“พาณิชย์”ชี้แทรน์ GREEN MISSIONมาแรง แนะผปก.ปรับตัวให้ทันโลกการค้า

30 ก.ย. 2564 | 17:40 น.
อัปเดตล่าสุด :03 ต.ค. 2564 | 20:14 น.

“พาณิชย์”ชี้เมกะเทรนด์เพื่อโลกสีเขียวGREEN MISSION ทุกเวทีการค้าโลกเริ่มให้ความสนใจ  แนะภาคเอกชนตื่นตัวและปรับตัวให้ทันตามกระแสโลกที่เปลี่ยนไป หลังหลายประเทศใช้มาตรการด้านสิ่งแวลดล้อมมากีดกันทางการค้า

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ  เปิดเผยในงานสัมนา เมกะเทรนด์เพื่อโลกสีเขียวGREEN MISSION : ปฏิบัติการไทยสู่สังคมโลว์คาร์บอน ลดโลกร้อน ว่า ขณะนี้เรื่องสิ่งแวดล้อมอยู่ในทุกเวทีการค้าโลกทั้งงทวิภาคและพหุพาคีและให้ความสำคัญกับเรื่องดังกล่าวมากขึ้นและหลายประเทศเริ่มใช้มาตรการเรื่องสิ่งแวลดล้อมในเป็นข้ออ้างในการกีดกันทางการค้า  เช่น WTO มีข้อยกเว้นให้สมาชิกจำกัดการนำเข้าเพื่อสิ่งแวดล้อมได้ แต่ต้องสมเหตุสมผล มีคณะกรรมการว่าด้วยการค้าและสิ่งแวดล้อม (CTE) เป็นเวทีหารือหลักเรื่องการค้าและสิ่งแวดล้อมและมีความพยายามจัดทำความตกลงหลายฝ่ายเรื่องการค้าและสิ่งแวดล้อมซึ่งเป็นเวทีให้สมาชิกหารือในเรื่องสิ่งแวดล้อมที่สมาชิกสนใจ

“พาณิชย์”ชี้แทรน์ GREEN MISSIONมาแรง  แนะผปก.ปรับตัวให้ทันโลกการค้า

ในขณะที่เวทีของเอเปกเอง มีการ บัญชีรายการสินค้าสิ่งแวดล้อม เพื่อลดภาษีนำเข้าให้เหลือไม่เกิน 5% ในสินค้า 54 รายการและอยู่ระหว่างจัดทำแนวทางส่งเสริมและอำนวยความสะดวกแก่บริการสิ่งแวดล้อมซึ่งมีจัดกิจกรรมในประเด็นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมอยู่ในนั้นด้วยหรือแม้แต่เวทีFTAต่างโดยเฉพาะFTA ยุคใหม่มักมีข้อบทเรื่องสิ่งแวดล้อม และข้อบทเรื่องการค้าและการพัฒนาที่ยั่งยืนด้วย เช่นเดียวกับอาเซียนที่มีการพูดเรื่องAEC Blueprint 2025  ซึ่งกำหนดให้เรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืนเป็นกลยุทธ์การเติบโตของอาเซียน   และรับรองกรอบเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับ AEC (Framework for Circular Economy for the AEC)

 

โดยมอบฝ่ายเลขาธิการอาเซียนไปศึกษากลยุทธ์ในการทำให้อาเซียนเป็นภูมิภาคที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอนและประเทศคู่เจรจาของอาเซียน เสนอให้การ upgrade FTA มีข้อบทเรื่องสิ่งแวดล้อม และยังมีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UNFCCC) มีหลักการที่ระบุถึงผลกระทบต่อการค้าระหว่างประเทศด้วย

สำหรับแนวโน้มการนำประเด็นสิ่งแวดล้อมมาเป็นเงื่อนไขหรือข้อกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศนั้นภาครัฐของประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้วมีการมาตรการด้านสิ่งแวดล้อม มาเชื่อมโยงกับการค้ามากขึ้น เช่น มาตรการต่อต้านการทำประมงผิดกฎหมาย (IUU Fishing) การต่อต้านการทำไม้ผิดกฎหมาย (EU Timber Regulation) และมาตรการปรับคาร์บอนข้ามพรมแดน (CBAMเป็นต้น ยกตัวอย่างเช่นกรณีพิพาททางการค้าที่สำคัญในอดีต เช่น คดีกุ้ง-เต่า (US-Shrimp) และคดีแร่แรร์เอิร์ธ (China-Rare Earths) ใน WTO  ในขณะที่ภาคเอกชนและผู้บริโภคของประเทศต่าง ๆ ให้ความสำคัญในการต่อต้านการละเมิดสวัสดิภาพสัตว์ในการผลิตสินค้า  เช่นที่เคยเกิดขึ้นในไทยกรณีลิงเก็บมะพร้าว   นอกจากนี้การกำหนดให้แสดงข้อมูลการตรวจสอบย้อนกลับสินค้า (traceability) และนโยบาย corporate policy กำหนดปริมาณการปล่อยคาร์บอนในการผลิตสินค้าไม่ให้เกินจำนวนที่กำหนดซึ่งภาคเอกชนและสังคมต่างให้ความสำคัญในเรื่องนี้

อย่างไรก็สิ่งที่ตามภาคการผลิตของไทยควรมีการปรับตัวอย่างไรให้สอดคล้องกับทิศทางโลกนั้นเป็นเรื่องที่ภาคเอกชนจะต้องตื่นตัวและเตรียมตัวปรับกับกฎเกณฑ์การค้าโลกที่เปลี่ยนไป ไม่ว่าจะเป็น ชีวิตวิถีใหม่ New Normal เนื่องจากว่าปัจจุบันการใช้วิติหรือการค้าขายเปลี่ยนไปตามสภาวะสังคมและการแพร่ระบาดของโรคอย่างโควิด-19 ดังนั้นสังคมและผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการผลิตและการดำเนินธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น  ซึ่งเล็งเห็นโอกาสในการเกิดธุรกิจใหม่ เช่น สินค้าและบริการสิ่งแวดล้อม พลังงานสะอาด การซื้อขาย carbon credit  และใช้ประโยชน์หรือขอสนับสนุนสิทธิประโยชน์ภาครัฐที่โยงกับเรื่องสิ่งแวดล้อม

รวมถึงการปรับตัวให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม มีธรรมาภิบาลในการดำเนินธุรกิจ คำนึงถึงประเด็นด้าน สังคมและสิ่งแวดล้อม มีการจัดทำระบบ traceabilityหรือระบบตรวจสอบย้อนกลับ และรายงานความยั่งยืน (sustainability reporting)และ ปลูกฝังแนวคิดเรื่องโมเดลเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (BCG model)ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญในขณะนี้รวมถึงจับมือกับภาครัฐสื่อสารสองทาง (two-way communication) ในการทำงานเพื่อให้สอดประสานกันและเดินไปพร้อมกับการยุคการค้าโลกที่เปลี่ยนไป