นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ที่ประชุม ครม. วันนี้มีมติเห็นชอบร่างความตกลงการค้าเสรีระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Association : EFTA หรือ เอฟตา) โดยขั้นตอนต่อจากนี้จะมีการลงนามความตกลงการค้าฯ ที่กรุงดาวอส ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สัปดาห์หน้า
สำหรับ EFTA ฉบับนี้ถือว่า มีความสำคัญ เพราะจะช่วยดึงดูดการค้าและการลงทุนเข้ามาในประเทศไทยในอนาคต ซึ่งในการลงนามความตกลงครั้งนี้ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี จะเป็นสักขีพยานในครั้งอีกด้วย
สำหรับร่างความตกลงการค้าเสรีระหว่างราชอาณาจักรไทยกับสมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Association : EFTA หรือ เอฟตา) ครั้งนี้ มีรายงานว่า กระทรวงพาณิชย์ ได้เสนอเข้ามาเป็น "วาระลับ" ซึ่งในรายละเอียดของร่างเอกสารไม่สามารถเปิดเผยได้ และไม่มีการแถลงเรื่องนี้ภานหลังครม.ด้วย
สำหรับการเจรจาจัดทำความตกลงการค้าเสรี (Free Trade Agreement : FTA) กับ “เอฟตา” หรือ สมาคมการค้าเสรีแห่งยุโรป (European Free Trade Associations) ประกอบด้วยสมาชิก 4 ประเทศ คือ สวิตเซอร์แลนด์ นอร์เวย์ ไอซ์แลนด์ และ ลิกเตนสไตน์
ขณะเดียวกัน กระทรวงพาณิชย์โดยกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศได้สรุปผลการเจรจา FTA กับเอฟตา ได้สำเร็จ โดยได้ข้อสรุปทุกประเด็นภายใต้การเจรจาทั้งหมด 15 เรื่อง ได้แก่
นอกจากนี้ เจรจา FTA ไทย-เอฟตา ใช้เวลา 2 ปี ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ หลังจากที่ทั้งสองฝ่ายประกาศเริ่มต้นการเจรจาในปี 2565 ถือเป็นความสำเร็จตามนโยบายสำคัญของรัฐบาลที่ต้องการเร่งขยายโอกาสทางการค้าและการลงทุนกับประเทศคู่ค้าสำคัญ ผ่านการจัดทำ FTA เพื่อลดอุปสรรคทางการค้า อำนวยความสะดวกกับภาคธุรกิจ ยกระดับมาตรฐาน สร้างความเชื่อมั่นและดึงดูดการลงทุน รวมถึงกระชับความสัมพันธ์และสร้างความร่วมมือที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน
สำหรับ ปี 2567 (ม.ค. - ต.ค) ไทยกับเอฟตามีมูลค่าการค้ารวม 10,293.53 ล้านดอลลาร์ หรือคิดเป็นร้อยละ 2.03 ของการค้าทั้งหมดของไทยกับโลกขยายตัวเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ร้อยละ 23.22 โดยไทยส่งออกไปเอฟตา 3,787.97ล้านดอลลาร์ และนำเข้าจากเอฟตา 6,505.56 ล้านดอลลาร์