ  ต้องร่วมมือในการบริหาร เพื่อให้มีการเชื่อมโยงต่อเนื่องกัน ต้องนำการตลาดสมัยใหม่เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารสนามบิน จึงจะทำให้สนามบินมีศักยภาพ มีความเจริญก้าวหน้า ไปสู่ระดับสากลได้ 

 

จากปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับท่าอากาศยานอุดรธานี จึงได้มีการประสานกับทางมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี ให้เข้ามาทำการศึกษา หาข้อเท็จจริงที่น่าเชื่อถือได้ว่า การพัฒนาท่าอากาศยานอุดรธานี ควรที่จะมีทิศทางไปทางใด  เพื่อให้มีความพร้อมรองรับความเจริญเติบโตของเมือง และของท่าอากาศยานอุดรธานี ในอนาคตข้างหน้าในระยะยาว

 

ซึ่งที่ประชุม กกร.ครั้งนี้ ได้มีการแสดงความเห็นและข้อเสนอแนะ ไปยังกระทรวงคมนาคมและรัฐบาล ที่น่าที่จะเป็นทางออกที่ดี กับปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ โดยมีมติร่วมกันว่า  ไม่เห็นด้วยกับการจะถ่ายโอน ท่าอากาศยานอุดรธานี ไปให้ AOT เข้ามาดูแลและจัดการบริหารเพียงฝ่ายเดียว  เนื่องจาก AOT ไม่มีแผนงานโครงการการพัฒนาสนามบินที่มีความชัดเจน ให้ทุกฝ่ายที่เคยทำหนังสือคัดค้าน ไปติดตามข้อเรียกร้องว่ามีความคืบหน้าไปอย่างไร

 

พร้อมทั้งมีข้อเสนอแนะคือ ให้มีการเปิดประมูลแข่งขันเสรี หาหน่วยงานมาบริหารท่าอากาศยานอุดรธานี มิใช่ให้ AOT เพียงผู้เดียว เข้ามาใช้ประโยชน์จากสมบัติสาธารณะของชาติ ที่เกิดจากเงินภาษีของประชาชนคนไทย  เพื่อให้เกิดการแข่งขันและประโยชน์สูงสุด

 

นอกจากนี้ ที่ประชุมกกร.ครั้งนี้ มีมติร่วม ให้ทำหนังสือถึงการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ขอให้ทบทวนแก้ไขแบบแปลน  โครงการทางรถไฟทางคู่ช่วงที่ 2 ขอนแก่น-หนองคาย บริเวณสี่แยกบ้านจั่น ต.หนองขอนกว้าง อ.เมืองอุดรธานี ที่มีการออกแบบทางรถไฟทางคู่ในช่วงดังกล่าวอยู่ระดับบนพื้นดิน ขอให้มีการปรับปรุงแก้ไขเป็นแบบยกระดับ จากนอกเมืองผ่านเมืองอุดรธานีตลอด  เพื่อไม่ให้เกิดปัญหากับการเดินทางสัญจรของประชาชน และยานพาหนะ ในเส้นทางทางหลวง 216 และการขยายเมืองในอนาคตระยะยาว แม้ว่าจะทำให้โครงการเสียเวลาล่าช้าออกไปอีกสักระยะหนึ่งตาม