นายรพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร ได้รับมอบหมายจากร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่ารัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์นำทีมสร้างความร่วมมือขับเคลื่อนเทคโนโลยีการปรับปรุงพันธุ์ใหม่ (New Breeding Technology -NBT) โดยเฉพาะการปรับแต่งจีโนม (Genome Editing, GEd)ร่วมกับกระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (USDA) ทั้งด้านวิจัย และการกำกับดูแลระหว่างวันที่ 24-29 สิงหาคม 2567 ที่ผ่านมา
ด้วยเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนม (Genome Editing, GEd) มีศักยภาพในการปรับปรุงพันธุ์พืชเพื่อใช้ประโยชน์ในภาคการเกษตร มีความปลอดภัยสูงและมีประสิทธิภาพส่งเสริมการแข่งขันของภาคการเกษตรเพื่อรองรับวิกฤตความมั่นคงทางอาหารและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) และองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (OECD) ให้การยอมรับและสนับสนุนพัฒนาเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนม ประเทศต่างๆ อาทิ สหรัฐอเมริกา จีน ญี่ปุ่น เร่งวิจัยปรับปรุงพันธุ์พืชด้วยเทคโนโลยีดังกล่าวในการนี้เพื่อยกระดับพัฒนาศักยภาพและสร้างความเข็มแข็งภาคเกษตรของประเทศ จึงเร่งส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนมสู่การใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า การมาเยือนสหรัฐอเมริกาประสบความสำเร็จในการหารือความร่วมมือกับหน่วยงานภายใต้กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกาโดยมีแผนการขับเคลื่อนดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม ดังนี้
ด้านการกำกับดูแล มีแผนความร่วมมือกับ APHIS โดย Dr. Bernadette Juarez, Deputy Administrator, APHIS-Biotechnology Regulatory Servicesและภาคเอกชน Dr. Paul Spencer, Corteva และ Dr. Scott Kuschmider,Bayer นำร่องการขับเคลื่อนประเมินตามแนวทางการพิจารณาพืชที่พัฒนาจากเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนม ตามประกาศกรมวิชาการเกษตร เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการรับรองพืชที่พัฒนาจากเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนม พ.ศ. 2567 เพื่อนำร่องขับเคลื่อนด้านการกำกับดูแลอย่างเป็นรูปธรรม ภายในต้นปีหน้า
กรมวิชาการเกษตรร่วมกับ USDA และภาคีเครือข่ายผลักดันเทคโนโลยีการปรับแต่งจีโนม โดยจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ Plant Breeding Innovation for sustainable Agriculture and Agro-economic Developments วันที่ 3-4 กันยายน 2567 ณ กรุงเทพมหานครเพื่อสร้างการรับรู้และผลักดันการใช้ประโยชน์อย่างแท้จริง
สำหรับแผนปฏิบัติการในปี 2568 ด้านงานวิจัยเตรียมส่งนักวิชาการจากกรมวิชาการเกษตร ขอรับทุน Cochran และ BorlaugFellowship programไปเรียนรู้การปรับปรุงพันธุ์พืชด้วยเทคโนโลยี GEdกับหน่วยวิจัยในสหรัฐอเมริกา ซึ่ง Dr. Ibrahim Shaqir, Director Beltsville Agricultural Research Serviceม Dr.IngridWatsan, Director OIRECและ Dr. Jack Okamura National Program Leader Plant Biologyกล่าวถึงเทคโนโลยีใหม่Symbionสร้างภูมิคุ้มกันพืชต้านทานโรค นอกจากนี้จากการหารือProf. Yiping Qi มหาวิทยาลัย Marylandพัฒนาโครงการวิจัยร่วมโดยขอรับการสนับสนุนงบประมาณวิจัย สวก. และ สกสว. พัฒนานักวิจัยไทย
โดยกรมวิชาการเกษตรจะนำร่องส่งนักวิจัยรุ่นใหม่เรียนรู้เทคโนโลยีที่สหรัฐอเมริกา พร้อมกันนี้ได้ประสานบริษัท Corteva และ Bayer ที่เป็นผู้นำเทคโนโลยีภาคเอกชน ในการพัฒนาความร่วมมือการทดสอบในสภาพแปลงทดลองขับเคลื่อนการใช้เทคนิคการปรับปรุงพันธุ์พืชใหม่ (NBTs)ในการพัฒนาพันธุ์พืชใหม่ อาทิถั่วเหลืองทนแล้ง/ไขมันดีสูง ข้าวโพดทนแล้ง เป็นต้น
เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรมยกระดับคุณภาพและผลผลิตพันธุ์พัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางเมล็ดพันธุ์พืช และพันธุ์พืชเขตร้อนของโลก (Tropical seed hub) โดยการยกระดับ Phytosanitary Certificate ของไทยเข้าสู่ระบบดิจิตัล ซึ่งเป็นที่ยอมรับในเวทีการค้าเมล็ดพันธุ์ และการกำกับดูแลการเคลื่อนย้ายเมล็ดพันธุ์ระหว่างประเทศ เสริมสร้างความเชื่อมั่นในระบบการตรวจสอบศัตรูพืชของไทย ที่มีความขัดเจน รวดเร็ว ทันสถานการณ์
โดยเฉพาะในสถานการณ์ที่มีการแข่งขันทางการค้าสูงซึ่งเทคโนโลยีGEdนั้นได้รับการยอมรับจากนานาประเทศทั่วโลก รวมถึงหน่วยงานด้านความปลอดภัยทางชีวภาพ FAOรวมถึงประสานความร่วมมือDr.Andrew Roberts จาก Agriculture and Food System Instituteเพื่อพัฒนาแนวทางการใช้ CHATBot AI และสร้างการรับรู้ให้กับภาคส่วนต่างๆ ผ่านช่องทางสัมมนา และโซเชียลมีเดีย โดยเฉพาะเทคโนโลยีใหม่จะช่วยให้กลุ่มเยาวชนคนรุ่นใหม่ ให้เข้าใจถึงความปลอดภัยของเทคโนโลยี GEd ที่ถูกต้อง นำไปสู่การขับเคลื่อนใช้ประโยชน์และสร้างความสามารถในการแข่งขันและพึ่งพาตนเองของประเทศไทยได้อย่างเป็นรูปธรรม