กนอ.มุ่งภารกิจลดโลกร้อนโชว์อัตลักษณ์ความรับผิดชอบต่อสังคม-สิ่งแวดล้อม

24 ก.ย. 2564 | 13:07 น.
อัปเดตล่าสุด :24 ก.ย. 2564 | 20:06 น.

การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยชูแผนขับเคลื่อนงาน CSR ปีงบประมาณ 2565 เน้นภารกิจลดโลกร้อน โชว์อัตลักษณ์ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม สร้างความเชื่อมั่นผู้ประกอบการและชุมชน

นายวีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยว่า ในปีงบประมาณ 2565 นี้ กนอ.ได้จัดทำโครงการเสริมสร้างภาพลักษณ์ด้านการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมของ กนอ. (Corporate CSR Image) และแผนการดำเนินงานภายใต้ Theme Corporate CSR เพื่อขับเคลื่อนการเสริมสร้างอัตลักษณ์หรือตัวตนด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมขององค์กร หรือ CSR เพื่อทำให้ กนอ. มีกรอบการดำเนินงานที่ชัดเจน มีผลสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรม

และสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ประกอบการ สังคม ชุมชน ตลอดจนผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกระดับอย่างครอบคลุมทั่วถึง โดยประเด็นที่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียเห็นว่ามีความสำคัญและควรดำเนินการตามบริบทและขีดความสามารถขององค์กร ได้แก่ สิ่งแวดล้อม ที่เชื่อมโยงกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โมเดลเศรษฐกิจแบบใหม่ (BCG Model) โดยมีการกำหนดกรอบแนวทางการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมของ กนอ. ที่มีความชัดเจน ภายใต้ Theme ลดโลกร้อน

วีริศ อัมระปาล ผู้ว่าการ กนอ.
สำหรับแผนการดำเนินงานเพื่อขับเคลื่อนการเสริมสร้างอัตลักษณ์หรือตัวตนด้าน CSR จะมีการจัดกิจกรรมในรูปแบบต่างๆ อาทิ ดำเนินการสื่อสาร Theme Corporate CSR ของ กนอ. เรื่อง ลดโลกร้อนต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างๆ ทั้งภายในและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก กนอ. เช่น อบรมสัมมนา, สื่อสารผ่าน Social Network และสื่อ online, วางแผนจัดทำแผนการเสริมสร้างอัตลักษณ์ระยะยาวและประจำปี 
 

,จัดสัมมนาทบทวนแผนร่วมกับนิคมอุตสาหกรรม และท่าเรืออุตสาหกรรม และสำรวจการรับรู้ ดำเนินการสำรวจวัดผลการดำเนินกิจกรรมทั้งในเชิงผลลัพธ์และผลผลิต และสำรวจการรับรู้โครงการ Theme Corporate CSR ของ กนอ. กับกลุ่มเป้าหมายที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียของ กนอ. เป็นต้น

“จุดประสงค์ในการจัดทำแผนการดำเนินงานภายใต้ Theme Corporate CSR นี้เพื่อขับเคลื่อนการเสริมสร้างอัตลักษณ์หรือตัวตน โดย กนอ. เล็งเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศหรือ Climate Change เป็นเรื่องสำคัญที่ทุกภาคส่วนควรให้ความตระหนัก อีกทั้งยัง สอดคล้องกับเรื่อง BCG ตัวชี้วัดด้านประสิทธิภาพเชิงนิเวศเศรษฐกิจ หรือ Eco Efficiency และเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ซึ่งเป็นภารกิจสำคัญของ กนอ.อีกด้วย”