ความเคลื่อนไหวโครงการ “รถไฟฟ้าสายสีส้ม” ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) โครงการระดับแสนล้านของรัฐบาล ที่การรรถไฟขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย หรือ รฟม.ทุบโต๊ะล้มประมูล
จนทำให้บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ยื่นฟ้องผู้บริหาร รฟม. และคณะกรรมการคัดเลือกตามมาตรา 36 แห่งพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 ในประเด็น “ยกเลิกประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม” ช่วงบางขุนนนท์-มีนบุรี (สุวินทวงศ์) ในวงเงินกว่า 128,128 ล้านบาท โดยกรณีดังกล่าวไม่ได้ดำเนินการตามอำนาจทางกฎหมายที่ถูกต้อง
ล่าสุด 9 กุมภาพันธ์ 2565 ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาในคดีการเปลี่ยนหลักเกณฑ์การประมูล รถไฟฟ้าสายสีส้ม สรุปสาระสำำคัญ ดังนี้
1. ศาลเห็นว่าหลักเกณฑ์การคัดเลือกเดิมได้กำหนดหลักเกณฑ์การตัดสินในแต่ละด้านไว้แล้ว ในส่วนเกณฑ์ด้านเทคนิค ก็เป็นเกณฑ์ขั้นสูงแล้วที่กำหนดให้ต้องผ่านแต่ละด้าน 80 คะแนนและคะแนนรวมไม่ต่ำกว่า 85 ของทั้งหมด เพื่อให้ได้ผลงานที่คุณภาพสูง ส่วนด้านราคา รัฐต้องได้ประโยชน์สูงสุด เป็นไปตามกฎหมายและตามมติคณะรัฐมนตรี ดังนั้น การกำหนดหลักเกณฑ์การคัดเลือกเดิมของ รฟม จึงชอบแล้ว
2. ตามมาตรา 38 แห่ง พรบ.ร่วมลงทุนฯ ไม่ได้ให้อำนาจคณะกรรมการคัดเลือกในการแก้ไขหลักเกณฑ์ ในส่วนที่คณะกรรมการและ รฟม อ้างว่ามีอำนาจอื่นๆ ในการแก้ไขหลักเกณฑ์นั้น ตามมาตรา 38(7) เป็นอำนาจเพื่อดำเนินการอื่นๆ ที่ไม่ใช่ส่วนที่เป็นสาระสำคัญ หรือเป็นอำนาจเกี่ยวกับการปฏิบัติตามพรบ.ร่วมลงทุนฯ โดยแท้เท่านั้น คณะกรรมการจึงไม่อาจอ้างอำนาจตามมาตรานี้แก้ไขหลักเกณฑ์ได้
3. ส่วนอำนาจตามประกาศคณะกรรมการนโยบายฯ ข้อ 4(9) และข้อ 17.1 ที่อ้างว่าให้คณะกรรมการคัดเลือกและรฟม สามารถแก้ไขหลักเกณฑ์ได้นั้น เห็นว่า การแก้ไขหลักเกณฑ์ใน RFP แม้ทำได้ แต่ก็ต้องไม่เกินขอบอำนาจตามประกาศดังกล่าว และการแก้ไขเป็นส่วนสาระสำคัญซึ่งมีผลต่องบประมาณแผ่นดิน จึงต้องดำเนินการเหมือนกับการกำหนดหลักเกณฑ์ฉบับแรก คือ ต้องมีการรับฟังความคิดเห็นจากเอกชนที่เกี่ยวข้อง
4. นอกจากนี้ คณะกรรมการคัดเลือกและ รฟม ใช้เวลาเพียง 9 วันนับจากวันที่ได้รับหนังสือจากอิตาเลียนไทยในการแก้ไขหลักเกณฑ์การคัดเลือก และไม่ได้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของเอกชนก่อนจะแก้ไขหลักเกณฑ์แต่อย่างใด จึงเป็นการดำเนินการโดยไม่ถูกต้องตามรูปแบบขั้นตอน จึงเห็นว่า การแก้ไขหลักเกณฑ์การคัดเลือกเป็นเกณฑ์ price performance เป็นคำสั่งทางปกครองทั่วไปที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
5. ในส่วนประเด็นว่า คณะกรรมการคัดเลือกและ รฟม กระทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี หรือไม่นั้น ตามมาตรา 420 บัญญัติความเสียหายต้องเป็นผลโดยตรงจากการกระทำละเมิด ซึ่งต้องเป็นค่าใช่จ่ายในการบริหารจัดการ การเตรียมการหรือการยื่นข้อเสนอ แต่ความเสียหายตามคำฟ้องเป็นค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการว่าจ้างที่ปรึกษา ซึ่งเป็นการดำเนินการค้าตามปกติของบริษัท และผู้ฟ้องคดีไม่ได้แสดงว่าเกิดจากที่คณะกรรมการและ รฟม. แก้ไขหลักเกณฑ์อย่างไร อีกทั้ง การแก้ไขหลักเกณฑ์ก็ไม่ใช่ผลโดยตรงที่ทำให้ผู้ฟ้องคดีได้รับความเสียหาย ดังนั้น การอ้างว่าการแก้ไขหลักเกณฑ์ทำให้ต้องว่าจ้างที่ปรึกษาจึงไม่อาจรับฟังได้ เพราะไม่ใช่ความเสียหายโดยตรง จึงถือไม่ได้ว่าเป็นการทำละเมิดต่อผู้ฟ้องคดี ไม่อาจพิพากษากำหนดค่าเสียหายให้แก่ผู้ฟ้องคดีได้
ผลแห่งคดีที่ชี้ว่า รฟม.และคณะกรรมการคัดเลือกตามม. 36 ใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบในการปรับเปลี่ยนเกณฑ์ประมูลไม่ชอบด้วยกฎหมาย อาจจะส่งผลต่อคดีอาญาที่อยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลอาญาคดีทุจริตและประพฤติมิชอบกลางฐานความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 มาตรา 165 และ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2561 มาตรา 172 ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างพิจารณาคดีตามมา
สำหรับรายชื่อคณะกรรมการมาตรา 36 ประกอบด้วย