ปะทะคารมเดือด  “ประกันอุบัติเหตุชาวสวนยาง” ยังไม่จบ

14 ส.ค. 2564 | 20:09 น.
อัปเดตล่าสุด :16 ส.ค. 2564 | 03:50 น.
589

เป็นเรื่อง แกนนำชาวสวนยาง ปะทะคารมเดือด “ประกันอุบัติเหตุชาวสวนยาง ปี 2565 ” ยังไม่จบ หลัง “ทิพยประกันภัย” คว้าดีล กยท. ต่างฝ่ายต่างอ้างประโยชน์ชาวสวน

 

ศิวะ ศรีชาย

 

นายศิวะ ศรีชาย รอง เลขาธิการ สภาเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า อย่าเอาการเมืองนอกการยางมาทำลายฝ่ายตรงข้ามเรื่องการขายยางในสต๊อกทำไมไม่มองในแง่ดี เครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางก็สนับสนุนไม่คัดค้าน เพราะทุกฝ่ายต้องการหยุดมหากาฬสต๊อกยางที่ตามมาหลอกหลอนเกือบ 10 ปี TOR ก็รัดกุมโปร่งใส มิหนำซ้ำผู้ได้ประมูลยังต้องซื้อยางใหม่จากสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางอีกแสนตัน

 

ส่วนในการตัดสินใจซื้อประกันอุบัติเหตุกลุ่มในวงเงิน 290 ล้าน ด้วยเสียงข้างมากของบอร์ดการยาง แม้มีข้อเสนอจากตัวแทนเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง 4 คนในบอร์ดทักท้วงให้ยกเลิกการทำประกันและเสนอให้ใช้วิธีช่วยเหลือค่าใช้จ่ายการจัดงานศพให้เกษตรกรที่เสียชีวิตรายละ 40,000 บาท แต่แพ้เหตุผลอีกฝ่ายที่ยกเอาความเสี่ยงในช่วงโรคระบาดโควิดมาเป็นข้อต่อสู้ เพราะถ้าเกษตรกรตาย 10,000 ราย จะเอาเงิน 400 ล้านที่ไหนมาจ่าย กยท.ก็จะเกิดความเสี่ยงด้านงบประมาณ แต่ถ้า กยท.จ่ายบริษัทประกัน 290 ล้านบาท ความเสี่ยงก็จะตกอยู่กับบริษัทประกัน ไม่ว่าเกษตรกรที่ะตายกี่รายในภาวะโควิด

 

อย่าเอาการเมืองมาเป็นวาระซ่อนเร้นให้เป็นกระแสเข้าใจผิดและบิดเบือนความจริง เพื่อผลประโยชน์ส่วนตนราคายางที่สูงขึ้นในตอนนี้ถ้าเปรียบเทียบกับ 2 เดือนที่ผ่านมา พี่น้องชาวสวนยางโวยวาย แต่คนปิดทองหลังพระอย่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และการยางแห่งประเทศไทยก็ตั้งหน้าตั้งตาแก้ไขปัญหา จนราคายางขยับขึ้นในปัจจุบัน ทำไมไม่ชื่นชมและให้กำลังใจคนทำงานบ้างรวมทั้งการเตรียมการโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนยาง ระยะที่ 3 ในช่วงเดือนตุลาคม ที่ผลผลิตยางจะออกสู่ตลาดมากในช่วงปลายปี ความดีและความจริงจะชนะทุกสิ่ง

 

เขศักดิ์ สุดสวาท

นายเขศักดิ์ สุดสวาท เลขาเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางระดับประเทศ และประธานคณะกรรมการเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย เขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน)   กล่าวว่า  “ปลาติดเบ็ดแล้ว” ไม่มีงูเห่าในสวนยางมีแต่หมาเฝ้าบ้านคอยเตือนราชสีห์ผู้มีอำนาจอย่าโยงการเมือง อย่าหนีความจริง สิ่งที่ผิดปกติในการยางต้องช่วยกันแก้ไข

 

“ประเด็นประกันอุบัติเหตุของ กยท.ถือเป็นเรื่องดีน่ายกย่อง ปี2561-2564 การชื้อขายทุนประกันลดลงตามลำดับ และการเสียชีวิตลดลงเช่นกัน แต่การค้างจ่ายเงินให้เกษตรกรกลับเพิ่มขึ้นทุกปี ทั้งที่ในสัญญาบ่งชัด จุดนี้ทำให้ กรรมการเครือข่ายระดับประเทศได้ท้วงติมาทุกปี ว่าการยางแห่งประเทศไทยต้องทำเองโดยวางค่าสงเคราะห์ศพที่ 30,000-40,000บาทต่อคน เมื่อทางบอร์ด กยท.ได้มีมติชื้อประกันอุบัติเหตุปี 2565 ในวงเงินจัดสรร 215 ล้านบาท แต่กลับไปชื้อ 290 ล้านบาท และอ้างว่าเงินกู้ฉุกเฉินที่ตั้งไว้ 200 ล้านบาทต่อปี เกษตรกรไม่กู้ เลยเอามาใช้และบอร์ด กยท.ก็ไม่ถามเจ้าของเงิน เพราะหลงว่าเป็นเงินตัวเอง

 

“ที่ผมออกมาร้องเพื่อให้ท่าน บอร์ดได้ทบทวน ในช่วงที่เราต้องช่วยกันประหยัด โรคโควิด2019 อย่าเอามาเป็นข้ออ้างชาวสวนอยู่ในป่า แต่เขื้อมันระบาดในตัวเมืองที่แออัด ผมไม่เคยรังเกียจนักการเมืองเพราะผมเป็นนักการเมืองอาชีพที่แยกแยะสิ่งดีชั่วเป็น ตลอดเวลา 30 ปี มีแค่พวกที่อยากเป็นนักการเมืองเท่านั้นที่ด่ากันเอง ผมไม่เคยเห็น ท่านชวน หลีกภัย ด่านักการเมืองว่าเลวทุกคน”

 

ในวงการยางเช่นกันผมติดตามข่าวแค่3-4คนเท่านั้นที่พอจะนำมาเป็นกรณีศึกษาอย่างรุ่นเก่าต้อง ดร.อุทัย สอนหลักทรัพย์, อาจารย์ สวัสดิ์ ลาดปาละรุ่นใหม่ต้อง เสือเพิก เลิศวังพล  กับ สุนทร รักษ์รงค์ ถือว่า 4 คนรู้เรื่องยางมากกว่าเพื่อน กล้านำ กล้าคิด กล้าทำ ตลอดระยะเวลา 5 ปีที่ได้เรียนรู้จากเพื่อนๆที่ไม่อ้างถึง ทำให้มีโอกาสได้ทำหน้าที่ แม่บ้านเครือข่ายระดับประเทศต้องปกป้อง การยางฯ คนยาง เท่าชีวิต เราจะเดินไปพร้อมกัน เพื่อความอยู่ดีกินอิ่ม นอนหลับ ด้วยกันตลอดไป