รับมือวิกฤตปุ๋ยแพง-ขาดแคลน "กยท." ปรับสูตรเพิ่มปุ๋ยอินทรีย์ลดใช้ปุ๋ยเคมี

28 มี.ค. 2565 | 14:39 น.
อัปเดตล่าสุด :28 มี.ค. 2565 | 21:56 น.

กยท.วางแผนรับมือวิกฤตปุ๋ยเคมีราคาแพงและขาดแคลน ปรับแนวการใช้ปุ๋ยในการปลูกแทนด้วยยางพันธุ์ดีใหม่ ลดปริมาณปุ๋ยเคมี เพิ่มการใช้ปุ๋ยอินทรีย์  โดยไม่กระทบต่อการเจริญเติบโตของต้นยาง  

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้สถานการณ์ราคาปุ๋ยเคมีมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดราคา มีดังนี้

  • แม่ปุ๋ยสูตร 46-0-0 ตันละ 26,000 บาท  
  • แม่ปุ๋ยสูตร 18-46-0 ตันละ 34,000 บาท
  • แม่ปุ๋ยสูตร 0-0-60 ตันละ 26,500 บาท  

 

ส่งผลทำให้ราคาปุ๋ยผสม สูตร 20-8-20 สำหรับเขตปลูกยางพาราเดิม และปุ๋ยผสมสูตร 20-10-12 สำหรับเขตปลูกยางใหม่ มีราคาเฉลี่ยเพิ่มขึ้นและขาดแคลน

นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย (กยท.)

จึงเป็นผลให้รายการจ่ายเงินค่าปุ๋ยบำรุงที่ กยท. จ่ายให้กับเกษตรกรไม่เพียงพอที่เกษตรกรผู้รับการปลูกแทนจะนำเงินไปซื้อปุ๋ย และออกใบเสร็จรับเงินหรือใบส่งของในปริมาณที่กำหนดตามหลักปฏิบัติการปลูกแทน ซึ่งอาจกระทบต่อการเจริญเติบโตของต้นยางและปริมาณผลผลิตในอนาคตได้

 

 อย่างไรก็ตามเพื่อลดผลกระทบจากปัญหาราคาปุ๋ยเคมีที่มีราคาแพง กยท.ได้เสนอแนวทางการบริหารจัดการปุ๋ยในปีรอบต้นฤดูฝนปี 2565 ใหม่ กยท.ดำเนินการจัดหาปุ๋ยให้เกษตรกรผู้รับการปลููกแทนด้วยยางพันธุ์ดี

รับมือวิกฤตปุ๋ยแพง-ขาดแคลน \"กยท.\" ปรับสูตรเพิ่มปุ๋ยอินทรีย์ลดใช้ปุ๋ยเคมี

ส่วนปัญหาปุ๋ยเคมีขาดแคลน แก้ไขโดยการปรับลดอัตราการใส่ปุ๋ยเคมีลงครึ่งหนึ่งเพื่อให้สามารถจัดหาปุ๋ยได้ง่ายขึ้นและเพียงพอกับความต้องการ  

 

โดยใช้ร่วมกับการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพได้มาตรฐานตามหลักวิชาการในอัตรา 2 กิโลกรัม/ต้น/ปี

 

จากเดิมที่ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในอัตรา 1 กิโลกรัม/ต้น/ปี  ซึ่งมีหลักฐานทางวิชาการยืนยันว่า จะไม่กระทบต่อการเจริญเติบโตของต้นยาง  

 

สำหรับปุ๋ยอินทรีย์ที่มีคุณภาพได้มาตรฐานที่จะต้องจัดหาเพิ่มขึ้นนั้น  สามารถจัดหาได้ง่ายภายในประเทศ มีปริมาณเพียงพอกับความต้องการอย่างแน่นอน

รับมือวิกฤตปุ๋ยแพง-ขาดแคลน \"กยท.\" ปรับสูตรเพิ่มปุ๋ยอินทรีย์ลดใช้ปุ๋ยเคมี

รับมือวิกฤตปุ๋ยแพง-ขาดแคลน \"กยท.\" ปรับสูตรเพิ่มปุ๋ยอินทรีย์ลดใช้ปุ๋ยเคมี

“กยท.จะเร่งประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้เกษตรกรที่รับการปลูกแทนด้วยยางพันธุ์ดีอย่างทั่วถึงในเรื่องวิธีการใส่ปุ๋ยและอัตราการแนะนำใหม่ ซึ่งจะช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรชาวสวนยาง  และช่วยลดผลกระทบจากวิกฤติการณ์ปุ๋ยเคมีที่มีราคาแพงและขาดแคลนได้อย่างมีประสิทธิภาพ  อีกทั้งยังสอดคล้องกับยุทธศาสตร์เกษตรอินทรีย์  และนโยบายการทำเกษตรอย่างยั่งยืนของรัฐบาลอีกด้วย”  ผู้ว่าการ กยท.กล่าวในตอนท้าย