ยุคที่เทคโนโลยีดิจิทัลมีบทบาทในการกำหนดทิศทางธุรกิจ การนำ AI มาประยุกต์ใช้ในองค์กรไม่ได้เป็นเพียงแค่การปรับตัวให้ทันยุคสมัยเท่านั้น แต่ยังเป็นกลยุทธ์สำคัญในการสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน เพราะองค์กรที่สามารถผสมผสาน AI เข้ากับกระบวนการทำงานได้อย่างเหมาะสม
ผศ.ดร.ภูมิพร ธรรมสถิตเดช ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประจำหลักสูตรปริญญาตรี นวัตกรรมและการแปรรูปทางดิจิทัล (DX) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (CITU) กล่าวว่า เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสู่ปี 2568 และในยุคที่ AI จะเข้ามาขับเคลื่อนสรรพสิ่ง
วันนี้ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (CITU) จะพาทุกองค์กรและระดับ CIO (Chief Information Officer) ไปเรียนรู้ ซึ่งจะเป็นหัวใจเปลี่ยนผ่านองค์กรสู่อนาคตที่ท้าทายและเต็มไปด้วยโอกาสใหม่ ๆ ที่ไม่สิ้นสุด
อันดับแรก องค์กรจะต้องนำ AI มาประยุกต์ใช้อย่างชาญฉลาด โดยมีกรอบการบริหารจัดการหรือหลักการเชิงกลยุทธ์ที่ชัดเจน (Strategic Principles) อันประกอบด้วย
การมีวิสัยทัศน์และหลักการที่ชัดเจน (AI Vision & Principles) ช่วยให้องค์กรสามารถกำหนดแนวทางการใช้ AI ได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะช่วยชี้ทิศทางใช้ AI ที่สนับสนุนเป้าหมายธุรกิจองค์กรในรูปแบบที่ต้องการ และควบคู่ไปกับการสร้างโครงสร้างการกำกับดูแล (Governance Structure)
โดยการจัดสรรบทบาทและหน้าที่ในองค์กร เช่น CIO เป็นผู้กำหนดกลยุทธ์หลัก ขณะที่ AI Developers รับผิดชอบการพัฒนาและปรับปรุงเทคโนโลยี รวมทั้งการสร้างมาตรฐานทางจริยธรรม และการบริหารความเสี่ยงเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้น (Risk Management & Ethical Oversight) เริ่มจากการพัฒนามาตรฐานและเครื่องมือที่ช่วยลดความเสี่ยง
สิ่งที่สำคัญที่ต้องเริ่มคือ องค์กรควรนำกลยุทธ์ AI ไปประยุกต์ใช้กับเป้าหมายธุรกิจองค์กร พร้อมกับมีการวัดผลสำเร็จที่ชัดเจน โดยแนวทางสำคัญเริ่มจากการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจน (Clear Goals) เช่น ใช้ AI สำหรับเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดค่าใช้จ่าย หรือสร้างแหล่งรายได้ใหม่
จากนั้นมีการติดตามผลลัพธ์ (Continuous Monitoring) ซึ่งใช้ตัวชี้วัด (KPIs) ที่เหมาะสม เช่น ประสิทธิภาพของระบบ AI การประหยัดต้นทุน หรือผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) และที่สำคัญที่สุดคือการปรับปรุงกลยุทธ์อย่างต่อเนื่อง (Strategy Optimization) องค์กรจะต้องมีการพัฒนาและปรับปรุงกลยุทธ์ AI ตามการเปลี่ยนแปลงของตลาดและเทคโนโลยีอยู่เสมอ
การปฏิบัติ (Best Practices) คือข้อถัดมาที่ทุกองค์กรจะต้องคำนึง เพราะมีความสำคัญต่อความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว โดยจะอาศัยแนวทางปฏิบัติที่ครอบคลุมทั้งในมิติของการขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงและการบริหารจัดการความท้าทายทุกรูปแบบ โดยมีหลักการหลัก ๆ ดังนี้
1.การขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลง (Driving AI Transformation)
1.1การสร้างความโปร่งใสในการสื่อสารและกำหนดเป้าหมาย ซึ่งองค์กรเมื่อเริ่มต้นด้วยการกำหนดเป้าหมายที่ชัดเจนและสอดคล้องกับวิสัยทัศน์องค์กรแล้ว ควรจะต้องสื่อสารเป้าหมายเหล่านั้นให้ทุกฝ่ายในองค์กรเข้าใจตรงกัน ซึ่งการมีความโปร่งใสในกระบวนการสื่อสารจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นและลดความกังวลของบุคลากรเกี่ยวกับผลกระทบของ AI
1.2 การฝึกอบรมบุคลากรเพื่อพัฒนาทักษะที่เกี่ยวข้อง เนื่องจาก AI เป็นเทคโนโลยีที่มีการอัปเดตตลอดเวลา เช่น การจัดการข้อมูล การเขียนโปรแกรม จะช่วยให้บุคลากรในองค์กรสามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับเทคโนโลยีใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.3 การสนับสนุนจากผู้บริหารระดับสูงในการเป็นแบบอย่าง โดย CIO และผู้บริหารระดับสูงควรแสดงบทบาทเป็นผู้นำในการนำ AI มาใช้ สิ่งนี้จะเป็นแบบอย่างที่ดีในการเรียนรู้และเปิดรับเทคฯใหม่ ๆ มีส่วนสร้างแรงบันดาลใจและกระตุ้นให้ทีมงานมีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงอย่างแท้จริง
2.การบริหารความท้าทาย (AI Challenges Management)
1.การบริหารคุณภาพข้อมูล (Data Quality Management) เป็นรากฐานสำคัญของ AI ซึ่งความครบถ้วน ความถูกต้อง และความทันสมัยของข้อมูล จะลดความผิดพลาดในกระบวนการวิเคราะห์และการตัดสินใจ ตลอดจน
2.การลดอคติใน AI และการสร้างความโปร่งใส (Bias Mitigation and Transparency) ก็เป็นสิ่งสำคัญ เพราะ AI อาจมีความลำเอียงจากข้อมูลที่ใช้ในการฝึกฝน ดังนั้น ต้องมีการตรวจสอบและปรับปรุงข้อมูลให้มีความเป็นกลางเสมอ นอกจากนี้ การสร้างระบบ AI ที่โปร่งใสและสามารถอธิบายผลลัพธ์ได้จะช่วยเพิ่มความไว้วางใจจากผู้ใช้งาน
3. การสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เปิดรับเทคโนโลยีใหม่ (Technology Adoption Culture) จะช่วยลดความกังวลและสนับสนุนการนำ AI มาใช้ในระยะยาว
4. การเลือกพันธมิตรด้านเทคโนโลยีที่เหมาะสม (Technology Partner Selection) และมีความเชี่ยวชาญช่วยเพิ่มโอกาสความสำเร็จในการนำ AI มาใช้ ตั้งแต่การออกแบบระบบไปจนถึงการบำรุงรักษา
ท้ายที่สุดแล้ว หลักการดังกล่าวข้างต้นจะประสบความสำเร็จหรือไม่นั่น CIO ในฐานะผู้นำด้านเทคโนโลยีและกลยุทธ์ดิจิทัลขององค์กร ต้องมีบทบาทสำคัญที่ต้องช่วยขับเคลื่อน AI ให้เป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์องค์กรเพื่อสร้างผลลัพธ์เชิงบวกทั้งในด้านประสิทธิภาพและนวัตกรรม
โดยเป็นนักวางกลยุทธ์และเป็นผู้นำที่สามารถนำ AI มาปรับใช้เชื่อมโยงกับทุกแผนกในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน สู่การส่งต่อแรงผลักดันให้คนภายในองค์กรปฏิบัติเพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุด โดย CIO ควรมีทักษะและบทบาทสำคัญสรุปได้ ดังนี้
ประเด็นที่น่าสนใจอีกคือแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติของประเทศไทยตั้งเป้าให้มูลค่าตลาด AI เพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 60,000 ล้านบาทภายในปี พ.ศ. 2570 ซึ่งการบรรลุเป้าหมายนี้จำเป็นต้องอาศัยบทบาทสำคัญของ CIO ในการนำ AI มาปรับใช้ในองค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ
อย่างไรก็ตาม การใช้ AI ในองค์กรจะช่วยเพิ่มศักยภาพการเติบโตธุรกิจได้มากขึ้น เมื่อมีนโยบายภาครัฐและความร่วมมือระหว่างภาคธุรกิจ เช่น การสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล การส่งเสริมการศึกษา และการผลักดันความร่วมมือระหว่างองค์กรทั้งในและต่างประเทศ โดย CIO เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนด้วยการนำ AI มาประยุกต์ใช้อย่างชาญฉลาดเพื่อสร้างธุรกิจที่เติบโตมั่นคง
ทั้งนี้ วิทยาลัยนวัตกรรม มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (CITU) มุ่งมั่นที่จะเป็นศูนย์กลางด้านการศึกษา วิจัย และพัฒนา AI เพื่อสนับสนุนให้องค์กรและสังคมไทยสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล
พร้อมสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนต่อเศรษฐกิจและสังคม ควบคู่ไปกับความมุ่งมั่นในการสร้างบุคลากรที่พร้อมรับความเปลี่ยนแปลง ดังประโยคที่ว่า "AI มิใช่แค่เรื่องของเทคโนโลยี แต่เป็นเรื่องของคน วิสัยทัศน์ และวัฒนธรรมองค์กรที่ต้องก้าวเดินไปพร้อมกันเพื่อความสำเร็จในอนาคต"