เช็คเงิน 10000 กลุ่มเปราะบาง เดือนตุลาคม 2567 ทั้ง 3 กลุ่มได้เงินกี่บาทดูเลย

09 ต.ค. 2567 | 06:24 น.
อัปเดตล่าสุด :09 ต.ค. 2567 | 06:59 น.

เช็คเงิน 10000 กลุ่มเปราะบาง เดือนตุลาคม 2567 ทั้งเงินอุดหนุนบุตร เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ เบี้ยผู้พิการ โอนเงินเข้าบัญชีพร้อมเพย์วันไหน ทั้ง 3 กลุ่มได้กี่บาท มัดรวมไว้แล้วคลิกอ่านด่วน

เช็คเงิน 10000 กลุ่มเปราะบาง เดือนตุลาคม 2567 เงินกลุ่มเปราะบาง ในโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ 2567 ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และ คนพิการ จำนวนกว่า 14.55  ล้านราย กรมบัญชีกลาง โดย กระทรวงการคลัง ได้โอนเงินสำเร็จไปแล้วเมื่อวันที่ 30 กันยายนที่ผ่านมาให้กับกลุ่มเปราะบางไปแล้วรายละ 10000 แต่มีผู้โอนเงินไม่สำเร็จจำนวน 3.8 แสนรายนั้น โดย กรมบัญชีกลาง ให้โอกาส กลุ่มเปราะบางลงทะเบียนแก้ไขข้อมูลได้ถึงวันที่ 3 ธันวาคม 2567 โดยจะโอนเงินซ้ำ 3 ครั้ง หากยังไม่ดำเนินการแก้ไขจะถือว่าสละสิทธิ์

แต่สำหรับในเดือนตุลาคม 2567 กลุ่มเปราะบาง ซึ่งรัฐสวัสดิการช่วยเหลือทุกเดือน 3 กลุ่มได้แก่

  • เงินอุดหนุนบุตร
  • เงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
  • เงินเบี้ยผู้พิการ
  • ในงวดเดือนตุลาคม 2567 โอนเข้าบัญชีพร้อมเพย์ผูกบัตรประชาชน ในวันพฤหัสบดีที่ 10 ตุลาคม 2567
     

เงินอุดหนุนบุตร เดือนตุลาคม 2567

  • เด็กแรกเกิด - 6 ขวบ จะได้รับเงินอุดหนุนบุตร 600 บาทต่อเดือน และ ไม่จำกัดจำนวนบุตร


ลงทะเบียนเงินอุดหนุนบุตรเด็กแรกเกิดรายใหม่


พ่อแม่ผู้ปกครองรายใหม่ สามารถติดต่อลงทะเบียนรับเงินอุดหนุนบุตรได้ในพื้นที่ที่เด็กแรกเกิดและผู้ปกครองอาศัยอยู่จริง ดังนี้

  • กรุงเทพมหานคร ลงทะเบียนได้ที่สำนักงานเขต
  • เมืองพัทยา ลงทะเบียนได้ที่ศาลาว่าการเมืองพัทยา
  • ส่วนภูมิภาค ลงทะเบียนได้ที่องค์การบริหารส่วนตำบลหรือเทศบาล

เงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ

  • ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ แบบขั้นบันได ตั้งแต่ 600 -1,000 บาท

การโอนเงินตามเกณฑ์อายุ ดังต่อไปนี้

  • อายุ 60-69 ปี ได้รับ 600 บาทต่อเดือน

  • อายุ 70-79 ปี ได้รับ 700 บาทต่อเดือน

  • อายุ 80-89 ปี ได้รับ 800 บาทต่อเดือน

  • อายุ 90 ปี ขึ้นไป ได้รับ 1000 บาทต่อเดือน

ตารางโอนเงินกลุ่มเปราะบาง เงินอุดหนุนบุตร เบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ และ คนพิการ

โดย กรมกิจการผู้สูงอายุ ภายใต้สังกัดกระทรวงพัฒนาและความมั่นคงของมนุษย์ หรือ พม. เปิดให้ลงทะเบียนในแต่ละปีจะมีการเปิดให้ผู้ที่มีคุณสมบัติรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุรายใหม่ มาลงทะเบียน ซึ่งการเปิดรับลงทะเบียนเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุปี 2569 สามารถลงทะเบียนได้แล้ว ภายในเดือนตุลาคม 2567 ถึง กันยายน 2568 รายละเอียดคุณสมบัติดังนี้

  • เป็นผู้สูงอายุรายใหม่ และยังไม่เคยลงทะเบียน
  • สัญชาติไทย เป็นผู้มีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ ในปีงบประมาณ 2569 นับอายุจนถึงวันที่ 1 กันยายน 2568 (เกิดตั้งแต่ 2 กันยายน 2508 - 1 กันยายน 2509)


เอกสารที่ต้องเตรียมเพื่อขอรับสิทธิ์

  • สำเนาทะเบียนบ้าน และ สำเนาหน้าสมุดบัญชี
  • เพื่อขอขึ้นทะเบียนรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ


สถานที่ลงทะเบียน

  • โดยผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร ลงทะเบียน ณ สำนักงานเขตที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน
  • ต่างจังหวัดยื่นได้ที่สำนักงานเทศบาลหรือองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ที่ผู้สูงอายุมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้าน


เงินเบี้ยผู้พิการ เดือนตุลาคม 2567

  •  ผู้พิการที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป 800 บาท
  • ผู้พิการที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี รับเบี้ยยังชีพจำนวน 1000 บาท

ผู้พิการสามารถติดต่อขึ้นทะเบียนคนพิการ ได้ที่สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ตั้งอยู่ที่ศาลากลางจังหวัดในทุกจังหวัด) หรือ พื้นที่กรุงเทพมหานคร ติดต่อได้ที่ กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ, ศูนย์บริการคนพิการกรุงเทพมหานคร

สำหรับผู้พิการที่มีสิทธิได้รับเงิน 10000  ในโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ 2567 ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และ คนพิการ ซึ่งเป็นกลุ่มตกหล่นที่รวมทั้งสิ้น 3.8 แสนราย แต่ยังไม่เคยขึ้นทะเบียน ไม่มีบัตรประจำตัวคนพิการ รอบโอนกลุ่มเก็บตก ในวันที่ 22 ต.ค., 22 พ.ย. และ 22 ธ.ค.67

ขั้นตอนการขอมีบัตรประจำตัวคนพิการ เอกสารที่ต้องไปดำเนินการ

  • คนพิการเข้ารับการตรวจ เพื่อขอรับเอกสารรับรองความพิการ ณ โรงพยาบาลของรัฐ
  • คนพิการ/ผู้ดูแล นำเอกสารยื่นเจ้าหน้าที่ ทำการตรวจสอบเอกสาร
  • เจ้าหน้าที่ทำการบันทึกข้อมูล ออกบัตรประจำตัวคนพิการ
  • ยื่นบัตรขึ้นทะเบียน
  • รอรับสิทธิเบี้ยความพิการ


เอกสารที่ต้องเตรียม (อย่างละ 1 ฉบับ)

  • เอกสารรับรองความพิการ จากโรงพยาบาลของรัฐ
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือ สำเนาสูติบัตร (คนพิการ)
  • สำเนาทะเบียนบ้าน (คนพิการ)
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน/สำเนาทะเบียนบ้าน (ผู้ดูแล)
  • รูปถ่ายคนพิการ 1 นิ้ว (กรณีคนพิการไม่สามารถมาด้วยตนเอง)


กรณีผู้ที่จะเป็นผู้ดูแลคนพิการ ไม่ใช่ญาติร่วมสายโลหิต หรือ ทะเบียนบ้านไม่ได้อยู่ร่วมกับคนพิการ ให้ข้าราชการ กำนัน หรือ ผู้ใหญ่บ้าน รับรองบุคคลนั้นว่า เป็นผู้ดูแลคนพิการ พร้อมสำเนาทะเบียนบ้าน สำเนาบัตรข้าราชการ อย่างละ 1 ฉบับ

ช่องทางตรวจสอบสิทธิ เงินช่วยเหลือ 3 กลุ่ม

  • เงินอุดหนุนบุตร
  • เงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ
  •  เงินเบี้ยผู้พิการ
  • สามารถตรวจสอบเงินเข้าได้ตามช่องทาง ดังนี้

แอปพลิเคชันทางรัฐ

แอปพลิเคชันเงินเด็ก

 

กรณีมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเงินเยียวยากลุ่มเปราะบาง สามารถสอบถามผ่านช่องทางดังต่อไปนี้

  • กรมบัญชีกลาง Call Center 0-2270-6400 หมายเลขโทรศัพท์กลาง 0-2127-7000

  • ตรวจสอบบนเว็บไซต์ กรมกิจการเด็กและเยาวชน คลิกที่นี่

  • ศูนย์ปฏิบัติการโครงการเงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด โทรศัพท์หมายเลข 08 2091 7245, 08 2037 9767, 08 3431 3533, 06 5731 3199 (ในวันเวลาราชการ จันทร์ - ศุกร์ ระหว่างเวลา 08.30 - 17.00 น.)

  • ศูนย์ช่วยเหลือสังคม กระทรวง พม. โทร. 1300 ตลอด 24 ชั่วโมง 

  • กรมกิจการผู้สูงอายุ โทรศัพท์หมายเลข 0 2642 4336-9

  • กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ โทรศัพท์หมายเลข 0 2354 3388 ต่อ 311 หรือ 313.

ที่มา: กระทรวงพัฒนาและสังคมมั่นคงของมนุษย์