อ.อ๊อด แนะ รัฐบาลแปรรูปข้าว 10 ปี เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

13 พ.ค. 2567 | 19:02 น.
อัปเดตล่าสุด :13 พ.ค. 2567 | 19:08 น.

อ.อ๊อด แนะ รัฐบาล หากจะใช้ประโยชน์จากข้าว 10 ปี ให้นำไปแปรรูปก่อนขาย คุ้มกว่าแน่นอน โดยสามารถนำไปทำเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ โดยเฉพาะวอดก้า

รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ (อ.อ๊อด) อาจารย์ นักวิชาการสาขาเคมีอินทรีย์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและกิจการเพื่อสังคม ม.เกษตรศาสตร์ เผยผลการตรวจสอบข้าว 10 ปี ที่ได้จากสื่อมวลชน ด่วยการตรวจจากเครื่องมือทดสอบ (Test Kit) ของศูนย์วิจัยข้าว ม.เกษตรศาสตร์

โดยการตรวจสอบได้แบ่งข้าวออกเป็น 3 ส่วน และทำการตรวจสอบ 3 ครั้ง ซึ่งผลคือ ครั้งที่ 1 ผลคือ Negative (2 ขีดจาง) , ครั้งที่ 2 ผลคือ Negative (2 ขีดจาง) และ ครั้งที่ 3 ผลคือ Positive (1 ขีด) ถือว่ามีความเป็นไปได้ที่จะพบสารดังกล่าว ในปริมาณราว 20 PPB : part per billion (ส่วนในพันล้าน) ซึ่งมีผลกระทบร่อร่างกายหากรับประทานในระยะยาว

“เครื่องมือทดสอบนี้ ถ้ามีอะฟลาท็อกซินในสัดส่วนเกิน 20 PPB จะแสดงผลทันที โดยต่อจากนี้ ซึ่งถือเป็นผลตรวจในเบื้องต้น ต่อจากนี้ก็จะนำตัวอย่างข้าวที่มีอยู่ ไปตรวจสอบในแล็บอีกครั้ง เพื่อให้ได้ผลที่แม่นยำมากขึ้น”

อ.อ๊อด แนะ รัฐบาลแปรรูปข้าว 10 ปี เป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

 

สำหรับการตรวจสอบสารอะฟลาท็อกซินในครั้งนี้ เป็นไปตามนโยบายการตรวจสอบเพื่อหาข้อเท็จจริง ตามที่ประชาชนร้องขอ ดังนั้น จึงต้องตรวจสอบซ้ำอย่างละเอียดอีกครั้ง โดยจากนี้นอกตรวจหาอะฟลาท็อกซินแล้ว ยังต้องตรวจหาสารอื่น ๆ อีก 2 ชนิดสำคัญ ได้แก่ อลูมิเนียมฟอสไฟด์ และ เมธิลโบรไมด์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อร่างกายเช่นกัน

ทั้งนี้ 2 สารที่กล่าวไป ปกติแล้วจะพบจากสารที่ใช่พ่นยารมควัน เพื่อป้องกันแมลงมากัดกินผลผลิต แต่ถ้าได้รับในปริมาณมากและต่อเนื่อง ก็จะส่งผลอันตรายต่อร่างกายได้เช่นกัน ซึ่งขณะนี้ ทีมงานได้เตรียมเครื่องมือไว้แล้ว ส่วนภาครัฐ หากต้องการคลาบข้อสงสัย สามารถส่งตัวอย่างข้าวเข้ามาตรวจสอบได้ จากแล็บของ ม.เกษตร

สำหรับข้าว 10 ปีนั้น หากจะทำให้สามารถรับประทานได้ แต่ก็จะมีต้นทุนที่สูงขึ้น เช่น การนำข้าวไปสีใหม่ เพื่อให้ขัดตัวผิวสีเหลืองออกไป หรือใช้รังสียูวีในการฆ่าเชื้อรา อะฟลาท็อกซิน แต่ต้องใช้ความร้อนสูงเกิน 200 องศาเซลเซียส ดังนั้น จึงอาจจะทำได้ยากและหลายขั้นตอน

ดังนั้น แนะนำว่า หากรัฐบาลจะนำข้าว 10 ปีมาใช้ประโยชน์ ควรแปรรูปเป็นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ผ่านโรงกลั่นที่หมักผลผลิตทางการเกษตรเป็นส่วนผสมเข้าไป เช่น วอดก้า เหล้า ไปจนถึง แอลกอฮอล์ล้างแผล โดยเปลี่ยนวัตถุดิบจากมันสำปะหลังเป็นข้าวนั่นเอง ดีว่าขายโดยตรงที่คาดว่าจะได้เพียง 200 กว่าล้านบาท

”ถ้าขายข้าวตรง ๆ เลย สมมติว่า ชาติในแอฟริกาซื้อไป ก็จะเสียชื่อเสียง หากเขาตรวจพบสารพิษต่าง ๆ ในข้าว หรือหากมีผู้ประมูลไปทำประโยชน์ต่อ ก็ถือเป็นเรื่องที่ดี“

ในส่วนของความกังวลเรื่องสารเคมีและสารตกค้างหากนำไปแปรรูปนั้น ยืนยันว่า ไม่ต้องกังวล เพราะกระบวนการหมัก จะมีการเปลี่ยนแป้งเป็นน้ำตาล และเปลี่ยนน้ำตาลเป็นแอลกอฮอล์ด้วยการกลั่นเฉพาะส่วน สารพิษตกค้างต่าง ๆ จะสลายตัวไป นอกจากนึ้แอลกอฮอล์ที่กลั่นออกมายังสามารถใช้ส่วนผสมเพื่อเติมน้ำมันรถยนต์ได้ด้วย ส่วนการก็สามารถนำไปทำปุ๋ยได้