วู้ดเวอร์คฯ ลุยปลูกป่า 2,000 ไร่ ขายคาร์บอนเครดิต

26 พ.ย. 2564 | 11:41 น.
อัปเดตล่าสุด :26 พ.ย. 2564 | 19:04 น.
962

“วู้ดเวอร์ค”ยักษ์โรงเลื่อยไม้ยางตรัง ต่อยอดแตกไลน์สู่ 8 กลุ่มธุรกิจ ทั้งนวัตกรรมไม้ยางก่อสร้าง โรงไฟฟ้าชีวมวล ฟาร์มเกษตร ลุยปลูกป่า 2,000 ไร่ รับเทรนด์ใหม่ค้าคาร์บอนเครดิต ขยับสู่ธุรกิจบริการ ทั้งกิจการโรงคั่ว-ร้านกาแฟ โรงแรมที่พัก ลั่นอีก 2 ปีเข้าตลาดหลักทรัพย์

นายวิถี สุพิทักษ์ ประธานกรรมการกลุ่มบริษัท วู้ดเวอร์ค จำกัด เปิดเผย"ฐานเศรษฐกิจ” ว่า กลุ่มวู้ดเวอร์ค เริ่มต้นจากธุรกิจโรงเลื่อยแปรรูปไม้ยางพาราเป็นรายแรก ๆ ก่อนขยายไปหลายที่ในภาคใต้ รวม 9 โรงงาน ใน 5 จังหวัด คือ ตรัง กระบี่ สงขลา สตูล และนครศรีธรรมราช

 

เพื่อเพิ่มมูลค่าไม้ยางพาราจึงเกิดธุรกิจที่ 2 คือแปรรูปจากเดิมธรรมชาติยางพาราเป็นไม้เนื้ออ่อน ผุง่าย จึงต้องนำมาแปรรูปผ่านกรรมวิธีอบน้ำยาและขั้นตอนทางเคมี จนสามารถนำมาใช้งานอาคารทั้งหลัง โดยได้สร้างร้านกาแฟ“ออคเคอร์” เนื้อที่ขนาด 1,000 ตารางเมตร ใช้ไม้ยางพาราผ่านกรรมวิธีมาก่อสร้างทั้งภายในและภายนอก

นายวิถี สุพิทักษ์ ประธานกรรมการกลุ่มบริษัท วู้ดเวอร์ค จำกัด

วู้ดเวอร์คฯ ลุยปลูกป่า 2,000 ไร่ ขายคาร์บอนเครดิต

“เรายังได้จับมือเป็นหุ้นส่วนกับนักลงทุนญี่ปุ่น ตั้งบริษัท วู้ดเวอร์ค ไทโตะ ขึ้น เพื่อผลิตชิ้นส่วนเฟอร์นิเจอร์ทุกชนิดจากไม้ยางพารา เพือส่งขายไปยังประเทศญี่ปุ่น เป็นธุรกิจที่ 3”
    

นายวิถีเล่าว่า ธุรกิจที่ 4 คือการลงทุนด้านพลังงาน โดยจับมือกับบริษัท TPCH สร้างโรงไฟฟ้าชีวมวล โดยใช้เศษไม้ยาง ขี้เลื่อย เป็นเชื้อเพลิง ขายให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (PEA) จำนวน 2 โรง กำลังผลิตโรงละ 10 เมกกะวัตต์ ตั้งอยู่ที่ อ.ป่าบอน จ.พัทลุง และ อ.ควนกาหลง จ.สตูล

วู้ดเวอร์คฯ ลุยปลูกป่า 2,000 ไร่ ขายคาร์บอนเครดิต

วู้ดเวอร์คฯ ลุยปลูกป่า 2,000 ไร่ ขายคาร์บอนเครดิต

ขี้เลื่อยอีกส่วนนำมาผลิตก้อนเชื้อเห็ด เพื่อนำไปเพาะเลี้ยงเห็ดในโรงเรือนเก็บดอกเห็ดส่งขาย และแปรรูป ควบคู่ไปกับการปลูกผักออกานิค กลายเป็นธุรกิจเกษตร ซึ่งเป็นกลุ่มที่ 5

 

นอกจากโรงเลื่อยไม้ยางในภาคใต้แล้ว กลุ่มวู้ดเวอร์คฯมีที่ 1,750 ไร่ ที่อ.แม่จัน จ.เชียงราย ในชื่อ“ไร่วิถีแม่จัน” เป็นกลุ่มธุรกิจที่ 5 ซึ่งมิใช่เป็นเพียงสวนยางเท่านั้น แต่ด้วยความตั้งใจคืนกำไรสู่สังคม โดยปลูกป่าธรรมชาติไว้ให้มนุษย์ได้อาบป่า จึงนำพันธุ์ไม้พื้นถิ่นภาคเหนือมารวมปลูกไว้ที่นี่ และกาแฟอีก 30 ไร่ นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมอื่น ๆ อาทิ ขายพืชผักปลอดสารพิษ ที่พักแรม สถานที่ออกกำลังกายโดยการปั่นจักรยาน
  

“เราตั้งเป้าจะปลูกป่า 100,000 ต้น ใน 5 ปี เวลานี้ผ่านมา 3 ปีปลูกไปได้แล้ว 65,000 ต้น และจะเปิดให้เข้าเที่ยวไร่ได้ตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค. 2564 นี้ รับนักท่องเที่ยว”
   วู้ดเวอร์คฯ ลุยปลูกป่า 2,000 ไร่ ขายคาร์บอนเครดิต  

แรงบันดาลใจจากเชียงรายคืนถิ่นตรัง ประธานกรรมการกลุ่มวู้ดเวอร์คฯกล่าวอีกว่า กลุ่มที่ 6 คือ การปลูกป่าธรรมชาติบนที่ดิน 120 ไร่ บนภูเขาบ้านท่ามะปราง อ.ห้วยยอด จ.ตรัง จากพันธุ์ไม้พื้นถิ่นภาคใต้ทั้งหมด
    

“พื้นที่ตรงนี้เป็นเนินเขา มองเห็นวิวพระอาทิตย์ขึ้นและลับขอบฟ้า ที่สวยงามที่สุดแห่งหนึ่งของไทย อีก 2 ปีจะเห็นป่าที่นี่ จะมีร้านอาหาร ร้านกาแฟ ที่พักแรมบนภูเขาแห่งนี้   เพื่อนำร่องให้ชุมชนท่ามะปรางได้ปลูกป่าด้วย”
    

นายวิถีกล่าวอีกว่า การหันมาทำโครงการปลูกป่า เนื่องจากในอนาคตผู้ประกอบการอุตสาหกรรม ต้องเข้าร่วมโครงการคาร์บอนเครดิต จะเกิดการซื้อขาย ระหว่างผู้ปลูกป่าที่ขายออกซิเจนให้ผู้ประกอบการโรงงาน เพื่อทดแทนการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์สู่ชั้นบรรยากาศ
    

นอกจากนี้ หลังจากรัฐบาลแก้กฎหมายป่าไม้ หากอยู่ในที่ดินกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครองครอง ประชาชนสามารถทำประโยชน์ได้ เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนปลูกป่าเศรษฐกิจ หากยังไม่ตัดก็ใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันได้อีกด้วย
   วู้ดเวอร์คฯ ลุยปลูกป่า 2,000 ไร่ ขายคาร์บอนเครดิต  

ส่วนธุรกิจกลุ่มที่ 7 คือ ร้านกาแฟสดและอาหาร”ออคเคอร์” เริ่มจากที่ได้ปลูกกาแฟ 30 ไร่ ที่ อ.แม่จัน จ.เชียงราย จึงนำมาเข้าโรงคั่ว“ออคเคอร์” ที่ อ.เมืองตรัง จ.ตรัง ซึ่งจะผลิตทั้งกาแฟเม็ดบรรจุถุง และมีร้านกาแฟออคเคอร์ พร้อมรองรับลูกค้าในท้องถิ่นและนักท่องเที่ยว
    

ธุรกิจที่ 8 คือกลุ่มท่องเที่ยว นายวิถี กล่าวว่ามีแผนจะพัฒนาที่ดินบนเกาะไหง จ.กระบี่ โดยจะสร้างโรงแรมบนเนื้อที่ 17 ไร่ เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวในอนาคต    

วู้ดเวอร์คฯ ลุยปลูกป่า 2,000 ไร่ ขายคาร์บอนเครดิต

วู้ดเวอร์คมีเป้าหมายจะนำธุรกิจในกลุ่มโรงเลื่อยแปรรูปไม้ยางพารา และโรงไฟฟ้าชีวมวลที่จะขยายสู่การผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลล์ เข้าตลาดหลักทรัพย์ ในอีก 2 ปีข้างหน้า จากการเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไปอย่างมั่นคง นายวิถีย้ำ

วู้ดเวอร์คฯ ลุยปลูกป่า 2,000 ไร่ ขายคาร์บอนเครดิต

ธีมดี ภาคย์ธนชิต /รายงาน

หน้า 10 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 41 ฉบับที่ 3,735 วันที่ 28 พฤศจิกายน-1 ธันวาคม พ.ศ.2564