เงินหมื่นผู้สูงอายุ แจกเงินก้อนเดียวเป็นเงินสด 10000 บาท จ่ายผ่านพร้อมเพย์

19 พ.ย. 2567 | 06:30 น.
1.9 k

เงินหมื่นผู้สูงอายุ รัฐบาลแจกเงินก้อนเดียวเป็นเงินสด 10000 จ่ายผ่านพร้อมเพย์ผูกบัตรประชาชน ตรวจสอบเงื่อนไขและคุณสมบัติ ลงทะเบียนผ่านแอปทางรัฐ ดูเลย

เงินหมื่นผู้สูงอายุ  วันนี้ 19 พฤศจิกายน 2567 บอร์ดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ นัดประชุมเป็นรอบแรก หลังจากการประชุมแล้วเสร็จ นางสาวแพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ ในฐานะประธานกรรมนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ แถลงข่าวมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ เวลา 15.00 น.

ผู้สูงอายุ 50 ปีขึ้นไปที่ลงทะเบียนแอปทางรัฐ เตรียมผูกพร้อมเพย์กับบัตรประชาชน

เงินหมื่นผู้สูงอายุ  รับเงินสดทั้งก้อนเป็นเงินสด 10,000 บาท เรื่องนี้ยืนยันได้จากคำให้สัมภาษณ์ของ  นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ในวันที่ 19 พฤศจิกายน กระทรวงการคลังจะเสนอแนวทางการกระจายเงินช่วยเหลือกลุ่มผู้สูงอายุ ให้ที่ประชุมพิจารณา โดยเกณฑ์เบื้องต้นมีความเป็นไปได้ที่จะแจกเงินก้อนเดียวเป็นเงินสด 1 หมื่นบาท

“ต้องเป็นกลุ่มที่ไม่ซ้ำซ้อนกับกลุ่มเปราะบางที่เคยได้รับเงิน 1 หมื่นบาทไปแล้วก่อนหน้านี้ ที่สำคัญต้องลงทะเบียน รับเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาทผ่านแอปฯ ทางรัฐไว้แล้ว ส่วนกลุ่มอายุที่ได้รับ กำลังพิจารณาว่าจะเริ่มตั้งแต่ 50 ปี หรือ 60 ปี ขึ้นอยู่กับการพิจารณาที่ประชุม” นายเผ่าภูมิกล่าว

ดังนั้นเมื่อถอดรหัสคำพูดของ นายเผ่าภูมิ แจกเงินสดก้อนเดียว 10000 ผู้สูงอายุ หมายความว่า กลุ่มผู้สูงอายุต้องผูกพร้อมเพย์กับบัตรประชาชน เช่นเดียวกับการจ่ายเงินดิจิทัล 10000 ในเฟสแรก ที่ให้ผู้ได้รับสิทธิ์ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และ คนพิการ ผูกพร้อมเพย์กับบัตรประชาชน

เงื่อนไขผู้สูงอายุ 50 ปีขึ้นไป ได้รับเงินสด 10,000 บาท รายละเอียดดังนี้

เมื่อพลิกไปดูเงื่อนไขโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่าน Digital Wallet กำหนด แนวทางการลงทะเบียนรับสิทธิ ดังนี้

1.สมัครใช้งานแอปพลิเคชัน “ทางรัฐ” ผ่านสมาร์ตโฟนได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป

2.ลงทะเบียนรับสิทธิโครงการฯ สำหรับผู้ที่มีสมาร์ตโฟน โดยเปิดลงทะเบียน ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม – 15 กันยายน 2567

เงินหมื่นผู้สูงอายุ  แจกเงินก้อนเดียวเป็นเงินสด 10000 บาท จ่ายผ่านพร้อมเพย์

 

คุณสมบัติและข้อกำหนด การเข้าร่วมโครงการฯ สำหรับประชาชน

  • เป็นผู้ที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
  • สัญชาติไทย
  • มีอายุตั้งแต่ 16 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ณ วันที่ปิดรับลงทะเบียน
  • ไม่เป็นผู้มีรายได้เกิน 840,000 บาท สำหรับปีภาษี 2566 โดยกรมสรรพากรประมวลผลข้อมูล ผู้มีรายได้ 7 วัน ก่อนเปิดลงทะเบียนโครงการ

เงินฝาก

ไม่เป็นผู้ที่มีเงินฝากกับธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2567 รวมกันเกิน 500,000 บาท โดยเป็นการตรวจสอบเงินฝาก จำนวน 6 ประเภท ได้แก่

  • เงินฝากกระแสรายวัน
  • เงินฝากออมทรัพย์
  • เงินฝากประจำ
  • บัตรเงินฝาก
  • ใบรับฝากเงิน
  • ผลิตภัณฑ์เงินฝากในชื่อเรียกอื่นใดที่มีลักษณะเดียวกับข้อ (1) – (5)

โดยเงินฝากให้หมายถึงเฉพาะเงินฝากที่อยู่ในรูปสกุลเงินบาทเท่านั้น และไม่รวมถึงเงินฝากในบัญชีร่วม

ต้องไม่เป็น

  • ผู้ที่อยู่ระหว่างต้องโทษจำคุกในเรือนจำ
  • ผู้ที่ถูกระงับสิทธิหรือถูกเรียกเงินคืนในมาตรการ/โครงการอื่นๆ ของรัฐ
  • ผู้ฝ่าฝืนเงื่อนไขของมาตรการ/โครงการอื่น ๆ ของรัฐ.