น้ำท่วมภาคใต้ 2567 ความคืบหน้าน้ำท่วมภาคใต้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย หรือ ปภ. ได้รายงานสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่ นครศรีธรรมราช พัทลุง สตูล สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส รวม 78 อำเภอ 508 ตำบล 3,387 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 617,386 ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิต 12 ราย ทําให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลากระหว่างวันที่ 22 พ.ย. - 1 ธันวาคม 67 ปัจจุบันมีสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่ 7 จังหวัด ได้แก่
นายกฯ เตรียมลงพื้นที่น้ำท่วมใต้ 6 ธ.ค.นี้
นายกรัฐมนตรี แพทองธาร ชินวัตร มีกำหนดการลงพื้นที่ จังหวัดสงขลา และปัตตานี เพื่อเยี่ยมให้กำลังใจ ติดตามสถานการณ์น้ำ และเร่งรัดการเยียวยาฟื้นฟูพื้นที่ประสบอุทกภัยภาคใต้ ในวันที่ 6 ธันวาคมนี้ พร้อมสั่งการ หน่วยงานต่าง ๆ เร่งรัดให้การช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย โดยเฉพาะจุดที่ขาดแคลนเครื่องมือ รวมทั้งขั้นตอนการเยียวยาก็ต้องทำให้รวดเร็ว อย่าให้ประชาชนต้องรอนาน
นายกรัฐมนตรี ยืนยันด้วยว่า ไม่ได้ละเลยน้ำท่วมภาคใต้ เพราะสามีก็เป็นคนใต้เหมือนกัน ย้ำว่าทุกความช่วยเหลือ ระดมส่งไปทั้งหมดแล้ว
ขณะเดียวกัน นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย มั่นใจว่าสถานการณ์เริ่มดีขึ้น ตามลำดับหลังปริมาณฝนลดลง ส่วนการจ่ายเงินเยียวยา จะใช้หลักเกณฑ์เดิมจ่ายสูงสุดครัวเรือละ 9,000 บาท ใช้เงินจากงบกลางก่อน โดยจะเสนอเข้าที่ประชุม ครม.สัปดาห์หน้า ส่วนปีหน้าอาจปรับหลักเกณฑ์เงินเยียวยาใหม่
1. ยื่นคำร้องด้วยตนเองที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในพื้นที่ประสบอุทกภัย ซึ่งสามารถดำเนินการได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
2. ยื่นคำร้องออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ http://flood67.disaster.go.th ซึ่งจะเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 26 กันยายน 2567
เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2567 ที่ผ่านมา นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี หรือ ครม. ว่าจากสถานกาณ์อุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ที่ได้เกิดขึ้น ถือเป็นวาระเร่งด่วนของรัฐบาล ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอการเพิ่มกรอบเงินทดลองของจังหวัดจากเดิม 20 ล้านบาท ขยายเพิ่มเป็น 50 ล้านบาทในพื้นที่จังหวัดที่ผู้ว่าราชการจังหวัดได้ประกาศเป็นจังหวัดที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติ ในพื้นที่ 6 จังหวัด ได้แก่
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคระรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบอนุมัติใช้จ่ายเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยในช่วงในช่วงฤดูฝนปี พ.ศ. 2567 เพิ่มเติมในกรอบของงบประมาณตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขและก็วิธีการจ่ายเงิน ที่มีการให้ปรับให้ในกรณีที่ ที่อยู่อาศัยประจำอยู่ในพื้นที่ น้ำท่วม ดินถล่ม น้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก น้ำล้นตลิ่งไม่เกิน 7 วัน และในส่วนของทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหายหรือที่อยู่อาศัยประจำถูกน้ำท่วมขัง ติดต่อกันเกินกว่า 7 วันให้ความช่วยเหลืออัตราเดียว ทุก ๆ ครัวเรือนละ 9,000 บาท จากเดิมในพื้นที่ 57 จังหวัดโดยได้เพิ่มเติมอีก 16 จังหวัด รวมถึงในพื้นที่จังหวัดในภาคใต้ที่ได้รับผลกระทบในครั้งนี้ เป็นจำนวนเงิน 5,000 ล้านบาท จนถึงสิ้นปี พ.ศ 2567 โดยให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการอย่างเร่งด่วนต่อไป.