ตลาดธัญพืชโลก ครึ่งหลังฟัดเดือด! ห่วงเทรดวอร์ทุบเกษตรกรไทยเดี้ยง

16 มิ.ย. 2567 | 14:03 น.
อัปเดตล่าสุด :16 มิ.ย. 2567 | 14:45 น.
531

ตลาดธัญพืชโลก ครึ่งปีหลังระอุ บราซิลสั่งเก็บภาษีส่งออกข้าวโพด-ถั่วเหลือง อินเดียลดนำเข้าข้าวสาลี ขณะตุรกีแบนนำเข้า 4 เดือนป้องเกษตรกรในประเทศ จับตาสงครามการค้าสหรัฐฯ-จีนรอบใหม่ ดันธัญพืชนอกทะลักไทย ผวารัฐเอาใจ รง.อาหารสัตว์ยกเลิก 3:1 “ชาวไร่-พ่อค้า” กอดคอกันเจ๊ง

“ฐานเศรษฐกิจ” ยังคงติดตามการประชุมหารือแนวทางการจัดทำโครงสร้างราคารับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ให้มีความสอดคล้องกับต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จัดโดยกรมการค้าภายใน ที่ได้มีการหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมส่งเสริมการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) สภาเกษตรกรแห่งชาติ สมาคมการค้าพืชไร่ และสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย เพื่อให้เกิดความสมดุลทุกฝ่าย

 

ตลาดธัญพืชโลก ครึ่งหลังฟัดเดือด! ห่วงเทรดวอร์ทุบเกษตรกรไทยเดี้ยง

 

แหล่งข่าวจากวงการค้าพืชไร่ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า แนวโน้มในครึ่งปีหลัง 2567 สถานการณ์ตลาดธัญพืชโลกไม่เป็นผลดีกับผู้ค้าและชาวไร่มันสำปะหลัง รวมถึงชาวไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ของประเทศไทย เนื่องจากนโยบายรัฐบาลของแต่ละประเทศจะปกป้องเกษตรกรของตนเอง และเพิ่มการส่งออกซึ่งจะทำให้มีธัญพืชราคาถูกทะลักเข้าไทยเพิ่มขึ้น อาทิ ตุรกี ประกาศห้ามนำเข้าข้าวสาลี ในช่วงเกษตรกรเก็บเกี่ยวผลผลิต เพื่อปกป้องเกษตรกรผู้ปลูก แต่ยังเป็นผู้ส่งออกลำดับที่ 5 ของโลก

 

 

ตลาดธัญพืชโลก ครึ่งหลังฟัดเดือด! ห่วงเทรดวอร์ทุบเกษตรกรไทยเดี้ยง

 

ส่วนรัฐบาลบราซิลมีการเรียกเก็บภาษีส่งออกข้าวโพด และถั่วเหลือง ทำให้ผู้ประกอบการมีต้นทุนเพิ่ม ขณะที่เกษตรกรยอมขายสินค้าในราคาตํ่าลงเพื่อแข่งขันส่งออกกับเจ้าตลาด (สหรัฐอเมริกา) ซึ่งสภาคองเกรสของบราซิลมีความพยายามจะล้มนโยบายดังกล่าว แต่ยังทำไม่สำเร็จ

 

ตลาดธัญพืชโลก ครึ่งหลังฟัดเดือด! ห่วงเทรดวอร์ทุบเกษตรกรไทยเดี้ยง

ขณะที่อินเดียออกรายงานประมาณการผลผลิตข้าวสาลีรอบใหม่ในประเทศมีปริมาณเพิ่มขึ้น ทำให้ลดพึ่งพาการนำเข้า จากนโยบายเดิม (ก่อนการเลือกตั้ง) ประกาศต้องการซื้อข้าวสาลีเก็บสต๊อกเพื่อความมั่นคงทางอาหารเป็นครั้งแรกในรอบ 6 ปี ประมาณ 17 ล้านตัน ดังนั้นเมื่ออินเดียผู้ซื้อรายใหญ่ของโลกเปลี่ยนนโยบายจึงมีผลทำให้ผลผลิตข้าวสาลีเกินความต้องการมากขึ้นไปอีก

ตลาดธัญพืชโลก ครึ่งหลังฟัดเดือด! ห่วงเทรดวอร์ทุบเกษตรกรไทยเดี้ยง

“นอกจากนี้จากสงครามการค้าสหรัฐ-จีน รอบใหม่ ที่สหรัฐประกาศปรับขึ้นภาษีสินค้าจีนหลายรายการในอัตรา 25-100% ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมาจนถึงปีหน้า ส่งผลให้จีนลดการซื้อและนำเข้าสินค้าเกษตรจากสหรัฐฯ เพื่อตอบโต้ ซึ่งจากการประเมินจะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรของสหรัฐมูลค่าสูงถึง 27 พันล้านดอลลาร์ในอนาคต สวนทางผลผลิตพื้นที่ปลูกถั่วเหลือง และข้าวสาลีในสหรัฐเพิ่มมากขึ้นจากที่ลงทะเบียนเอาไว้”

 

ตลาดธัญพืชโลก ครึ่งหลังฟัดเดือด! ห่วงเทรดวอร์ทุบเกษตรกรไทยเดี้ยง

 

แหล่งข่าว กล่าวอีกว่า จากสถานการณ์ราคาธัญพืชโลกที่อ่อนตัวลงมาก ส่วนหนึ่งจะทำให้ผู้นำเข้าธัญพืชของไทยเกิดแรงจูงใจที่อยากจะขอยกเลิกมาตรการของภาครัฐ ที่บังคับให้ต้องซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศ 3 ส่วน จึงจะนำเข้าข้าวสาลีได้ 1 ส่วน (มาตรการ 3 : 1) อ้างเหตุผลทำให้ต้นทุนและราคาอาหารสัตว์แพง และทำให้กลุ่มผู้เลี้ยงสัตว์เดือดร้อน ประสบปัญหาขาดทุนและไม่สามารถประกอบอาชีพได้ มองว่าไม่เป็นเรื่องจริง

 

ตลาดธัญพืชโลก ครึ่งหลังฟัดเดือด! ห่วงเทรดวอร์ทุบเกษตรกรไทยเดี้ยง

 

ซึ่งหากย้อนไปในช่วงที่มีการยกเลิกมาตรการ 3 : 1 ชั่วคราวก่อนหน้านี้ อาหารสัตว์ก็ไม่ได้มีการปรับลดราคา และยังจะมีการส่งออกในปี 2567 ช่วยสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจถึง 3 แสนล้านบาท ดังนั้นเกรงว่าจะมีการนำเรื่องนี้มาใช้เป็นเครื่องมือยกเลิกมาตรการ ซึ่งจะเป็นการเอื้อประโยชน์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง

 

ตลาดธัญพืชโลก ครึ่งหลังฟัดเดือด! ห่วงเทรดวอร์ทุบเกษตรกรไทยเดี้ยง

ขณะที่นายสุเทพ ทันค้า แกนนำตัวแทนเกษตรกรชาวไร่มันสำปะหลัง จังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า ได้นำเกษตรกรร่วม 50 คนจากนครราชสีมา ไปยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี (11 มิ.ย.67) เพื่อให้รัฐบาลคงมาตรการ  3:1 อย่าเปิดทางให้นำเข้าข้าวสาลีอย่างเสรี เพราะหากนำเข้ามามากจะทำให้โรงงานอาหารสัตว์เลิกใช้มันเส้น ข้าวโพด และกากมันสำปะหลังในประเทศ ทำให้วงจรการผลิตของเกษตรกรได้รับผลกระทบ ซึ่งในวันนั้น นายสมคิด เชื้อคง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี และอธิบดีกรมการค้าภายในได้มารับเรื่องและรับปากว่าจะทำเพื่อปกป้องเกษตรกร และจะยังคงมีมาตรการ 3:1

 

หน้า 9 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับที่ 4,001 วันที่ 16-19 มิถุนายน พ.ศ. 2567