เปิดผลกระทบ 6 ด้านจากนโยบาย "โดนัลด์ ทรัมป์" ต่อเศรษฐกิจโลก

22 พ.ย. 2567 | 08:19 น.

เปิดผลกระทบ 6 ด้านจากนโยบาย "โดนัลด์ ทรัมป์" ต่อเศรษฐกิจโลก ส.อ.ท. เผยจะเร่งให้เกิดการแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจ ทำให้การค้าโลกรอตัวและเกิดการย้ายฐานการผลิต เกิดการแบ่งขั้วทางเทคโนโลยี การค้า

นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยในการบรรยายพิเศษหัวข้อ สถานการณ์โลกเรื่องพลังงาน หลังเลือกตั้ง USA ว่า นโยบายโดนัลด์ ทรัมป์ 2.0 หากมองนโยบายสหรัฐฯ สิ่งที่เป็นนโยบายเดียวกันคือ make America great again ซึ่งกดดันเศรษฐกิจโลก โดยจะทำให้เกิดผลกระทบ 6 ด้าน ประกอบด้วย 

  • ความผันผวนเศรษฐกิจสูงจากความไม่แน่นอนในการทำงานนโยบายเศรษฐกิจและการต่างประเทศ 
  • เร่งให้เกิดการแบ่งขั้วทางเศรษฐกิจ ทำให้การค้าโลกรอตัวและเกิดการย้ายฐานการผลิตจากนโยบาย America first
  • เกิดการแบ่งขั้วทางเทคโนโลยีและการค้าจากการกลับมาของ Trade war and Tech war ระลอกใหม่ที่รุนแรงกว่าเดิม 
     
  • ต้นทุนสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้นจากการปรับขึ้นอัตราภาษีนำเข้าสหรัฐและสินค้าจีนทะลักเข้ามาแข่งขันในตลาดอื่นๆ มากขึ้น 
  • มาตรการติดกันทางการค้าที่เข้มงวดขึ้นกับประเทศที่ได้ดุลการค้าจากสหรัฐรวมทั้งอาจถูกกล่าวหาเป็นฐานการผลิตของจีน
  • การแก้ไขปัญหาโลกร้อนชะลอออกไปเป้าหมาย Net Zero ช้ากว่าที่กำหนดและอาจกลับไปสู่ยุคการแข่งขันด้านต้นทุน

เปิดผลกระทบ 6 ด้านจากนโยบาย "โดนัลด์ ทรัมป์" ต่อเศรษฐกิจโลก

อย่างไรก็ดี เมื่อโดนัลด์ ทรัมป์มาจะเกิดความผันผวนเรื่องค่าเงินเป็นอย่างมาก รวมถึงการหาเสียงเรื่องภาษีนำเข้าแต่ยกเว้นจริง 60-100% ซึ่งจีนย้ายฐานผลิตยานยนต์ไฟฟ้า หรืออีวี (EV) ที่เม็กซิโกจะขึ้นอีก 200% จึงเป็นที่มาจากนี้ไปการแบ่งขั้วสงครามการค้าจะดุเดือดและรุนแรงขึ้น

ส่วนเทคโนโลยีก็เช่นกัน เพราะโดนจีนแย่งเป็นผู้นำด้านพลังงานสะอาดไปแล้ว ทั้งในเรื่องของ โซลาร์ และEV

อย่างไรก็ตาม จากภูมิรัฐศาสตร์จีนกับสหรัฐ เกิดการย้ายฐานห่วงโซ่อุปทานเพิ่มขึ้นในอุตสาหกรรมเป้าหมายมาในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งรวมถึงไทย แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงที่สุดและช่วยให้ไทยได้โอกาสคือการขาดดุลการค้ากับจีนเพิ่มขึ้นเพิ่มขึ้นทุกปี โดยปีที่แล้วสูงระดับ 1.4 ล้านล้านบาท ปีนี้คาดว่าจะอยู่ที่ 1.5 ล้านล้านบาท

และเมื่อเทียบดูแล้วเวียดนามจะได้ประโยชน์สูงสุดในช่วง 3 ปีเวียดนามทำตัวเลขส่งไปสหรัฐเพิ่มขึ้นทุกปี รองลงมาคือคืออินโดนีเซีย ซึ่งแม้ไทยจะส่งออกให้สหรัฐฯ เพิ่มขึ้แต่ก็นำเข้าจากจีนเยอะขึ้นเช่นกัน

สำหรับผลกระทบนโยบายทรัมป์ 2.0 ด้านพลังงาน ประกอบด้วย 

  • เพิ่มการผลิตเชื้อเพลิงฟอสซิล น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติและถ่านหิน จะทำให้ต้นทุนต่ำลงที่ประมาณ 60 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล
  • ถอนตัวออกจากข้อตกลงปารีสปี 2015 ที่เคยสัญญาไว้ 
  • ชะลอการดำเนินงานสำหรับการลงทุนด้านพลังงานสะอาด 
  • ส่งเสริมเทคโนโลยีนิวเคลียร์ขนาดเล็ก SMR และโซลาร์แต่ลดการให้เงินอุดหนุนหรือการให้เครดิตภาษีการลงทุนในส่วนของพลังงานลมไฮโดรเจนและ CCS เป็นต้น 
  • เจรจาให้ยุติสงครามรัสเซียยูเครน ซึ่งถือเป็นปัจจัยที่คาดเดาได้ยาก และจะส่งผลต่อราคาน้ำมันโลก

นายเกรียงไกร กล่าวต่อไปอีกว่า สิ่งที่รัฐบาลต้องดำเนินการคือ การตั้งกรอ.พลังงาน รวมถึงกรอบแผนพลังงานชาติ ที่ต้องการให้มีการดำเนินการอย่างรอบด้าน เพราะโลกมีความเสี่ยงสงครามโลกครั้งที่ 3