สถานการณ์ความยากจนในประเทศไทย ปี 2567 โดยเฉพาะตัวเลข “คนจน” นั้น ที่ผ่านมามีการเก็บตัวเลขกระจัดกระจายหลายหน่วยงาน ทั้งกระทรวงการคลัง ที่มีตัวเลขผู้มีรายได้น้อยที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ข้อมูลสถานการณ์ความยากจนของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ของกระทรวงมหาดไทย แม้กระทั่งตัวเลขกลุ่มคนเปราะบางของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.)
แต่ปัจจุบันนั้น การเก็บตัวเลขจำนวนคนจนในประเทศไทย มีการเก็บข้อมูลผ่านระบบฐานข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (TPMAP) ซึ่งรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อให้รับทราบว่ามีคนจนอยู่ในพื้นที่ใดบ้าง โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีปัญหาความยากจนอย่างแท้จริง หรือที่เรียกว่า “คนจนเป้าหมาย”
สำหรับ "คนจนเป้าหมาย" ในประเทศไทย คือ คนจนที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน เนื่องจากเป็นคนที่ได้รับการสำรวจจาก ข้อมูลความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย ถูกนำมาวิเคราะห์ด้วยดัชนีความยากจนหลายมิติว่ายากจน รวมทั้งข้อมูลจากผู้ลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐ กระทรวงการคลัง
สำหรับข้อมูลของระบบฐานข้อมูลการพัฒนาคนแบบชี้เป้า (TPMAP) ในปี 2567 เป็นการบูรณาการข้อมูลระหว่าง จปฐ 2566 และ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ปี 2565 โดยมีตัวเลขที่น่าสนใจเกี่ยวกับ “คนจนเป้าหมาย” ของประเทศไทยในปัจจุบัน ดังนี้
จากการตรวจสอบข้อมูล TPMAP พบว่า ในปี 2567 ประเทศไทยมีคนจนเป้าหมายรวมทั้งสิ้น 813,054 คน จากการสำรวจประชากรทั้งสิ้น 34,770,696 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 20 ส.ค.2567)
ทั้งนี้เมื่อสำรวจข้อมูลย้อนหลัง ตั้งแต่ปี 2560 - ปัจจุบัน มีดังนี้
อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบเทียบตัวเลข ในปี 2567 ประเทศไทยมีคนจนเป้าหมายรวมทั้งสิ้น 813,054 คน และ ปี 2566 ที่มีจำนวนคนจนรวมทั้งสิ้น 211,739 คน พบว่ามีอัตราเพิ่มขึ้นสูงถึง 3.8 เท่า
หากแยกความยากจนออกเป็นมิติต่าง ๆ จำนวน 5 มิติ คือ ด้านสุขภาพ ด้านความเป็นอยู่ ด้านการศึกษา ด้านรายได้ และด้านการเข้าถึงบริการรัฐ พบว่า จำนวนคนจนที่มีทั้งหมด 813,054 คน มีความจากจนกระทยอยู่ในมิติต่าง ๆ (คนจนเป้าหมาย 1 คน มีปัญหาได้มากกว่า 1 ด้าน) ประกอบไปด้วย