ประกันรายได้มันสำปะหลัง  "พาณิชย์" เคาะไม่จ่ายส่วนต่างงวดแรก หลังราคาพุ่ง

01 ธ.ค. 2564 | 11:28 น.
อัปเดตล่าสุด :01 ธ.ค. 2564 | 18:37 น.
625

ประกันรายได้มันสำปะหลัง   “พาณิชย์”เคาะไม่จ่ายส่วนต่างงวดแรก หลังราคาพุ่ง เกินเพดานประกันรายได้เฉลี่ยอยู่ที่กิโลละ 2.63 บาท

นายวัฒนศักย์ เสือเอี่ยม อธิบดีกรมการค้าภายใน ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 29 พ.ย.2564 ที่ผ่านมา ได้เห็นชอบการกำหนดราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงและการชดเชยส่วนต่างราคาให้กับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง ปี 2564/65 งวดที่ 1

ประกันรายได้มันสำปะหลัง   \"พาณิชย์\" เคาะไม่จ่ายส่วนต่างงวดแรก หลังราคาพุ่ง

สำหรับเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังกับกรมส่งเสริมการเกษตรและระบุวันเพาะปลูกตั้งแต่วันที่ 1 ต.ค.2563 โดยระบุวันจะเก็บเกี่ยวก่อนวันที่ 1 ธ.ค.2564 และมีระยะเวลาเก็บเกี่ยวนับจากวันที่เพาะปลูกไม่น้อยกว่า 8 เดือน แต่ไม่เกิน 12 เดือน

ประกันรายได้มันสำปะหลัง   \"พาณิชย์\" เคาะไม่จ่ายส่วนต่างงวดแรก หลังราคาพุ่ง

โดยราคาตลาดหัวมันสำปะหลังสดเชื้อแป้ง 25% เฉลี่ยอยู่ที่กิโลกรัม (กก.) ละ 2.63 บาท ไม่ต้องจ่ายชดเชยให้กับเกษตรกร เพราะราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงในครั้งนี้สูงกว่าราคาเป้าหมายที่กำหนดไว้ที่กก.ละ 2.50 บาท

ประกันรายได้มันสำปะหลัง   \"พาณิชย์\" เคาะไม่จ่ายส่วนต่างงวดแรก หลังราคาพุ่ง

สำหรับราคาตลาดเพื่อใช้ในการคำนวณส่วนต่าง ได้นำราคาที่ซื้อขายจริงในตลาดจาก 5 แหล่งผลิต ได้แก่ ราคาที่กรมการค้าภายในได้รับรายงานจากสำนักงานพาณิชย์จังหวัดเฉลี่ยย้อนหลัง 30 วัน ในแหล่งผลิตสำคัญ 14 จังหวัด ได้แก่ นครราชสีมา กำแพงเพชร ชัยภูมิ กาญจนบุรี อุบลราชธานี นครสวรรค์ อุดรธานี ลพบุรี สระแก้ว เลย บุรีรัมย์ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น และเพชรบูรณ์ ,ราคาสมาคมชาวไร่มันสำปะหลังแห่งประเทศไทย จาก 14 จังหวัด , ราคาสมาคมแป้งมันสำปะหลังไทย ใน 10 เขตพื้นที่จำนวน 29 จังหวัด , ราคาสมาคมโรงงานผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังไทย ครอบคลุมในพื้นที่ภาคตะวันออก และราคาสมาคมโรงงานผู้ผลิตมันสำปะหลังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยนำมาถ่วงน้ำหนักในอัตรา 25% , 25% , 25% , 10% และ 15% ตามลำดับ

ประกันรายได้มันสำปะหลัง   \"พาณิชย์\" เคาะไม่จ่ายส่วนต่างงวดแรก หลังราคาพุ่ง
         
ทั้งนี้ การจ่ายเงินส่วนต่างจะจ่ายทุกวันที่ 1 ของเดือน เป็นเวลา 12 เดือน โดยเริ่มจ่ายงวดแรกวันที่ 1 ธ.ค.2564 จนงวดสุดท้ายวันที่ 1 พ.ย.2565 ซึ่งธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จะจ่ายเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรง โดยเกษตรกร 1 ครัวเรือน จะใช้สิทธิได้ 1 ครั้งโดยการคำนวณผลผลิตที่จะได้รับการชดเชย จะใช้ปริมาณผลผลิตต่อไร่ย้อนหลัง 3 ปี (ปี 2561/62 ปี 2562/63 และปี 2563/64) ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เท่ากับ 3,388 กก./ไร่ คูณด้วยจำนวนไร่ตามที่ได้ขึ้นทะเบียนเกษตรกรไว้ แต่ไม่เกินครัวเรือนละ 100 ตัน