โควิด-19 ไม่กระทบยอดขายอัญมณี GIT ชี้กำลังซื้อยังมี แม้เป็นสินค้าฟุ่มเฟือย

20 ม.ค. 2565 | 15:27 น.
อัปเดตล่าสุด :20 ม.ค. 2565 | 22:34 น.

โควิดไม่กระทบยอดซื้ออัญมณีฯ GITชี้ กำลังยังมีต่อเนื่อง แม้จะเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย เตือนผู้ประกอบการห้ามเอาเปรียบแรงงานหวั่นกระทบธุรกิจ พร้อมเตรียมจัดประชุมวิชาการด้านอัญมณีและเครื่องประดับ ครั้งที่ 7 วันที่ 2-3 ก.พ. นี้

นายสุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับ (GIT)  เปิดเผยว่า อัญมณีและเครื่องประดับของไทยเป็นสินค้าส่งออกสำคัญ สร้างมูลค่าการดับต้นๆ ของประทศมาเป็นเวลานานโดยตัวเลขการส่งออกรวมทองคำในรอบ 11 เดือน ม.ค.-พ.ย.2564  มีมูลค่าสูงถึง 9,215.67 ล้านดอลลาร์สหรัฐและมีสัญญาณเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในหลายประเทศ

 

โดยปีนี้จะประเมินมูลค่าการส่งออกร่วมกับภาคเอกชนอีกครั้งว่าจะตั้งเป้าหมายเท่าไหร่แต่มั่นใจว่าจะเป็นบวกต่อเนื่อง แม้โควิด-19 จะยังมีการระบาดอยู่แต่ก็ไม่กระทบกับการซื้อขายเห็นได้จากการประมูลซื้อขายพลอยที่ผ่านมาพบว่าราคาปรับเพิ่มขี้นถึง 20-30% รวมทั้งการร่วมงานของผู้ประกอบการในกิจกรรมต่าง ๆที่มียอดซื้อขายทั้งออฟไลน์และออนไลน์ตามเป้า

 

สุเมธ ประสงค์พงษ์ชัย ผู้อำนวยการ GIT

อย่างไรก็ตามสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องปรับตัวให้เข้ากับเทรนด์ของโลกคือ ความเติบโตอย่างยั่งยืน (SustainableDevelopment Goals : SDGs) ขององค์การสหประชาชาติ ที่กำหนดให้การดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม การศึกษาระบบสำแดงและการติดตามแหล่งที่มาของพลอยสี ซึ่งหากไม่ให้ความสำคัญอาจมีการนำไปเป็นประเด็นทางการค้าได้หากตรวจพบการเอาเปรียบแรงงาน หรือใช้แรงงานอย่างไม่เป็นธรรม

โควิด-19 ไม่กระทบยอดขายอัญมณี  GIT ชี้กำลังซื้อยังมี แม้เป็นสินค้าฟุ่มเฟือย

 

ดังนั้น เพื่อเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ของอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับไทการเดินหน้าสร้างความเชื่อมั่นในการเป็นศูนย์กลางการค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลกGIT จึงเตรียมจัดการประชุมวิชาการนานาชาติด้านอัญมณีและเครื่องประดับ ครั้งที่ 7 (The 7th InternationalGem & Jewelry Conference" (GIT 2021) ขึ้น ระหว่างวันที่ 2-3 ก.พ.  2565 ภายใต้แนวคิด "Towards the Sustainable Gem Industry" ซึ่งจะเป็นเวทีการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ ทั้งด้านการตรวจสอบ การออกแบบ และการตลาด ซึ่งขณะนี้มีผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิจัย ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับจากทั่วโลกกว่า 150 ราย ได้ตอบรับเข้าร่วมประชุม