จับ“ปลาหมอคางดำ”ออกจากแหล่งน้ำสมุทรสาคร เริ่มเห็นผลเป็นรูปธรรม

29 ก.ค. 2567 | 15:37 น.
อัปเดตล่าสุด :29 ก.ค. 2567 | 15:54 น.

“ซีพีเอฟ”เดินหน้าร่วม กับกรมประมง-โรงงานปลาป่น จับ “ปลาหมอคางดำ” ออกจากแหล่งน้ำ ชี้เริ่มเห็นผลเป็นรูปธรรมหลังทำ 3 โครงการ ชาวประมงสมุทรสาครจับปลาหมอคางดำได้น้อยลง คาดปลาหายไปแล้ว 80%

บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เผยหลังเดินหน้าร่วมมือกับกรมประมง และ โรงงานปลาป่นดำเนิน 3 ใน 5 โครงการจัดการปลาหมอคางดำ กิจกรรมจับปลา ปล่อยปลาผู้ล่า และการรับซื้อปลาทำปลาป่น เริ่มปรากฏผลลัพธ์อย่างเป็นรูปธรรมตามแผน 

ผู้ประกอบการโรงงานปลาป่น และชาวประมงช่วยยืนยันว่าตอนนี้ปลาหมอคางดำในจังหวัดสมุทรสาคร ลดลง 80% แล้ว จับปลามาขายให้โรงงานได้น้อยลง บริษัทพร้อมดำเนินงานเชิงรุกประสานงานกับประมงในหลายจังหวัด เพื่อหารือทำกิจกรรมตัดวงจรการระบาดอย่างจริงจัง   

นายอดิศร์ กฤษณวงศ์ ผู้บริหารสูงสุดงานรัฐกิจและเอกชนสัมพันธ์ ซีพีเอฟ กล่าวว่า บริษัทได้ลงพื้นที่ร่วมมือกับกรมประมงและโรงงานผลิตปลาป่นเร่งนำปลาหมอคางดำ ออกจากพื้นที่ เดินหน้า 3 ใน 5 โครงการเชิงรุก ประกอบด้วย 

                          จับ“ปลาหมอคางดำ”ออกจากแหล่งน้ำสมุทรสาคร เริ่มเห็นผลเป็นรูปธรรม

การสนับสนุนโรงงานปลาป่นรับซื้อปลาจากชาวประมง สนับสนุนกิจกรรมจับปลาของกรมประมงในหลายจังหวัด  และส่งมอบปลาผู้ล่าแก่ประมงจังหวัด โดยเฉพาะ บริษัท ศิริแสงอารำพี จำกัด ผู้ผลิตปลาป่นได้มาตรฐานสากล เปิดรับซื้อปลาหมอคางดำในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมาแล้ว 600,000 กิโลกรัม

และส่งมอบปลากะพงแล้ว 49,000 ตัวแก่ประมงจังหวัดสมุทรสงครามและจันทบุรี จากการดำเนินการเชิงรุกอย่างรวดเร็วส่งผลให้ปลาหมอคางดำลดลง

บริษัทร่วมมือกับประมงจังหวัด และหน่วยงานในจังหวัดที่มีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่อง ที่ผ่านมา สนับสนุนสำนักงานประมงสมุทรสงครามจัดกิจกรรม “ลงแขกลงคลอง” ไปแล้ว 5 ครั้ง

                         จับ“ปลาหมอคางดำ”ออกจากแหล่งน้ำสมุทรสาคร เริ่มเห็นผลเป็นรูปธรรม

สนับสนุนอุปกรณ์จับปลาและกำลังคนจับปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำ พร้อมกับมอบปลากะพงขาวรวม 49,000 ตัว ให้ประมงจังหวัดสมุทรสงคราม และจันทบุรีนำไปปล่อยเป็นปลาผู้ล่าต่อไป 

รวมทั้ง ยังได้เร่งประสานงาน และหารือกับสำนักงานประมงในพื้นที่ เพื่อจัดการสถานการณ์การแพร่ระบาดอย่างจริงจังต่อไป

“บริษัทได้รับความร่วมมืออย่างดีจากทุกภาคส่วน ช่วยให้แผนปฏิบัติการเชิงรุกจัดการปัญหาปลาหมอคางดำ 3 โครงการ มีความคืบหน้าตามแผน และเกิดผลจำนวนปลาหมอคางดำลดลงอย่างเป็นรูปธรรม 

และขณะนี้มีผู้เชี่ยวชาญและมหาวิทยาลัยเพิ่มเติมหลายแห่งติดต่อเข้ามา แสดงความสนใจร่วมมือศึกษาหาแนวทางการใช้ประโยชน์ และการควบคุมประชากรปลา เชื่อมั่นว่าการดำเนินโครงการจะมีส่วนช่วยเร่งกำจัดปลาหมอคางดำออกจากแหล่งน้ำ” นายอดิศร์ กล่าว  

                                   จับ“ปลาหมอคางดำ”ออกจากแหล่งน้ำสมุทรสาคร เริ่มเห็นผลเป็นรูปธรรม

ด้านนายปรีชา ศิริแสงอารำพี เจ้าของบริษัท ศิริแสงอารำพี จำกัด และประธานบริหารตลาดทะเลไทย กล่าวว่า โรงงานประกาศรับซื้อปลาหมอคางดำจากชาวประมง ในราคาที่สูงกว่าท้องตลาด ตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา โดยได้รับการสนับสนุนเป็นอย่างดีจากซีพีเอฟ ช่วยรับซื้อปลาหมอคางดำแล้ว 600,000 กิโลกรัม (600 ตัน)   ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2567 เป็นต้นไป

รับซื้อปลาหมอคางดำ ต่อเนื่องในราคา 15 บาท ต่อกิโลกรัมสนองนโยบายรัฐบาล มั่นใจว่าหากมีตลาดรองรับปลาให้ชาวประมง จะช่วยตัดวงจรการแพร่ระบาดในจังหวัดสมุทรสาครได้อย่างมีประสิทธิภาพ     

“การมีตลาดรองรับปลาหมอคางดำทุกขนาดในราคาที่ดี เป็นกลไกที่ช่วยสนับสนุนให้ชาวประมงเร่งจับปลาออกจากแหล่งน้ำได้รวดเร็ว และจากการรับซื้อตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมาเห็นผลชัดเจนมาก ชาวประมงบอกว่าปริมาณปลาหมอคางดำในแหล่งน้ำพื้นที่สมุทรสาครลดลง 80% เริ่มจับปลามาขายให้โรงงานได้น้อยลง” นายปรีชา กล่าว 

                        จับ“ปลาหมอคางดำ”ออกจากแหล่งน้ำสมุทรสาคร เริ่มเห็นผลเป็นรูปธรรม

ซีพีเอฟประกาศนำศักยภาพขององค์กรมาช่วยสนับสนุนและบรูณาการการดำเนินงานของทุกภาคส่วน เพื่อเร่งจัดการการแพร่ระบาดปลาหมอคางดำในพื้นที่ต่างๆ ผ่าน 5 โครงการเชิงรุก ประกอบด้วย 

1.ทำงานร่วมกับกรมประมงสนับสนุนการรับซื้อปลาหมอคางดำจากทุกจังหวัดทั่วประเทศราคา 15 บาทต่อกิโลกรัม จำนวน 2,000,000 กิโลกรัมนำมาผลิตปลาป่น ปัจจุบันรับซื้อไปแล้ว 600,000 กิโลกรัม 

2.ร่วมสนับสนุนภาครัฐและชุมชนปล่อยปลาผู้ล่าลงสู่แหล่งน้ำจำนวน 200,000 ตัว โดยดำเนินการภายใต้แนวทางการปล่อยปลาผู้ล่าของกรมประมง โดยสนับสนุนปลากะพงแล้ว 49,000 ตัว 

3.ร่วมสนับสนุนภาครัฐ ชุมชน และ ภาคประชาสังคมจัดกิจกรรมจับปลา สนับสนุนอุปกรณ์จับปลา และกำลังคนในทุกพื้นที่ 

4.การศึกษาและพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารจากปลาหมอคางดำ โดยมีสถาบันการศึกษาได้ร่วมดำเนินการ ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) 

และ 5. ร่วมวิจัยกับผู้เชี่ยวชาญในการหานวัตกรรม หรือแนวทางควบคุมประชากรปลาหมอคางดำ ซึ่งขณะนี้มี ม.เกษตรศาสตร์ และ สจล. ร่วมพัฒนาหาทางหยุดการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็วของปลาหมอคางดำอย่างยั่งยืนต่อไป