สทนช. จับตา 7 เขื่อนใหญ่น้ำเกินความจุกักเก็บ เร่งพร่องน้ำรับพายุปลายฤดูฝน

20 ต.ค. 2567 | 15:35 น.
อัปเดตล่าสุด :20 ต.ค. 2567 | 15:35 น.

สทนช. จับตา 7 เขื่อนใหญ่น้ำเกินความจุกักเก็บ เร่งพร่องน้ำรับมือพายุอีกลูกปลายฤดูฝน ตั้งแต่เดือนกันยายน เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนพื้นที่ท้ายน้ำ

สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.)แถลงการณ์สถานการณ์น้ำประจำวันที่ 20 ตุลาคม 2567  จับตา 7 เขื่อนใหญ่น้ำเกินความจุกักเก็บ เร่งพร่องน้ำตั้งแต่เดือนกันยายน เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนพื้นที่ท้ายน้ำ ได้แก่

 

1. อ่างเก็บน้ำแม่งัดสมบูรณ์ จ.เชียงใหม่

2. อ่างเก็บน้ำมอก

3.อ่างเก็บน้ำกิ่วคอหมา จ.ลำปาง

4. อ่างเก็บน้ำสิริกิตติ์ จ.อุตรดิตถ์

5.อ่างเก็บน้ำห้วยหลวง จ.อุดรธานี

6. อ่างเก็บน้ำอุบลรัตน์ จ.ขอนแก่น

7.อ่างเก็บน้ำนฤบดินทรจินดา จ.ปราจีนบุรี

 

ทาง สทนช. คาดการณ์ปริมาณฝน : ช่วงวันที่ 23 - 25 ต.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นจากประเทศจีนยังคงปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และทะเลจีนใต้ ในขณะที่ร่องมรสุมเลื่อนลงไปพาดผ่านภาคใต้ตอนกลาง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นบางพื้นที่ ส่วนภาคใต้ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง

  • สถานการณ์แม่น้ำป่าสัก ปัจจุบันสถานการณ์น้ำอยู่ในสภาวะปกติ และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

ปัจจุบันระบายน้ำในอัตรา 10 ลบ.ม./วินาที เพื่อลดปริมาณน้ำที่จะไหลลงไปสมทบกับแม่น้ำเจ้าพระยา และบรรเทาปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ทางตอนล่างของลุ่มน้ำเจ้าพระยาในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล โดยระดับน้ำในแม่น้ำป่าสักยังอยู่ในลำน้ำและไม่เกิดสภาวะน้ำล้นตลิ่ง

 

  •  สถานการณ์แม่น้ำเจ้าพระยา ปริมาณน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาที่สถานี C.2 อ.เมือง จ.นครสวรรค์ ความจุลำน้ำ 3,660 ลบ.ม./วินาที ปัจจุบันมีปริมาณน้ำ 1,573 ลบ.ม./วินาที (ร้อยละ 43 ของความจุลำน้ำ) คาดว่าในช่วง 7 วันข้างหน้าจะมีปริมาณน้ำจะอยู่ในช่วง 1,400 – 1,600 ลบ.ม./วินาที (ร้อยละ 42 - 52 ของความจุลำน้ำ) ปัจจุบันเขื่อนเจ้าพระยาระบายน้ำในอัตรา 1,300 ลบ.ม./วินาที และคงอัตราดังกล่าวต่อเนื่อง สำหรับสถานี C.29A ศูนย์ศิลปาชีพบางไทรจ.พระนครศรีอยุธยา มีความจุลำน้ำ 3,500 ลบ.ม./วินาที ปัจจุบันมีปริมาณน้ำ 1,033 ลบ.ม./วินาที (ร้อยละ 30 ของความจุลำน้ำ)

 

  • สถานการณ์แม่น้ำชี ปัจจุบันสถานการณ์แม่น้ำชีอยู่ในสภาวะปกติ สถานี E.66A อ.จังหาร จ.ร้อยเอ็ด ปัจจุบันมีระดับน้ำ 8.02 ม. ต่ำกว่าตลิ่ง 3.58 ม. (ระดับตลิ่ง 11.60 ม.) ระดับน้ำมีแนวโน้มทรงตัว  

 

  • สถานการณ์แม่น้ำมูล ปัจจุบันสถานการณ์แม่น้ำมูลอยู่ในสภาวะปกติ สถานี M.7 อ.เมืองอุบลราชธานี จ.อุบลราชธานี ปัจจุบันมีระดับน้ำ 5.10 ม. ต่ำกว่าตลิ่ง 1.90 ม. (ระดับตลิ่ง 7.00 ม.) ระดับน้ำมีแนวโน้มทรงตัว 

  •  สถานการณ์แม่น้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจุบันสถานการณ์แม่น้ำโขง และแม่น้ำในลุ่มน้ำโขงตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ในสภาวะปกติ สถานี Kh.103 อ.เมืองอุดรธานี จ.อุดรธานี ปัจจุบันมีระดับน้ำ 2.13 ม. ต่ำกว่าตลิ่ง 2.87 ม. (ระดับตลิ่ง 5.00 ม.) ระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง 

 

  • สถานการณ์แม่น้ำเพชรบุรี ปัจจุบันสถานการณ์แม่น้ำเพชรบุรี อยู่ในสภาวะปกติ สถานี B.10 อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี ปัจจุบันมีระดับน้ำ 1.24 ม. ต่ำกว่าตลิ่ง 7.26 ม. (ระดับตลิ่ง 8.50 ม.) ระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง สถานี B.15 อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี ปัจจุบันมีระดับน้ำ 0.79 ม. ต่ำกว่าตลิ่ง 4.31 ม. (ระดับตลิ่ง 5.10 ม.) ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และเขื่อนแก่งกระจาน มีปริมาณน้ำ 464 ล้าน ลบ.ม. (65% ของความจุอ่างฯ)

 

  • สถานการณ์น้ำคลองท่าดี ปัจจุบันสถานการณ์น้ำคลองท่าดี อยู่ในสภาวะปกติ สถานี X.203 อ.เมืองฯ จ.นครศรีธรรมราช ปัจจุบันมีระดับน้ำ 8.42 ม. ต่ำกว่าตลิ่ง 2.08 ม. (ระดับตลิ่ง 10.50 ม.) ระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง

  • สถานการณ์แม่น้ำปัตตานี ปัจจุบันสถานการณ์แม่น้ำปัตตานี อยู่ในสภาวะปกติ สถานี X.40A อ.เมืองฯ จ.ยะลา ปัจจุบันมีระดับน้ำ 14.09 ม. ต่ำกว่าตลิ่ง 2.41 ม. (ระดับตลิ่ง 16.50 ม.) ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และสถานี X.10A อ.เมืองฯ จ.ปัตตานี ปัจจุบันมีระดับน้ำ -0.09 ม. ต่ำกว่าตลิ่ง 1.24 ม. (ระดับตลิ่ง 1.15 ม.) ระดับน้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ปัจจุบันเขื่อนบางลางมีปริมาณน้ำ 807 ล้าน ลบ.ม. (55% ของความจุอ่าง) ปัจจุบันระบายน้ำในอัตรา 13 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน และเพิ่มอัตราการระบายน้ำเป็นขั้นบันไดจนถึง 16 ล้าน ลบ.ม. ต่อวัน เพื่อพร่องน้ำสำหรับรองรับน้ำหลากในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2567 ถึง มกราคม 2568 ปัจจุบันยังสามารถรองรับน้ำได้อีก 647 ล้าน ลบ.ม.

สถานการณ์น้ำท่วม

​สถานการณ์น้ำท่วมปัจจุบัน พบในพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ จ.ลำพูน (อ.เมืองฯ) จ.อุทัยธานี (อ.บ้านไร่) จ.สุพรรณบุรี (อ.บางปลาม้า และสองพี่น้อง)จ.พระนครศรีอยุธยา (อ.เสนา พระนครศรีอยุธยา บางบาล บางปะอิน บางปะหัน ผักไห่ และบางไทร) และ จ.นครปฐม (อ.นครชัยศรี และบางเลน) ปัจจุบันสถานการณ์กลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว 1 จังหวัด ได้แก่ จ.อุทัยธานี (อ.บ้านไร่)

การช่วยเหลือ

ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.). มีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 17 ก.ย. 67 และ 8 ต.ค.67 อนุมัติงบประมาณสำหรับช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในช่วงฤดูฝน ปี 2567 จำนวน 3,045 ล้านบาท และกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ส่งข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบให้ธนาคารออมสินแล้ว 10 ครั้ง รวมทั้งสิ้น 64,732 ครัวเรือน โดยโอนเงินสำเร็จแล้ว 45,827 ครัวเรือน จำนวนเงิน 412,379,000 บาท ทั้งนี้ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และจังหวัด ได้มีการใช้จ่ายเงินทดรองราชการไปแล้ว 61,990,195.06 บาท

  •  กระทรวงสาธารณสุข ปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข 4,324 ทีม สนับสนุนยาและเวชภัณฑ์ รวม 274,879 ชุด ดูแลประชาชน รวม 241,708 คน / ดูแลประชาชนด้านสุขภาพจิต รวม 58,280 คน และเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์พร้อมสื่อสารเตือนภัยประชาชน ทั้งโรคและภัยสุขภาพมาจาก อุทกภัย เช่น ฉี่หนู ไข้เลือดออก ท้องเสีย ปอดอักเสบ ไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น

 

  • กระทรวงคมนาคม เกิดสถานการณ์สะสม 461 แห่ง จำแนกเป็น ถนน 445 แห่ง(ผ่านได้ 443 แห่ง ผ่านไม่ได้ 2 แห่ง) รางรถไฟ 16 แห่ง (ผ่านได้ 15 แห่ง ผ่านไม่ได้ 1 แห่ง) อยู่ระหว่าซ่อมแซมเส้นทาง 3 แห่ง