new-energy

เบื้องหลังความสำเร็จ 55 ปี กฟผ. จากจุดเริ่มต้นสู่เส้นทางระบบไฟฟ้ายั่งยืน

    ผลกระทบจาก “ภาวะโลกร้อน” เริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้น สังเกตได้จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่รุนแรงและผิดปกติยิ่งขึ้น เช่น คลื่นความร้อนสุดขั้ว ภัยแล้ง ไฟป่า และน้ำท่วมครั้งประวัติศาสตร์ วาระ 55 ปี กฟผ. จึงมีภารกิจในการรักษาความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศ

 

โลกอนาคตกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว เทคโนโลยีก้าวกระโดดด้วยนวัตกรรมใหม่ๆ ที่พัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกันผลกระทบจาก "ภาวะโลกร้อน" เริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้น สัญญาณเตือนเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า "การพัฒนาอย่างยั่งยืน" เป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกประเทศจะต้องให้ความสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุค "วิกฤตพลังงาน" ที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก การรักษาความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าของประเทศจึงเป็นความท้าทายสำคัญที่ต้องเผชิญ วาระ 55 ปี กฟผ. จึงมุ่งมั่นในการดูแลระบบไฟฟ้าของประเทศ

 

เบื้องหลังความสำเร็จ 55 ปี กฟผ. จากจุดเริ่มต้นสู่เส้นทางระบบไฟฟ้ายั่งยืน

 

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ในฐานะหน่วยงานหลักที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลระบบไฟฟ้าของประเทศ ยังคงประสานพลังอย่างเต็มกำลังเพื่อรักษาความมั่นคงด้านพลังงานไฟฟ้าอย่างรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม

 

ความท้าทายในการดำเนินงานของ กฟผ. ไม่ได้มีเพียงการจัดหาและผลิตกระแสไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นเท่านั้น แต่ยังต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่ามากที่สุด เพื่อให้การดำเนินงานด้านพลังงานของประเทศเป็นไปอย่างยั่งยืนและสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs)

 

เบื้องหลังความสำเร็จ 55 ปี กฟผ. จากจุดเริ่มต้นสู่เส้นทางระบบไฟฟ้ายั่งยืน

เบื้องหลังความสำเร็จ 55 ปี กฟผ. จากจุดเริ่มต้นสู่เส้นทางระบบไฟฟ้ายั่งยืน

ด้วยความมุ่งมั่นและความรับผิดชอบในทุกกระบวนการทำงาน กฟผ. จึงถือเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชนให้ก้าวพ้นวิกฤตพลังงานได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน บทบาทของ กฟผ. จะเป็นเช่นไรในยุคที่พลังงานกำลังเผชิญความท้าทายครั้งสำคัญนี้คงต้องย้อนกลับไปจุดเริ่มต้น
 

 

55 ปี กฟผ.ก้าวแรกสู่ภารกิจสร้างความมั่นคงพลังงานไทย 
การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. สานต่อบทบาทสำคัญในฐานะผู้ดูแลความมั่นคงของระบบไฟฟ้าของประเทศไทยมายาวนานกว่า 55 ปี เพื่อมอบอนาคตที่ยั่งยืนแก่คนไทย ด้วยประสบการณ์และความเชี่ยวชาญที่สั่งสมมาอย่างยาวนาน สะท้อนจากทิศทางการดำเนินงานของ กฟผ.โดย นายเทพรัตน์ เทพพิทักษ์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้กำหนด 5 ภารกิจสำคัญ ได้แก่ (1) ความมั่นคงระบบไฟฟ้าไทย (2) ความสามารถในการแข่งขันด้านราคา (3) ดูแลชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม (4) เป็นเครื่องมือในการตอบสนองนโยบายรัฐ และ (5) การนำส่งรายได้เข้ารัฐ 

 

เบื้องหลังความสำเร็จ 55 ปี กฟผ. จากจุดเริ่มต้นสู่เส้นทางระบบไฟฟ้ายั่งยืน

เบื้องหลังความสำเร็จ 55 ปี กฟผ. จากจุดเริ่มต้นสู่เส้นทางระบบไฟฟ้ายั่งยืน

ภารกิจสำคัญที่สุดคือ "ความมั่นคงของระบบไฟฟ้าไทย" เนื่องจากไฟฟ้าเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของเศรษฐกิจ เป็นต้นทุนของทุกภาคอุตสาหกรรมและประเทศ ขณะเดียวกันการจะดึงดูดนักลงทุนเข้ามาลงทุน เขาดูว่าระบบไฟฟ้ามีเสถียรภาพหรือไม่และราคาค่าไฟสมเหตุสมผลไหม ซึ่งส่งผลต่อการตัดสินใจการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ 

 

55 ปีที่แล้ว ในช่วงที่ประเทศไทยกำลังเริ่มต้นการพัฒนาอุตสาหกรรม มีความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้าสูงขึ้นอย่างมาก รัฐบาลในสมัยนั้นจึงได้จัดตั้ง "การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย" หรือ "กฟผ." เพื่อเป็นหน่วยงานหลักดูแลการผลิตและจัดสรรกระแสไฟฟ้าให้กับประชาชนทั่วประเทศ 

 

การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือ กฟผ. ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2512 จากการรวมกันของ การไฟฟ้ายันฮี การไฟฟ้าตะวันออกเฉียงเหนือ และการลิกไนท์ มุ่งมั่นพัฒนาแหล่งผลิตไฟฟ้าเพื่อตอบสนองความต้องการใช้ไฟฟ้าในแต่ละภูมิภาค ด้วยการผสมผสานทั้ง "พลังงานไฟฟ้าพลังน้ำ" และ "พลังความร้อน" อย่างเหมาะสม

 

กฟผ. สามารถขยายกำลังการผลิตจากเพียง 908 เมกะวัตต์ในช่วงแรกเริ่ม จนกระทั่ง ปัจจุบันมีกำลังการผลิตรวมทั้งสิ้น 16,261 เมกะวัตต์ คิดเป็น 32.75% ของกำลังผลิตรวมทั้งประเทศ เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง

 

เบื้องหลังความสำเร็จ 55 ปี กฟผ. จากจุดเริ่มต้นสู่เส้นทางระบบไฟฟ้ายั่งยืน

นอกจากนี้ กฟผ. ยังคงพัฒนาโครงข่ายระบบส่งไฟฟ้าซึ่งเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ส่งจ่ายกระแสไฟฟ้าให้ทั่วถึงทุกพื้นที่ โดยปัจจุบันมีความยาวรวมกว่า 39,000 วงจร-กิโลเมตร และสถานีไฟฟ้าแรงสูงรวม 237 แห่งทั่วประเทศ พร้อมมุ่งสู่การเป็นศูนย์กลางการส่งผ่านพลังงานไฟฟ้าในภูมิภาคอาเซียนอย่างเต็มรูปแบบ และรองรับการเติบโตของพลังงานหมุนเวียนที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในอนาคต

 

บทบาท กฟผ. ผู้นำพาประเทศฝ่าวิกฤตสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
ด้วยบทบาทสำคัญในทุกภาวะวิกฤต กฟผ. เปรียบเสมือนฟันเฟืองสำคัญที่คอยขับเคลื่อนให้ประเทศไทยพ้นจากวิกฤตและสามารถพัฒนาต่อไปได้อย่างมั่นคง นับตั้งแต่วิกฤตราคาน้ำมันในปี 2516 และ 2522 กฟผ. ได้เสาะหาแหล่งพลังงานทางเลือกและเป็นผู้นำการเจรจานำเข้าก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยมาผลิตไฟฟ้า ช่วยให้เศรษฐกิจไทยสามารถฟื้นตัวและพัฒนาอย่างก้าวกระโดดในช่วงเวลาต่อมา

 

เบื้องหลังความสำเร็จ 55 ปี กฟผ. จากจุดเริ่มต้นสู่เส้นทางระบบไฟฟ้ายั่งยืน

เช่นเดียวกับในวิกฤตพลังงานจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ปี 2565 ที่ส่งผลกระทบต่อราคาพลังงานทั่วโลก กฟผ. ได้ร่วมฝ่าวิกฤตโดยปรับปรุงโรงไฟฟ้าแม่เมาะหน่วยที่ 4 ที่เคยปลดระบบเมื่อปี 2562 ให้กลับมาผลิตไฟฟ้าจากเชื้อเพลิงต้นทุนต่ำอีกครั้ง และเลื่อนการปลดโรงไฟฟ้าแม่เมาะหน่วยที่ 8 ออก เพื่อลดการนำเข้า LNG ราคาแพง รวมทั้งรับภาระค่าเชื้อเพลิงบางส่วนแทนประชาชนตามนโยบายของรัฐ เพื่อบรรเทาภาระค่าไฟฟ้า

 

นอกจากบทบาทด้านการผลิตไฟฟ้าแล้ว กฟผ. ยังเป็น "รัฐวิสาหกิจ" ที่ดำเนินธุรกิจแทนรัฐ โดยนำส่งกำไรเป็นรายได้ของรัฐเพื่อใช้ในการพัฒนาประเทศ สนับสนุนเสถียรภาพการคลังของประเทศ และสนองนโยบายต่างๆ เช่น การเป็นผู้นำเข้า LNG รายใหญ่ เพื่อลดต้นทุนผลิตไฟฟ้า หรือการร่วมลงทุนโครงการ LNG Terminal เพื่อเสริมความมั่นคงด้านพลังงานและผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลาง LNG ในอาเซียน

 

นับตั้งแต่จุดเริ่มต้นของ กฟผ. ต้องเผชิญกับความท้าทายมากมาย ทั้งการสร้างโรงไฟฟ้าให้เพียงพอกับความต้องการที่เพิ่มสูงขึ้นทุกปี การหาแหล่งเชื้อเพลิง การกระจายระบบจำหน่ายไปทั่วประเทศ และการบริหารจัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ แต่ด้วยแรงบันดาลใจ ความมุ่งมั่น และทุ่มเทของ กฟผ. ทำให้องค์กรสามารถบรรลุภารกิจในแต่ละช่วงเวลาอย่างแข็งขัน และก้าวผ่านอุปสรรคมาสู่จุดนี้ได้

 

เส้นทางการเติบโตของ กฟผ. สะท้อนให้เห็นว่า กฟผ.มีบทบาทมากกว่าเพียงแค่ผู้จัดหาพลังงานไฟฟ้าเท่านั้น แต่ยังเป็นผู้นำและผู้สนับสนุนในหลายภารกิจสำคัญ อาทิ การพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานสะอาดและหมุนเวียน การดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม การให้ความรู้และเสริมสร้างความตระหนักแก่สังคม และการร่วมขับเคลื่อนให้เกิดความมั่นคงทางด้านพลังงานของประเทศ

 

หากย้อนกลับไปในช่วงเริ่มต้น อาจเป็นเพียงแค่ก้าวแรกในการจัดตั้งองค์กรเพื่อจัดหาพลังงานไฟฟ้าให้แก่ประชาชนไทยอย่างทั่วถึง แต่วันนี้เรียกได้ว่า กฟผ. ได้ก้าวข้ามประตูสู่ความยิ่งใหญ่และยั่งยืนเพื่อทั้งประเทศ ด้วยความภาคตั้งใจจริงจากการดำเนินงานตามเส้นทางภารกิจที่ทำให้ "ระบบไฟฟ้าของประเทศ" เติบโตอย่างมีคุณภาพและมั่นคงยั่งยืนตลอด 55 ปีที่ผ่านมา 

 

ปัจจุบัน กฟผ. กำลังผลักดันการพัฒนาโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลมขนาดใหญ่ พร้อมทั้งเตรียมความพร้อมในการรองรับพลังงานทดแทนจากแหล่งกระจายศูนย์ เพื่อขับเคลื่อนประเทศไทยให้บรรลุเป้าหมายความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 ตามแผนระยะยาวของประเทศ