AI ผู้ช่วยส่วนตัว ที่ไม่ใช่ ‘สิ่งทดแทน’ (จบ)

04 พ.ค. 2567 | 11:43 น.
อัปเดตล่าสุด :04 พ.ค. 2567 | 11:43 น.

AI ผู้ช่วยส่วนตัว ที่ไม่ใช่ ‘สิ่งทดแทน’ (จบ) : THOUGHT LEADERSHIP ผู้นำวิสัยทัศน์ กมลธิดา พรรณพิพัฒน์ Corporate communication: IPG Mediabrands

3. การเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือ การเขียนโค้ด (Coding) โดย เป็นคนทั่วไปที่ไม่ได้มีความสามารถ (Hard skill) ในการเขียนโปรแกรม หรือที่เรียกว่า Citizen developer ก็สามารถทำได้ด้วยการเขียนกรอบงานที่ต้องการแล้วให้ AI สร้างโค้ดให้

4. ช่วยวางแผนการทำ Social media ที่สามารถช่วยสร้างไอเดียและเนื้อหาที่จะใช้ในการเผยแพร่ที่สามารถช่วยวางแผนเนื้อหาที่ต้องใช้ ระยะเวลา และช่วงเวลาที่ควรโปรโมท

5. การทำ Content marketing ที่สามารถสร้างเนื้อหาที่ดึงดูดผู้อ่าน เพราะอัลกอริทึมของ AI สามารถสร้างบทความที่มีเนื้อหาไม่ซับซ้อนและยังสามารถเข้าใจได้อีกด้วย

AI ผู้ช่วยส่วนตัว ที่ไม่ใช่ ‘สิ่งทดแทน’ (จบ)

6. การช่วยให้การค้นหาทางอินเตอร์เน็ตนั้นดีขึ้น หรือ SEO (Search engine optimization) เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้มีการค้นหาเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยให้เว็บไซต์ หรือเนื้อหาได้รับการจัดอันดับไว้อันดับต้น ๆ ของการค้นหาทางอินเตอร์เน็ต ซึ่งไม่ต้องเสียเงินในการทำการโปรโมท แต่ในแง่ของการใช้เงินนั้น หรือ Paid media ก็มี AI ที่สามารถประเมินการใช้ 3th ที่มีประสิธิภาพด้วยเช่นกัน รวมทั้งสามารถเพิ่มประสิทธิภาพจากข้อมูลได้อีกด้วย

7. การช่วยวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analytic) สำหรับยุคที่ข้อมูลมีมากมายและมีหลายแหล่งที่มา ทำให้การนำข้อมูลที่มีไปใช้ต่อหรือแม้แต่การวิเคราะห์ข้อมูลให้ถูกต้องนั้นสำคัญมาก โดยในปัจจุบันหลายๆ platform มีตัวช่วยเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลอยู่แล้วแต่การเข้ามาช่วยของ AI ทำให้การจัดทำข้อมูลนั้นสะดวกและแม่นยำยิ่งขึ้น

8. การเป็นผู้ช่วย หรือ Assistant สามารถทำได้ทั้งการวางแผนงาน เป็นที่ปรึษาที่สามารถแนะนำสิ่งที่ควรจะทำหรือจะเกิดขึ้นได้ ช่วยสรุปเนื้อหาการประชุม รวมทั้งแก้ไขปัญหาการอ่าน email ในแต่ละวันด้วยการสรุปเนื้อหาได้ นอกจากนี้เรายังสามารถสั่งการให้ AI เป็นผู้ช่วยในรูปแบบที่เราต้องการได้ เช่น อยากให้เป็น “ผู้ช่วยที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน” ก็สามารถสั่งงานให้ AI เปลี่ยน mood and tone ได้เช่นกัน

ซึ่งในอนาคตอันใกล้ AI จะมีการพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อยๆ แต่ในโลกที่ AI กำลังเริ่มต้นนั้นก็มาพร้อมกับ “ความกลัว” ด้วยภาพยนต์ Ex Machina (2015)

ภาพแรกเลยที่ถูกพูดถึงเมื่อ AI เข้ามาในช่วงแรกนั้นคือการ “แทนที่มนุษย์” แม้ว่าหลักการในการสร้าง AI จะคล้ายกันการเรียนรู้ของมนุษย์แต่มีข้อได้เรียบกว่าหลายอย่าง แต่ในข้อจำกัดหลายๆอย่างของเทคโนโลยีในปัจจุบัน AI ยังมีข้อจำกัดหลายและไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัว แต่เป็นเรื่องที่ควรเรียนรู้และตามให้ทันเพื่อให้ AI มาช่วยทำให้การทำงาน

หรือแม้แต่ใช้ชีวิตประจำวัน มนุษย์สะดวกสบายยิ่งขึ้นถ้าเราสามารถปรับตัวและเรียนรู้ AI ได้ จนวันหนึ่ง AI จะเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งคล้ายกัน “Smart phone” ที่ในช่วงแรกเรานึกภาพไม่ออกเลยว่า การมีเพียงอุปกรณ์ติดตัวชิ้นเดียว จะสามารถทำได้ทั้งติดต่อสื่อสาร สั่งอาหาร ซื้อกองทุน เดินทาง หรือแม้แต่สั่งการของใช้ในบ้านได้เพียงคลิกเดียว

 

หน้า 15 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 44 ฉบับที่ 3,988 วันที่ 2 - 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2567