จากการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ (บอร์ดควบคุมโรคติดต่อแห่งชาติ) ได้พิจารณาเห็นชอบร่างอนุบัญญัติที่ออกตามความในพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 โดยเห็นชอบร่างกฎกระทรวงเกี่ยวกับการจ่ายค่าทดแทนเพื่อชดเชยความเสียหายจากการเฝ้าระวัง การป้องกัน และการควบคุมโรคติดต่อ
เมื่อเกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือทรัพย์สิน จากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ให้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม. เป็นผู้พิจารณากำหนดค่าทดแทนตามความจำเป็น เตรียมส่ง ครม.พิจารณา
สำหรับรายละเอียดร่างกฎกระทรวงฯ ดังกล่าว เป็นการจ่ายค่าทดแทนเพื่อชดเชยค่าเสียหายจากการเฝ้าระวัง การป้องกันและการควบคุมโรคติดต่อ พ.ศ. ... ระบุขั้นตอนการขอชดเชยว่า สามารถยื่นเรื่องได้ ดังนี้
1.เจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ
รายงานต่อสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) / สำนักอนามัย กทม. เพื่อรายงานต่อคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม. ภายใน 7 วันนับแต่รู้/ควรรู้ได้ถึงความเสียหาย
2.ผู้เสียหาย/ทายาท
ยื่นคำร้องต่อ สสจ. สำนักอนามัย ภายใน 90 วันนับแต่รู้/ควรรู้ได้ถึงความเสียหาย และให้ สสจ. สำนักอนามัย รายงานคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม. ภายใน 7 วันนับแต่วันที่ได้รับคำขอ
ขั้นตอนการพิจารณาค่าทดแทน
คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม. จะพิจารณากำหนดค่าทดแทนภายใน 30 วัน ขยายเวลาได้ไม่เกิน 30 วัน โดยให้จัดทำบัญชีรายชื่อผู้เสียหายและทรัพย์สินที่เสียหาย
ตรวจสอบข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานที่เกี่ยวข้อง รับฟังพยานบุคคลและคำชี้แจงของเจ้าพนักงานฯ ผู้เสียหาย พยานผู้เชี่ยวชาญ รวมถึงตรวจสอบวัตถุ สถานที่หรือเอกสารที่เกี่ยวข้อง
พิจารณาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำของเจ้าพนักงานฯ ว่าได้ดำเนินการไปตามอำนาจหน้าที่และกระทำให้เกิดความเสียหายหรือไม่
กรณีไม่เกิน 4 แสนบาท
กรณีเกิน 4 แสนบาท
อัตราค่าทดแทนความเสียหายจากการควบคุมโรค
1.ความเสียหายต่อบุคคล
-ค่ารักษาพยาบาลไม่เกิน 30,000 บาท
-ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพ ไม่เกิน 50,000 บาท
-ค่าขาดประโยชน์ทำมาหาได้ อัตราค่าจ้างขั้นต่ำในท้องที่จังหวัดประกอบการงาน ณ วันที่ไม่สามารถประกอบการงานได้เป็นระยะเวลาไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันที่ไม่สามารถประกอบการงานได้ตามปกติ
-กรณีถึงแก่ความตาย ให้ชดเชยความเสียหายแก่ทายาทโดยธรรม ดังนี้
-ค่าเสียหายอื่น (ถ้ามี) ไม่เกิน 30,000 บาท
2.ความเสียหายต่อทรัพย์สิน
ให้พิจารณาโดยคำนึงราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาด, เทียบราคาที่อ้างอิงจากทางราชการ, การเสื่อมราคาและทางราชการได้บรรเทาหรือแก้ไขความเสียหายไปแล้ว
ทั้งนี้ หาก ครม. เห็นชอบตามร่างดังกล่าวจะส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจสอบร่างกฎหมายว่าเป็นไปตามวิธีการเสนอเขียนกฎหมายหรือไม่ หากเห็นชอบจะส่งกลับมายัง สาธารณสุข เพื่อให้นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สาธารณสุข ลงนามบังคับใช้ต่อไป