เปิดวิชั่น ทายาทรุ่น  2 "VVP" สร้างพนักงาน เติบโตไปด้วยกัน

15 พ.ย. 2566 | 12:32 น.
อัปเดตล่าสุด :15 พ.ย. 2566 | 12:51 น.

คอลัมน์ซีอีโอ โฟกัส เปิดวิชั่น ทายาทรุ่น  2  “VVP” วี.วี.พี. มาร์เก็ตติ้ง เปลี่ยน Manual สู่ Digital สร้างพนักงานกว่า100ชีวิตเติบโตไปด้วยกัน

 

กว่า 30ปี กับความสำเร็จ สำหรับ บริษัท วี.วี.พี. มาร์เก็ตติ้ง จำกัด หรือ VVP  ผู้ผลิตและจำหน่าย อุปกรณ์ก่อสร้าง ชั้นนำของไทย ทั้งโช้ค อัพประตู ตัวยึดต่อกระจก ประตูบานเปลือย ประตูบานเฟี้ยม  องค์ประกอบเล็กๆ ที่ไม่เล็ก ของอาคารพักอาศัย โรงแรม อาคารสำนักงาน รวมถึงศูนย์การค้าขนาดใหญ่ ในประเทศ และลูกค้าต่างประเทศที่ ส่งออกมาแล้ว 10-20 ประเทศทั่วโลก รวมถึงการพัฒนานวัตกรรมสินค้าที่ไม่หยุดนิ่งเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ภายใต้การบริหารงานของ คุณพลอย  “สุพัตรา  ภู่ชาญสิน” Business Development  นักธุรกิจรุ่นใหม่ไฟแรง ทายาทรุ่น 2  ของ “VVP” ในวัยเพียง 24 ปี 

 เธอเล่าว่า หลังสำเร็จการศึกษาจากประเทศสหรัฐอเมริกาได้กลับมาสานต่อธุรกิจครอบครัว พร้อมกับการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญด้วยการนำเทคโนโลยีมาใช้ภายในองค์กรเปลี่ยนผ่าน การทำงานของพนักงาน จาก Manual สู่ Digital ได้อย่างกลมกลืน ทั้งพนักงานรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ และนี่คือก้าวสำคัญของความสำเร็จในการดำเนินธุรกิจภายใต้การนำของเธอนับจากนี้ โดยเริ่มจากการจัดระบบธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ให้เช่า ควบคู่กับธุรกิจหลักคือ โรงงานผลิตอุปกรณ์ก่อสร้าง

สุพัตรา  ภู่ชาญสิน

 

คุณพลอยเล่าถึงหลักคิดการทำงาน คือ เห็นพนักงานเหมือนเป็นคนในครอบครัวที่เขาเห็นเราและเราเห็นเขา ตั้งแต่เธอยังเด็กๆ ซึ่งเขาอยู่กับเรานาน  ตั้งแต่เริ่มต้นบริษัท 20 ถึง 30 ปี และเห็นเราเป็นเหมือนความหวังต้องการให้เราทำธุรกิจต่อไป แม้จะเกิดการเปลี่ยนแปลง เพื่อครอบครัวเขาจะอยู่ได้ และเราเองก็อยู่ได้ ทำให้มีความคิดว่าต้องรักษาพนักงานกลุ่มนี้ไว้ให้เติบโตไปพร้อมกับเรา เพราะเขามีประสบการณ์ที่จะค่อยๆ คายถ่ายทอดช่วยสอนงานได้ สามารถบอกเราได้ทุกเรื่องเมื่อมีปัญหา ซึ่งต่างจากรุ่นคุณพ่อแม่ที่เป็นรุ่นเถ้าแก่

ที่ลูกน้องมักเกรงใจ ช่วงแรกก็มีความกังวลว่า พี่ๆ พนักงานจะเข้าใจและรับเราได้หรือไม่ แต่ปรากฏว่าผลตอบรับดีมาก และสามารถสื่อสารกับเราโดยไม่ได้ติดว่า เราเข้ามาปรับเปลี่ยน จากการทำงาน แมนนวล  มาเป็นระบบอัตโนมัติ  นำซีอาร์เอ็ม (CRM) มาใช้ โล๊ะระบบเก่า สร้างเป็นแพลตฟอร์มระบบดิจจิทัลให้ก้าวทันโลก

พนักงานรุ่นเก่า รุ่นใหม่ ต้องฝึกใช้คอมพิวเตอร์เป็น ช่วงแรกกลัว ถ้าจ่ายเงินไปแล้วแต่สุดท้ายพนักงานไม่ยอมรับ และกลายเป็นการเพิ่มงานให้พวกเขาจะทำอย่างไร แต่ในที่สุดผลตอบรับคือ ตื่นเต้น เหมือนได้ของเล่นใหม่ ทำให้กล้าหาอะไรใหม่ๆ มาให้พนักงานได้ทดลองใช้อีกทำงาน ปรับเปลี่ยนองค์กรโดยใช้เทคโนโลยี และทำให้ทำงานได้เร็วขึ้น เพราะคุณพ่อคุณแม่จบการศึกษาระดับประถมศึกษา 6-7  ซึ่งได้พาองค์กรมาได้ไกลขนาดนี้ และถ้าเรานำลูกเล่นเทคโนโลยีมากระตุ้นพนักงานก็จะทำให้ ไปได้ไกลกว่านี้ได้อีก

วิธีคิดนำพาองค์กรไปสู่เป้าหมาย คุณพลาย อธิบายว่า ในช่วงแรกต้องเก็บกวาดก่อน ต้องแก้ ช่วงแรกที่เข้ามาต้องมานั่งล้างทำความสะอาดบริษัท ให้ทุกคนทราบว่า ต้องทำอะไรและค่อยๆ อาสิ่งใหม่เข้ามา ที่เห็นชัดเจน บริษัทอยู่มา 30 ปี ไม่เคยมีทีมการตลาดทั้งที่ชื่อ บริษัท วี.วี.พี.มาร์เก็ตติ้ง ซึ่งยุคนี้ไม่มีไม่ได้เพราะทำให้คนรู้จักบริษัทมากขึ้น ทุกคนถาม VVP ขายอะไร

เมื่อบอกไปทุกคนร้องอ๋อ ในวันถัดไปเขาก็กลับมาบอกที่บ้านใช้หรือออฟฟิศใช้ รวมถึงไปเดินตามห้างสรรพสินค้าก็จะเห็นว่าหลายแห่งใช้ผลิตภัณฑ์ของ บริษัทที่เขาทำอยู่ ก็เกิดความภูมิใจ จึงมานั่งคิดว่าคนใช้แต่ทำไมไม่ ทราบว่าเป็นของ VVP เราก็มีช่วงส่งออกไปต่างประเทศและผลักดันไปยังประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น

ดังนั้นต้องทำการตลาดให้มากขึ้น โดยก่อหน้านี้ บริษัท ส่งออกสินค้า 10-20 ประเทศ แต่ปัจจุบันอาจลดลงบ้างและเริ่มกลับมาบุกตลาดใหม่  ให้เข้มข้นกว่าเดิม  เช่นที่ล่าสุด “WOW” ได้เดินทางไปมัลดีฟส์ ได้พบกับ อุปกรณ์ที่สั่งซื้อของบริษัท  เช่น ร้านเคเอฟซี แม็คโดนัลด์ โรงแรม ของบมจ.สิงห์เอสเตท เราจะขยับผลิตภัณฑ์มากขึ้น  เช่น อาคิเทค ออกแบบบ้านและอาคาร โครงของบ้าน ออฟฟิศสำนักงาน

เราจะเน้นงานกระจกงานไม้และงานอลูมิเนียมซึ่งเป็นส่วนที่ทำอยู่ แต่จะเพิ่มขึ้นปัจจุบันก็จะเป็น Smart door lock กลอนประตูดิจิตอล ที่คุณพลอย มองว่า เรายังไม่เคยทำก็ จะทำโดยหาเทคโนโลยีมากขึ้นและทำอย่างไรให้อาคาร 1 หลังใช้สินค้าของเราให้มากที่สุดเช่นมือจับลูกบิดบานพับ เกี่ยวกับประตู อุปกรณ์ ยึดจับกระจก เป็นต้น

การเข้ามาเรียนหลักสูตร WOW#3 กับทางเครือเนชั่นกรุ๊ป คุณพลอย เล่าว่า ต้องบอกว่าเป็น Class แรกที่เรียนโดยคุณพ่อ ได้อ่านหนังสือพิมพ์ และพบหลักสูตรดังกล่าว พร้อมให้เบอร์ติดต่อเรียนเรียบร้อย  แต่เมื่อมาเรียน เราเห็นคอนเนคชั่น และพี่ๆที่เรียนทุกคน มีธุรกิจยังหาเวลามาเรียนมาทำความรู้จัก เราติดปัญหา คำถามอะไร ก็สามารถช่วยกันได้ และยังต่อยอดธุรกิจขายของระหว่างกัน  มีโอกาสขยายช่องทางธุรกิจ เช่นใครขยายออฟฟิศสามารถใช้อุปกรณ์ทาง VVP ได้ เรียกว่า ประสบการณ์ที่ไม่เรียนมาแต่เป็นประสบการณ์ที่เขาไปเจอมา ก็มาบอกเราและแนะนำให้เรา ลองไปทางนี้ ติดขัดอะไร สามารถช่วยกันได้

การแก้ปัญหาคุณพลอยมองว่า สามารถจัดการความเครียดของตัวเองได้จะไม่เอาอะไรที่  ความเครียดมาอยู่ในหัวนานเกินไปเพราะสุดท้ายแล้ว งานเราทำแต่เวลาพักก็ต้องพักด้วยเช่นกัน คุณพลอยมองว่า โอกาสเรียนรู้งานและการดูแลครอบครัวไปพร้อมกันเป็นเรื่องที่ดี หลังจบระดับปริญญาตรี จากอเมริกา ไม่เรียนต่อ แต่รีบกลับมาทำงานที่บ้านเพราะรู้สึกว่าคุณพ่อคุณแม่อายุมากแล้ว จึงคิดว่าต้องเขามาเรียนรู้และสืบทอดให้เร็ว อยากให้ทำต่อ โดยปีนี้เป็นกลับจากอเมริกา  ปีนี้ (2566) เป็นปีที่สอง ต้องเข้ามาเติมเต็ม

ขณะธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ส่วนใหญ่อยู่ชานเมืองคุณพ่อเลือกซื้อที่ดินรอความเจริญเข้ามา โดยตรวจสอบข้อมูลว่า ทำเลไหนอนาคตจะมีถนนตัดผ่าน ปัจจุบันพัฒนาเป็นตลาดขายต้นไม้ บางทำเลมีศูนย์การค้ามาก่อสร้าง กลายเป็นชุมชุนขนาดใหญ่ซึ่งที่ผ่านมาอสังหาฯไม่มีใครดูแลโดยคุณพ่อ ดูโรงงาน คุณแม่ดูการขายสินค้า สิ่งที่คุณพลอย เริ่มทำความคุ้ยเคย คือเริ่มต้นที่อสังหาฯเพราะไม่มีคุณพ่อคุณแม่ควบคุมเราอยากทำได้โดยไม่ต้องขอ อย่างแรก เราไปสร้างระบบก่อนหน้านี้เราManualใช้กระดาษปากกา เงินเข้ามาครบหรือไม่ไม่ทราบ แต่เขาคิดแค่ 

ตราบใดที่ มีกำไรคือ สำเร็จ แต่เมื่อนำระบบดิจิทัลมาใช้ กลับทราบว่า ที่ผ่านมา คิดค่าไฟผิดมาตลอดพนักงานอ่านมิเตอร์ผิดทำรายได้ขาดหาย จึงทำระบบเรียบเรียงข้อมูลใหม่ จึงเห็นความผิดปกติเห็นปัญหา ข้อดีอีกอย่างทุกคนทำงานเร็ว ไม่ต้งเข้าออฟฟิศไม่ต้องรอรายงานเป็นกระดาษ พอเราทำระบบออนไลน์ทั้งหมดเปลี่ยนแพลตฟอร์มแทบไม่ได้ใช้เงิน คือGoogle Sheets แค่วางระบบให้เท่านั้น เราสอนพนักงาน ให้เป็นและคนที่เป็นหรือเก่งอยู่แล้วสำหรับพนักงานรุ่นใหม่ๆ ก็จะไปสอนคนรุ่นเก่า 

“เราริเริ่มให้และให้เขาไปต่อยอด แล้วค่อยๆ ดึงเอาความถนัดที่เป็นจุดเด่นของแต่ละคนออกมา ปัจจุบันมีพนักงานกว่า100 ชีวิต ทั้งรุ่นใหม่และรุ่นเก่า ทุกคนมีความสุขที่ได้พัฒนาไปด้วยกัน”

นี่คือ ทายาทรุ่น 2  “VVP” นักธุรกิจรุ่นใหม่ กับก้าวสำคัญ ที่น่าจับตายิ่ง!!!

หน้า 17 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 43 ฉบับที่ 3,940 วันที่ 16 - 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566