ปมร้อน ยกเลิก “ข้าวสาลี 3:1 –ลดภาษีกากถั่วเหลือง” ส่อบานปลาย

11 มี.ค. 2565 | 17:41 น.
อัปเดตล่าสุด :12 มี.ค. 2565 | 17:03 น.

ชาวไร่มันสำปะหลัง-พ่อค้า ข้าวโพด ฮึ่ม ค้าน ยกเลิก “ข้าวสาลี 3:1 –ลดภาษีกากถั่วเหลือง” สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ โวย ข้าวโพด แพงเว่อ แนะ “พาณิชย์” เช็กสต๊อกพ่อค้า กักตุน ฟันกำไรบาน อธิบดีกรมปศุสัตว์ ยันหนุนให้ใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ภายในประเทศ

อุกกฤษ ฉัตรศรีสุวรรณ

 

นายอุกกฤษ ฉัตรศรีสุวรรณ  นายกสมาคมการค้า และผลิตพืชไร่เพชรบูรณ์ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ได้ทำหนังสือถึง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์   เนื่องจากจังหวัดเพชรบูรณ์เป็นจังหวัดที่มีเกษตรกรเพาะปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นจำนวนมากเป็นอันดับ 1 ของประเทศไทย ทั้งในช่วงเวลาฤดูฝนและในฤดูข้าวโพดหลังนา ทำให้มีผลผลิตอกสูตลาดอย่างต่อเนื่องในช่วงเดือนสิงหาคมพฤษภาคมของทุกปี เพื่อให้ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนาที่กำลังจะเก็บเกี่ยว และข้าวโพดฝนที่จะเพาะปลูกสอดคล้องกับตันทุนใหม่ที่เพิ่มขึ้นชองเกษตรกร โดยเฉพาะราคาปัยสำหรับฤดูกาลหลังนาปรับขึ้นมา 1 เท่าตัว ทางสมาคมพืชไร่เพชรบูรณ์มี

 

ข้อเรียกร้อง ดังนี้

 

1. ขอให้คงมาตรการกำกับดูแลข้าวสาลีซึ่งเป็นสินค้าควบคุมการนำเข้าในอัตรา 3:1 ขอให้คงอัตราภาษีและโควต้าการนำเข้าข้าวโพดโดยให้อยู่ในกรอบของ WTO, AFTA ตามกรอบระยะเวลาเดิม ขอให้คงภาษีนำเข้าวัตถุดิบทตแทนอื่นๆ เช่น ข้าวบาร์เล่ กากถั่วเหลือง DDGS เป็นต้น

 

ทางสมาคมพืชไร่เพชรบูรณ์ กรงว่า ถ้ารัฐบาลมีการผ่อนปรนตามข้อเรียกร้องของสมาคมอาหารสัตว์ จะส่งผลระยะสั้น กลาง และ ยาวต่อเกษตรกรไทย ทำให้ไม่สามารถขายผลผลิตได้ในราคาที่เหมาะสมกับต้นทุนการผลิตในปัจจุบัน เพราะราคาน้ำมัน ปัยเคมี และเคมีภัณฑ์ที่ใช้ในการเทาะปลูกมีราคาสูงขึ้น 20-100% นอกจากนี้ การผ่อนปรนอาจทำให้รัฐต้องเสียงบประมาณในการประกันราคาข้าวโพดอย่างไม่รู้จักจบสิ้นอีกด้วย

 

เกษตรกรไทยสามารถผลิตได้ทั้งข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง และข้าว ผลผลิตเหล่านี้สามารถนำมาใช้ทดแทนในการผลิตอาหารสัตว์ได้ และในช่วงเวลาปัจจุบันประเทศไทยสามารถนำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์จากประเทศเพื่อนบ้านโดยไม่เสียภาษีตามชัอตกลงของ AFTA ได้จนถึง 31 สิงหาคม 256 และหลังจากนั้นผลผลิตของเกษตรกรในประเทศก็ออกสูตลาดต่อเนื่องกัน

 

รังสี ไผ่สอาด

 

เช่นเดียวกับ นาย รังสี  ไผ่สอาด นายกสมาคมชาวไร่มันสำปะหลังแห่งประเทศไทย  เรื่อง ขอประท้วงอธิบดีกรมปสุสัตว์และขอให้ยกเลิกอนุญาตให้นำเข้า เข้าสาลี กากถั่วเหลืองข้าวโพด อย่างเสรีและขกเลิกการเก็บภาษีภายใต้กรอบ WTO,AF'T อีกด้วย ตามที่ท่านอธิบคีกรมปศุสัตว์ ได้ไฟเขียว ยกเลิกนำเข้าข้าวสาลี 3 :  ยกเลิกภาษีนำเข้ากากถั่วเหลือง และพ่วงให้นำเข้าข้าวโพดภายใต้กรอบ WTO,AFแถมยกเลิกโดวตาภาษีและค่าธรรมเนียม ในปริมาณที่ไม่จำกัด และไม่มีกำหนดกรอบเวลาอีกด้วยนั้น

 

โคยอ้างเพียงว่าวัตถุดิบอาหารสัตว์ขาคแดลน และมีต้นทุนเพิ่ม 25-30% นั้นไม่เป็นจริงเป็นเหตุที่ฟังไม่ขึ้นเลย การกระทำของท่านไม่ได้ดำนึงถึงผลกระทบต่อพืชผลการเกษตรที่ผลิตภายในประเทศสำหรับใช้ในอุสาหกรรมอาหารสัตว์ คือมันสำปะหลัง และข้าวโพดในประเทศ จะมีราคาตกต่ำลงมากและทำให้รัฐเสียหายด้นงบประมาณอีกจำนวนมากที่ต้องมาชดเชยให้เกษตรกรปีละหลายหมื่นล้นบาท และทำให้เกษตรกรที่มีอาชีพปลูกมันสำปะหลัง และข้าวโพดอาหารสัตว์ ได้รับผลกระทบราคาตกต่ำลงจนขาดทุนเป็นหนี้เป็นสินมากมาย เป็นการทำลายวงจรเศรษฐกิจภายในประเทศอย่างมาก และการใช้อำนาจหน้าที่ของท่านอาจขัดต่อนโยบายกาครัฐและอาจจะผิดกฎหมายอีกด้วย

 

ดังนั้นสมาคมชาวไร่มันสำปะหลังแห่งประเทศไทยจึงขอประท้วงการทำหน้าที่ของท่านอธิบดีฯและดณะกรรมการทุกท่านที่เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ทั้งหมด และสงสัยอย่างมากที่ท่นทำไมไม่เสนอดณะกรรมการนโยบาย(นบมส.) ก่อนที่จะอนุญาต อาจเพราะมีผลประโยชน์แอบซ่อนอยู่ด้วยหรือไม่ 

 


โดยทาง สมาคมชาวไร่มันสำปะหลังแห่งประเทศไทย จะขอยื่นเรื่องต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงพาณิชย์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดให้ตรวจสอบต่อไป และขอยื่นข้อเสนอให้กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการดังต่อไปนี้ คือ

 

มันสำปะหลัง

 

1. ขอให้ยกเลิกคำสั่งและมติที่ประชุม ที่อนุญาตให้ นำเข้าข้าวสาลีในสัดส่วน 3:1  ,ยกเลิกนำเข้ากากถั่วเหลืองและข้าวโพดภายใต้กรอบ WTO,AFT A ยกเลิกโควตา ภาษี และค่าธรรมเนียม ให้ใช้ตามข้อกำหนดเดิมไปก่อนจนกว่าจะมีข้อยุติ

 

2.ขอให้กรมปศุสัตว์ได้เสนอเรื่องเข้าที่ประชุมคณะกรรมการน โยบายบริหารจัดการมันสำปะหลัง (นบมส.) พิจารณาให้ก่อนคำเนินใดๆต่อไปได้

 

3. ขอให้การประชุมขอกรมปศุสัตว์ ต้องมีตัวแทนภาคเกษตรกรที่ปลูกพืซอาหารสัตว์ทุกชนิด (สมาคมชาวไร่มันสำปะหลังแห่งประเทศไทย สมาคมชาวไร่ข้าวโพค สภาเกษตรกรแห่งชาติ) ที่มีส่วนได้เสียต้องได้มีส่วนร่วมเป็นคณะกรรมการพิจารณาด้วยจึงจะเกิดความเป็นธรรมและโปร่งใส

 

4. การอนุญาตหรือการยกเลิกภาษีนำเข้า ถือเป็นกฎหมายสำคัญระดับประเทศ ส่งผลกระทบหลายด้านสมควรที่จะต้องเสนอให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างพิจารณาก่อนจะประกาศใช้ละสมควรเสนอให้ครม. พิจารณาก่อนประกาศใช้คังนั้นสมาคมชาวไร่มันสำปะหลังแห่งประเทศไทย จึงขอทำหนังสือประท้วงท่านอธิบดีในครั้งนี้

 

 เพื่อได้พิจารณายกเลิกมติ และคำสั่งใดๆตามมติที่ประชุมไปก่อน จนกว่าจะได้มีข้อสรุปจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและมีข้อสรุปที่ยอมรับของทุกฝ่ายที่ได้ผลกระทบเป็นอย่างถูกต้องเสียก่อน และขออนุญาต สำเนาหนังสือฉบับนี้ส่งถึงรัฐมนตรีฯ หน่วยงานต่างๆต่อไปด้วยให้ได้ทราบ หากกรมปศุสัตว์ไม่รับพิจารณา สมาคมชาวไร่มันสำปะหลังและเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดจะใช้สิทธิเคลื่อนไหวต่อไปทันที

 

พรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล

 

ล่าสุด นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย   ส่งหนังสือ ด่วนที่สุด ลง วันที่ 11 มีนาคม 2565 เรื่อง พิจารณาตรวจสอบปริมาณสต๊อกข้าวโพดเยงสัตว์ของพ่อค้าคนกลาง  ถึง ปลัดกระทรวงพาณิชย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และ  ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี  ด้วย สถานการณ์ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในปัจจุบันปรับตัวสูงขึ้นกว่า 30% จากปี 2564 ซึ่งมีราคาอยู่ที่ 10.05 บาท /กก. เป็น 13 บาท/กก.

 

ส่วนหนึ่งจะได้รับอิทธิพลจากสถานการณ์วัตถุดิบโลก แต่มีข้อสังเกตว่าพฤติกรรมการซื้อขายข้าวโพดไม่เป็นปกติ โดยสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ได้รับแจ้งจากสมาชิกว่าไม่สามารถหาซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ได้ และมีการเรียกราคาเพิ่มเติมจากราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ประกาศรับซื้อ ซึ่งถือว่าเข้าข่ายกักตุนสินค้า

 

หนังสือ ด่วนที่สุด

 

ในการนี้ สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย จึงขอเรียนมายังท่านเพื่อพิจารณาตรวจสอบปริมาณสินค้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของพ่อค้าคนกลางว่ามีความเคลื่อนไหวหรือไม่อย่างไร เพื่อป้องกันการกักตุนสินค้าซึ่งถือเป็นการฉวยโอกาสทำกำไรในสภาวะการณ์ที่ราคาวัตถุดิบสูง หากมีการกระทำตังกล่าวจริง ถือว่าเป็นการช้ำเติมให้ภาคธุรกิจอาหารสัตว์และปศุสัตว์ไทยได้รับผลกระทบมากยิ่งขึ้น

 

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต

ปิดท้ายนายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลด้านคุณภาพและมาตรฐานอาหารสัตว์ ได้มีความเห็นและมีข้อกังวลเกี่ยวกับเรื่องความมั่นคงทางอาหาร และผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าปศุสัตว์ที่มีมูลค่าสูงมากกว่า 2 แสนล้านบาทต่อปี จากสถานการณ์การขาดแคลนและราคาที่สูงขึ้นของวัตถุดิบอาหารสัตว์ ซึ่งมีผลกระทบทั้งห่วงโซ่การผลิต

 

ตั้งแต่เกษตรกร ผู้ประกอบการด้านอาหารสัตว์  ผู้เลี้ยงสัตว์ และผู้บริโภค เนื่องจากอาหารสัตว์เป็นปัจจัยสำคัญในภาคปศุสัตว์ จึงจำเป็นต้องมีแนวทางที่รองรับสถานการณ์ดังกล่าว  ดังนั้นต้องมีมาตรการในการหาแหล่งวัตถุดิบทดแทนซึ่งมีแหล่งที่มาจากทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

 

ในส่วนของข้อเสนอของผู้ประกอบการอาหารสัตว์ที่ให้มีการยกเลิกเงื่อนไขการนำเข้าข้าวสาลี การเปิดให้นำเข้าข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ภายใต้กรอบ WTO, AFTA ยกเลิกโควตา ภาษีและค่าธรรมเนียม นั้น เป็นอำนาจในการพิจารณาของกระทรวงพาณิชย์โดยตรง โดยกรมปศุสัตว์เป็นหน่วยงานที่กำกับดูแลด้านคุณภาพและมาตรฐานของอาหารสัตว์ ภายใต้พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558

 

อย่างไรก็ตาม กรมปศุสัตว์ ได้พัฒนาและแนะนำสูตรอาหารสัตว์ที่มีวัตถุดิบที่ผลิตได้ในประเทศไทยเป็นทางเลือกเพื่อทดแทนการนำเข้าอยู่แล้ว เช่น มันสำปะหลัง (มันเส้น กากมัน) ข้าว (ปลายข้าว ข้าวกล้อง ข้าวกระเทาะเปลือก) ข้าวโพด รำข้าว กากปาล์ม  เป็นต้น

 

อย่างไรก็ตาม วัตถุดิบบางชนิดมีข้อจำกัดในการใช้ผลิตอาหารสัตว์ หากใช้ปริมาณที่ไม่เหมาะสมในสูตรอาหารสัตว์ อาจเกิดผลเสียต่อสุขภาพสัตว์ ผลผลิต หรือคุณภาพของผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ได้ ทั้งนี้ สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://nutrition.dld.go.th กรมปศุสัตว์ยืนยัน สนับสนุนให้มีการใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ภายในประเทศ