วันที่ 26 กรกฎาคม 2567 นายพูนพงษ์ นัยนาภากรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและยุทธศาตร์ แถลงภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทยเดือน มิถุนายน ว่าการส่งออกของไทยมีมูลค่า 24,769.6 ล้านดอลลาร์ หดลตัว 0.3% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 ส่วนการนำเข้ามูลค่า 24,578.5 ล้านดอลลาร์ เกินดุล 218 ล้านดอลลาร์
ทั้งนี้ สาเหุตหลักมาจากสินค้าผลไม้เข้าสู่ช่วงท้ายฤดูกาล จึงมีผลผลิตออกสู่ตลาดลดลงดุลการค้าไทยเกินดุลต่อเนื่อง 2 เดือน
ขณะที่บรรยากาศการค้าโลกเริ่มมีความวิตกกังวลต่อแนวโน่มการใช้มาตรการกีดกันทางการค้า
ทั้งนี้ภาพรวม 6 เดือนแรกของปี 2567 มีมูลค่า 145,290 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 2% เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2566 การนำเข้า มีมูลค่า 150,532.6 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 3% ดุลการค้า 6 เดือนแรกของปี 2567 ขาดดุล 5,242.7 ล้านดอลลาร์
ขณะที่ มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนมิถุนายน 2567 การส่งออกมีมูลค่า 892,766 ล้านบาท ขยายตัว 5% เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 895,256 ล้านบาท ขยายตัว 5.6%
ส่วนภาพรวมครึ่งแรกของปี 2567 การส่งออก มีมูลค่า 5,191,014 ล้านบาท ขยายตัว 7.4% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 5,437,480 ล้านบาท ขยายตัว 8.3% ดุลการค้าครึ่งแรกของปี 2567 ขาดดุล 246,466 ล้านบาท
สำหรับแนวโน้มการส่งออกในปี 2567 กระทรวงพาณิชย์คาดว่า การส่งออกของไทยในปี 2567 จะขยายตัวได้ตามเป้าหมาย โดยมีปัจจัยบวกจากการส่งออกสินค้าเกษตรและอาหาร และการเติบโตของเศรษฐกิจดิจิทัลที่สนับสนุนความต้องการสินค้าที่เกี่ยวข้อง
อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยเสี่ยงจากสถานการณ์ภัยแล้งที่ส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรออกสู่ตลาดลดลง ความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ที่ยังคงอยู่ สงครามกลางเมืองในหลายประเทศ ปัญหาค่าระวางเรือที่จะเพิ่มขึ้นในช่วงครึ่งปีหลัง เศรษฐกิจของคู่ค้าบางประเทศฟื้นตัวได้ค่อนข้างล่าช้า
รวมถึงการเลือกตั้งในหลายประเทศสร้างความไม่แน่นอนทำให้นักลงทุนชะลอการลงทุนเพื่อรอท่าทีนโยบายของรัฐบาลใหม่