"ประกันรายได้ข้าว" กรมการค้าภายใน นัดเคาะราคา 29 ต.ค. ทีเดียว 3 งวด

28 ต.ค. 2564 | 13:31 น.
อัปเดตล่าสุด :29 ต.ค. 2564 | 18:51 น.
30.4 k

มาแล้ว “ประกันรายได้ข้าว” “ชาวนา” ปูเสื่อรอได้เลย “กรมการค้าภายใน” นัดเคาะประกันรายได้ข้าว ทีเดียว 3 งวด (งวด 1-3) ข่าวดี วันที่ 29 ต.ค.นี้ รีบตรวจสอบสถานะ ตรวจสอบสิทธิ์ ผลการ โอนเงิน ธ.ก.ส. จะโอนเงินให้ภายใน 3 วันทำการ นับตั้งแต่วันประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิง

ความคืบหน้า โครงการประกันรายได้ข้าว หลังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ผ่านความเห็นชอบไปเมื่อวันที่ 25  ตุลาคม ที่ผ่านมา สร้างความยินดีกับชาวนาทั้งประเทศ 4.69 ล้านครัวเรือน ทำให้หลายคนสอบถามอยากทราบต่อไปว่า จะจ่ายเงินเมื่อไร จะเคาะราคา “ประกันราคาข้าว” ในวันไหน มีความเคลื่อนไหว ล่าสุดแล้ว

 

แหล่งข่าว คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิง โครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว หรือ “ประกันรายได้ข้าว”  เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ นัดประชุม ในวันที่ 29 ตุลาคม 2564 เวลา 13.30 น. จะมีการเคาะราคา “ประกันรายได้ข้าว”  งวดที่ 1 – งวดที่3  สืบเนื่องจากมติ คณะรัฐมนตรีเห็นชอบโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 รอบที่1

 

เป้าหมายประกันรายได้ข้าวเปลือกหอมมะลิ ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ข้าวเปลือกเจ้า ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี และข้าวเปลือกข้าวเหนียว ในพื้นที่เพาะปลูกข้าวทั่วประเทศ ที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน ประมาณ 4.689 ล้านครัวเรือน

 

 

ราคาและปริมาณ "ประกันรายได้ข้าว" กำหนดราคาและปริมาณประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวปีการผลิต 2564/65  ณ ราคาความชื้นไม่เกิน 15% ไม่เกินครัวเรือนละ 40 ไร่ ยกเว้น ข้าวเจ้าไม่เกิน 50 ไร่ เช่นเดียวกับปีที่ผ่านมาในแต่ละชนิดข้าว

 

  • ข้าวเปลือกหอมมะลิ ราคา 15,000 บาท/ตัน 
  • ครัวเรือนละไม่เกิน 14 ตัน

  

  • ข้าวเปลือกหอมมะลินอกพื้นที่ ราคา 14,000 บาท/ตัน 
  • ครัวเรือนละไม่เกิน 16ตัน 

 

  • ข้าวเปลือกเจ้า ราคา 10,000 บาท/ตัน 
  • ครัวเรือนละไม่เกิน 30 ตัน 

 

  • ข้าวเปลือกหอมปทุมธานี ราคา 11,000 บาท/ตัน
  • ครัวเรือนละไม่เกิน 25 ตัน  

 

  • ข้าวเปลือกเหนียว ราคา 12,000 บาท/ตัน 
  • ครัวเรือนละไม่เกิน 16 ตัน

 

กรณีเกษตรกรเพาะปลูกข้าวมากกว่า 1 ชนิด ใช้สิทธิ์ได้ได้ไม่เกินจำนวนขั้นสูงของข้าวแต่ละชนิดและเมื่อรวมกันต้องไม่เกินขั้นสูงของชนิดข้าวที่กำหนดไว้สูงสุด

 

ส่วนการจ่ายเงิน ธ.ก.ส. จ่ายเงินเข้าบัญชีเกษตรกรโดยตรงตามช่วงระยะเวลาที่กำหนด ภายใน 3 วันทำการ นับตั้งแต่ วันที่คณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวประกาศราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงในแต่ละรอบ

 

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการลดภาระในการเข้าร่วมโครงการประกันรายได้ข้าว เกษตรกรไม่ต้องทำสัญญาประกันรายได้กับ ธ.ก.ส.

 

 

 

 

 

ทั้งนี้เกษตรกรผู้ปลูกข้าวสามารถตรวจสอบสถานะความเป็นเกษตรกรและสมาชิกครัวเรือน (เฉพาะที่ขึ้นทะเบียนเกษตรกรกับกรมส่งเสริมการเกษตรเท่านั้น ซึ่งการขึ้นทะเบียนเกษตรกรมีหลายหน่วยงานรับผิดชอบ ขึ้นอยู่กับบทบาทและภารกิจของแต่ละหน่วยงาน ) โดยสามารถคลิกที่นี่

 

 

เกษตรกรผู้ปลูกข้าวสามารถตรวจสอบผลการรับการสนับสนุนตามโครงการรัฐ แบบง่ายๆผ่านเว็บไซต์ chongkho.inbaac.com โดยไม่ต้องไปธนาคารตามขั้นตอน ดังนี้

 

เข้าไปที่ https://chongkho.inbaac.com/หรือคลิกที่นี่

กรอกเลขบัตรประจำตัวประชาชน

กดค้นหา

ระบบจะแจ้งว่า ชื่อโครงการ/เลขที่บัญชี/วันที่โอน/สาขาธกส./สถานะ ให้ท่านทราบ

 

 

อย่างไรก็ดี แหล่งข่าวคณะอนุกรรมการกำกับดูแลและกำหนดเกณฑ์กลางอ้างอิง “ประกันรายได้ข้าว”  กล่าวในตอนท้ายว่า นอกจากมีเคาะราคาข้าว แล้ว ยังเรื่องอื่นๆ อีก อาทิ 

 

วาระแจ้งเรื่องเพื่อทราบ

 

1. มติคณะรัฐมนตรีโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 รอบที่ 1

 

2. ความคืบหน้าผลการดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2563/64 รอบที่ 1

 

3. ผลการขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปีการผลิต 2564/2565 รอบที่ 1

 

เรื่องเพื่อพิจารณา

 

1.แนวทางหลักเกณฑ์การดำเนินโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 รอบที่ 1

2. ราคาเกณฑ์กลางอ้างอิงโครงการประกันรายได้เกษตรกรผู้ปลูกข้าว ปี 2564/65 รอบที่ 1(งวดที่ 1-3)

 

กำหนดการนัดหมาย

 

กำหนดการ เคาะราคา "ประกันรายได้ข้าว" ทีเดียว 3 งวด