ส่งออกไทย ม.ค.67 ขยายตัวต่อเนื่องโตพุ่ง 10%

23 ก.พ. 2567 | 10:30 น.
อัปเดตล่าสุด :23 ก.พ. 2567 | 12:59 น.
1.2 k

ปลัดกระทรวงพาณิชย์ แถลงภาวะการค้าระหว่างประเทศ เผยตัวเลขส่งออกไทย เดือนม.ค.67 ยังขยายตัวต่อเนื่องโตพุ่ง 10% สูงสุดในรอบ 19 เดือน

นายกีรติ รัชโน ปลัดกระทรวงพาณิชย์ แถลงภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทย ประจำเดือนมกราคม 2567 ว่า การส่งออกของไทยในเดือนมกราคม 2567 มีมูลค่า 22,649.9 ล้านเหรียญสหรัฐ (784,580 ล้านบาท) ขยายตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 ที่ร้อยละ 10.0 หากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย ขยายตัว ร้อยละ 9.2 การส่งออกของไทยยังขยายตัวต่อเนื่อง สอดคล้องกับหลาย ๆ ประเทศในเอเชีย ตามทิศทางการค้าโลก ที่เริ่มฟื้นตัวจากภาวะเงินเฟ้อ ประกอบกับปัจจัยมูลค่าฐานการส่งออกต่ำในช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า อีกทั้งมีแรงหนุน จากการส่งออกคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบตามการฟื้นตัวของวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ และการส่งออกสินค้า เกษตรและอาหารที่ยังคงขยายตัวสูง อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องติดตามความไม่แน่นอนจากปัญหาด้านภูมิรัฐศาสตร์ ที่อาจจะเป็นอุปสรรคทางการค้าในระยะต่อไป

มูลค่าการค้ารวม

มูลค่าการค้าในรูปเงินดอลลาร์สหรัฐ เดือนมกราคม 2567 การส่งออก มีมูลค่า 22,649.9 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 10.0 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 25,407.8 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวร้อยละ 2.6 ดุลการค้า ขาดดุล 2,757.9 ล้านเหรียญสหรัฐ

มูลค่าการค้าในรูปเงินบาท เดือนมกราคม 2567 การส่งออก มีมูลค่า 784,580 ล้านบาท ขยายตัว ร้อยละ 10.2 เทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน การนำเข้า มีมูลค่า 890,687 ล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 2.8 ดุลการค้า ขาดดุล 106,107 ล้านบาท

การส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร

มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 9.2 (YoY) พลิกกลับมา ขยายตัวหลังจากหดตัวในเดือนก่อนหน้า โดยสินค้าเกษตร ขยายตัวร้อยละ 14.0 กลับมาขยายตัวหลังจาก หดตัวในเดือนก่อนหน้า และสินค้าอุตสาหกรรมเกษตร ขยายตัวร้อยละ 3.8 ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือน มีสินค้า สำคัญที่ขยายตัว ได้แก่ ข้าว ขยายตัวร้อยละ 45.9 ขยายตัวต่อเนื่อง 7 เดือน (ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ สหรัฐฯ อิรัก และเยเมน) ไก่สด แช่เย็น แช่แข็ง และแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 5.0 ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร เกาหลีใต้ มาเลเซีย และสิงคโปร์) ยางพารา ขยายตัวร้อยละ 5.5 ขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น มาเลเซีย สหรัฐฯ ตุรกี และเวียดนาม) ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ขยายตัวร้อยละ 30.1 กลับมาขยายตัวในรอบ 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดจีน มาเลเซีย สหรัฐฯ เกาหลีใต้ และเวียดนาม) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 5.2 กลับมาขยายตัวหลังจากหดตัวใน เดือนก่อนหน้า (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น ลิเบีย แคนาดา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และอียิปต์) อาหารสัตว์เลี้ยง ขยายตัวร้อยละ 9.1 ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น อิตาลี ฟิลิปปินส์ และอินเดีย)

เครื่องดื่ม ขยายตัวร้อยละ 18.6 ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือน (ขยายตัวในตลาดเมียนมา เวียดนาม ลาว มาเลเซีย และจีน) ผลไม้กระป๋องและแปรรูป ขยายตัวร้อยละ 23.3 ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย และเนเธอร์แลนด์) สิ่งปรุงรสอาหาร ขยายตัวร้อยละ 23.3 ขยายตัวต่อเนื่อง 7 เดือน (ขยายตัว ในตลาดสหรัฐฯ ออสเตรเลีย ญี่ปุ่น สหราชอาณาจักร และเนเธอร์แลนด์) ผักกระป๋องและผักแปรรูป ขยายตัว ร้อยละ 33.1 ขยายตัวต่อเนื่อง 12 เดือน (ขยายตัวในตลาดญี่ปุ่น สหรัฐฯ เกาหลีใต้ ออสเตรเลีย และอินโดนีเซีย) ผักสด แช่เย็น แช่แข็ง และแห้ง ขยายตัวร้อยละ 15.3 ขยายตัวต่อเนื่อง 6 เดือน (ขยายตัวในตลาดมาเลเซีย ญี่ปุ่น ไต้หวัน กัมพูชา และเมียนมา)

ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง หดตัวร้อยละ 27.0 หดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (หดตัวในตลาดจีน สหรัฐฯ เกาหลีใต้ สิงคโปร์ และเนเธอร์แลนด์ แต่ขยายตัวในตลาดอินโดนีเซีย ญี่ปุ่น ไต้หวัน มาเลเซีย และฟิลิปปินส์) น้ำตาลทราย หดตัวร้อยละ 16.2 กลับมาหดตัวหลังจากขยายตัวในเดือนก่อนหน้า (หดตัวในตลาดอินโดนีเซีย ไต้หวัน สิงคโปร์ มาเลเซีย และปาปัวนิวกินี แต่ขยายตัวในตลาดลาว กัมพูชา ญี่ปุ่น เวียดนาม และเมียนมา) ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ หดตัวร้อยละ 58.8 หดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน (หดตัวในตลาด มาเลเซีย กัมพูชา เวียดนาม อินโดนีเซีย และญี่ปุ่น แต่ขยายตัวในตลาดเมียนมา เกาหลีใต้ ฟิลิปปินส์ จีน และลาว)

การส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม

มูลค่าการส่งออกสินค้าอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 10.3 (YoY) ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน ซึ่งมี สินค้าสำคัญที่ขยายตัว อาทิ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 32.2 ขยายตัว ต่อเนื่อง 3 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ จีน ฮ่องกง เยอรมนี และออสเตรเลีย) เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ขยายตัวร้อยละ 106.3 ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือน (ขยายตัวในตลาดสิงคโปร์ อินเดีย ออสเตรเลีย แคนาดา และจีน) ผลิตภัณฑ์ยาง ขยายตัวร้อยละ 3.7 ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ มาเลเซีย และออสเตรเลีย) อัญมณีและเครื่องประดับ (ไม่รวมทองคำ) ขยายตัวร้อยละ 21.5 ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ อิตาลี ฮ่องกง เยอรมนี และอินเดีย) เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล ขยายตัวร้อยละ 7.6 ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน (ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ญี่ปุ่น อินเดีย จีน และสิงคโปร์) เครื่องโทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ขยายตัวร้อยละ 56.3 ขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือน (ขยายตัวในตลาด สหรัฐฯ ฮ่องกง เนเธอร์แลนด์ จีน และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์)

ขณะที่สินค้าสำคัญที่หดตัว อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 4.7 กลับมาหดตัว หลังจากขยายตัวในเดือนก่อนหน้า (หดตัวในตลาดญี่ปุ่น สหรัฐฯ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และเม็กซิโก แต่ขยายตัวใน ตลาดออสเตรเลีย ฟิลิปปินส์ ซาอุดีอาระเบีย อาร์เจนตินา และอินเดีย) เคมีภัณฑ์ หดตัวร้อยละ 1.6 หดตัวต่อเนื่อง 21 เดือน (หดตัวในตลาดจีน อินโดนีเซีย มาเลเซีย ลาว และสิงคโปร์ แต่ขยายตัวในตลาดอินเดีย ญี่ปุ่น เวียดนาม สหรัฐฯ และกัมพูชา) เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ หดตัวร้อยละ 10.5 หดตัวต่อเนื่อง 8 เดือน (หดตัวใน ตลาดสหรัฐฯ อิตาลี อินเดีย ฝรั่งเศส และไต้หวัน แต่ขยายตัวในตลาดออสเตรเลีย เวียดนาม อินโดนีเซีย ญี่ปุ่น และ สเปน) อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด หดตัวร้อยละ 9.5 หดตัวต่อเนื่อง 2 เดือน (หดตัวในตลาดอินเดีย เวียดนาม สิงคโปร์ สาธารณรัฐเช็ก และแคนาดา แต่ขยายตัวในตลาดสหรัฐฯ ฮ่องกง ญี่ปุ่น จีน และเกาหลีใต้)

ตลาดส่งออกสำคัญ

การส่งออกไปตลาดส่งออกสำคัญส่วนใหญ่ขยายตัว ตามอุปสงค์จากประเทศคู่ค้าที่ทยอยฟื้นตัว สอดคล้องกับแนวโน้มการฟื้นตัวของการค้าโลก และสัญญาณการปรับตัวดีขึ้นของการผลิตภาคอุตสาหกรรม ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออกไปยังกลุ่มตลาดต่าง ๆ สรุปได้ดังนี้ (1) ตลาดหลัก ขยายตัวร้อยละ 10.5 โดยขยายตัว ในทุกตลาด ได้แก่ สหรัฐฯ ร้อยละ 13.7 จีน ร้อยละ 2.1 ญี่ปุ่น ร้อยละ 1.0 สหภาพยุโรป (27) ร้อยละ 4.5 อาเซียน (5) ร้อยละ 18.1 และ CLMV ร้อยละ 16.6 (2) ตลาดรอง ขยายตัวร้อยละ 8.8 โดยขยายตัวในตลาดเอเชียใต้ ร้อยละ

0.04 ทวีปออสเตรเลีย ร้อยละ 27.2 ตะวันออกกลาง ร้อยละ 2.9 และรัสเซียและกลุ่ม CIS ร้อยละ 64.6 ขณะที่หดตัว ในตลาดแอฟริกา ร้อยละ 24.2 ลาตินอเมริกา ร้อยละ 4.0 และสหราชอาณาจักร หดตัวร้อยละ 1.6 (3) ตลาดอื่น ๆ ขยายตัวร้อยละ 11.2 อาทิ สวิตเซอร์แลนด์ ขยายตัวร้อยละ 5.1

ตลาดสหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 13.7 (ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และ

ยางยานพาหนะ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เครื่องใช้ไฟฟ้าและ ส่วนประกอบอื่น ๆ และหม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ เป็นต้น

ตลาดจีน ขยายตัวร้อยละ 2.1 (ขยายตัวต่อเนื่อง 2 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ผลไม้สด แช่เย็น แช่แข็งและแห้ง เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และไม้แปรรูป เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ยางพารา และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น

ตลาดญี่ปุ่น กลับมาขยายตัวร้อยละ 1.0 สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ไก่ เครื่องใช้ไฟฟ้าและส่วนประกอบอื่น ๆ และแผงวงจรไฟฟ้า เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ และเครื่องรับวิทยุ โทรทัศน์ และส่วนประกอบ เป็นต้น

ตลาดสหภาพยุโรป (27) ขยายตัวร้อยละ 4.5 (กลับมาขยายตัวในรอบ 8 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ และเครื่องประดับแท้ เป็นต้น

สินค้าสำคัญที่หดตัว เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า และรถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ เป็นต้น

ตลาดอาเซียน (5) ขยายตัวร้อยละ 18.1 (ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ ข้าว และน้ำมันสำเร็จรูป เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เป็นต้น

ตลาด CLMV ขยายตัวร้อยละ 16.6 (กลับมาขยายตัวในรอบ 15 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ทองคำยังไม่ได้ขึ้นรูป เครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ น้ำตาลทราย เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น น้ำมันดีเซล

รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อุปกรณ์กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด เป็นต้น

ตลาดเอเชียใต้ ขยายตัวร้อยละ 0.04 (ขยายตัวต่อเนื่อง 5 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เคมีภัณฑ์ รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น เม็ดพลาสติก อุปกรณ์ กึ่งตัวนำ ทรานซิสเตอร์ และไดโอด และเครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เป็นต้น

ตลาดทวีปออสเตรเลีย ขยายตัวร้อยละ 27.2 (ขยายตัวต่อเนื่อง 4 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ และเครื่องสำอาง เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว

เช่น อาหารทะเลกระป๋อง ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ และเครื่องจักรที่ใช้ในการก่อสร้าง เป็นต้น

ตลาดตะวันออกกลาง ขยายตัวร้อยละ 2.9 (กลับมาขยายตัวในรอบ 6 เดือน) สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ข้าว อาหารทะเลกระป๋อง และเครื่องประดับแท้ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และ ส่วนประกอบ ไม้และผลิตภัณฑ์ไม้ และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เป็นต้น

ตลาดแอฟริกา หดตัวร้อยละ 24.2 (หดตัวต่อเนื่อง 3 เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์ และส่วนประกอบ เครื่องยนต์สันดาปภายใน และยางยานพาหนะ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ข้าว อาหาร

ทะเลกระป๋อง และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เป็นต้น

ตลาดลาตินอเมริกา กลับมาหดตัวร้อยละ 4.0 สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และ ส่วนประกอบ เครื่องยนต์สันดาปภายใน และหม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องซักผ้า เครื่องซักแห้งและส่วนประกอบ และเหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

ตลาดรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS ขยายตัวร้อยละ 64.6 (ขยายตัวต่อเนื่อง 11 เดือน) สินค้าสำคัญ

ที่ขยายตัว เช่น เครื่องโทรสาร โทรศัพท์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ อากาศยาน ยานอวกาศ และส่วนประกอบ และ ยางยานพาหนะ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป และ เม็ดพลาสติก เป็นต้น

ตลาดสหราชอาณาจักร หดตัวร้อยละ 1.6 (หดตัวต่อเนื่อง 5 เดือน) สินค้าสำคัญที่หดตัว เช่น

รถจักรยานยนต์และส่วนประกอบ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ และเครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เป็นต้น สินค้าสำคัญที่ขยายตัว เช่น ไก่ เครื่องประดับแท้ และหม้อแปลงไฟฟ้าและส่วนประกอบ เป็นต้น

การส่งเสริมการส่งออกของกระทรวงพาณิชย์ และแนวโน้มการส่งออกในระยะถัดไป

การส่งเสริมการส่งออก กระทรวงพาณิชย์ดำเนินงานที่สำคัญในเดือนมกราคม อาทิ (1) การหารือกับสหรัฐฯ เพื่อลดอุปสรรคในการส่งออก โดยขอให้พิจารณาเร่งรัดการต่ออายุการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (GSP) ที่ได้หมดอายุ ไปเมื่อปลายปี 2563 รวมไปถึงการขอการสนับสนุนให้ไทยหลุดจากบัญชีประเทศที่ต้องจับตามอง (Watch List: WL) ทุกบัญชี โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการพัฒนาห่วงโซ่อุปทาน และการเป็นพันธมิตรด้านเศรษฐกิจกับสหรัฐฯ โดยเฉพาะ