ชำแหละ "งบประมาณ 2567" วงเงิน 3.48 ล้านล้าน สำหรับประชาชน 4 ช่วงวัย

27 ธ.ค. 2566 | 15:12 น.
อัปเดตล่าสุด :27 ธ.ค. 2566 | 17:20 น.

รัฐบาล เปิด "งบประมาณฉบับประชาชน ประจำปีงบฯ พ.ศ. 2567" วงเงิน 3.48 ล้านบาท โดยแบ่งงบฯ ไว้สำหรับประชาชน 4 ช่วงวัย ได้แก่ วัยเด็ก วัยเรียน วัยแรงงาน และวัยสูงอายุ

สำนักโฆษก สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ได้เปิดเผย "งบประมาณฉบับประชาชน ประจำปีงบฯ พ.ศ. 2567" ผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ "ไทยคู่ฟ้า" โดยประชาชนสามารถดาวน์โหลดไฟล์ ร่างพ.ร.บ.งบประมาณ 2567 เป็นนามสกุล PDF เพื่อเข้าถึงและทำความเข้าใจข้อมูลการจัดทำงบประมาณรายจ่ายได้ง่ายขึ้น

และเพื่อแสดงถึงความโปร่งใสและความน่าเชื่อถือในการจัดทำงบประมาณของรัฐบาล ฐานเศรษฐกิจพาชำแหละ "งบประมาณสำหรับประชาชน" 4 ช่วงวัย ปี 2567 ประชาชนแต่ละช่วงวัยได้รับประโยชน์อะไรบ้าง เช็กที่นี่ 

สำหรับเด็กอายุ 0 - 6 ปี (งบประมาณรวม 16,774.82 ล้านบาท)

เงินอุดหนุนเพื่อการเลี้ยงดูเด็กแรกเกิด

  • จำนวน 2.56 ล้านคน 16,494.61 ล้านบาท

เงินอุดหนุนสงเคราะห์เด็ก

  • ในครอบครัวช่วยเหลือเด็กขาดแคลน และสงเคราะห์เด็กฝากเลี้ยงตามบ้าน จำนวน 0.11 ล้านคน 115.08 ล้านบาท

เงินอุดหนุนช่วยเหลือค่าเลี้ยงดูเด็ก

  • ในครอบครัวอุปถัมภ์ จำนวน 5,297 คน 127.13 ล้านบาท 

กองทุนคุ้มครองเด็ก

  • จำนวน 2,700 คน 38 ล้านบาท

งบประมาณสำหรับประชาชน จำแนกตาม 4 ช่วงวัย : วัยเด็ก

สำหรับวัยเรียน (งบประมาณรวม 113,898.48 ล้านบาท)

ระดับประถม มัธยม และ อาชีวศึกษา

กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา

  • ผู้ขาดแคลนทุนทรัพย์และด้อยโอกาส ให้ได้รับความช่วยเหลือและเข้าถึงการศึกษาอย่างครอบคลุม ไม่น้อยกว่า 2.62 ล้านคน 6,044.08 ล้านบาท

จัดการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย 15 ปี

  • นับตั้งแต่อนุบาลไปจนจบการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ม.ปลาย/ปวช.)
  • สนับสนุนค่าจัดการเรียนการสอน ค่าหนังสือเรียน ค่าอุปกรณ์การเรียน ค่าเครื่องแบบนักเรียน และค่ากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ไม่น้อยกว่า 10.79 ล้านคน 83,666.24 ล้านบาท

สนับสนุนปัจจัยพื้นฐานสำหรับนักเรียน

  • สนับสนุนค่าอาหารกลางวัน 5.70 ล้านคน 28,023.75 ล้านบาท
  • สนับสนุนค่าอาหารเสริม (นม) 6.55 ล้านคน 12,634.73 ล้านบาท

ระดับอุดมศึกษา

สนับสนุนทุนการศึกษา

  • ปริญญาตรี ปริญญาโท ปริญญาเอก และทุนประเภทอื่นๆ จำนวน 68,027 ทุน 7,149.63 ล้านบาท

ผลิตบุคลากรด้านสาธารณสุข 

  • ก.สาธารณสุข (แพทย์/พยาบาล/บุคลากรทางการแพทย์) ไม่น้อยกว่า 26,133 คน 2,304.11 ล้านบาท 
  • ก.การอุดมศึกษา (แพทย์) ไม่น้อยกว่า 4,453 คน 2,099.69 ล้านบาท

งบประมาณสำหรับประชาชน จำแนกตาม 4 ช่วงวัย : วัยเรียน

สำหรับวัยแรงงาน (งบประมาณรวม 135,084.2 ล้านบาท)

กองทุนประกันสังคม

  • มาตรา 33 และ 39 จำนวน 13.67 ล้านคน 53,664.93 ล้านบาท
  • มาตรา 40 จำนวน 10.96 ล้านคน 1,808 ล้านบาท

กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.)

  • จำนวน 2.64 ล้านคน 633.6 ล้านบาท

เงินอุดหนุนเพื่อช่วยเหลือผู้เข้ารับการฝึกอาชีพ

  • จำนวน 1,520 คน 8.60 ล้านบาท

กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)

  • จำนวน 1.22 ล้านคน 78,775 ล้านบาท

งบประมาณสำหรับประชาชน จำแนกตาม 4 ช่วงวัย : วัยแรงงาน

นอกจากนี้ ยังครอบคลุมไปถึงส่วนของค่าใช้จ่ายในการเพิ่มทักษะ ฝึกอบรม และการพัฒนาตนเองด้านต่างๆ สำหรับวัยแรงงาน ดังนี้ 

ค่าใช้จ่ายในการเพิ่มทักษะด้านอาชีพ

  • สำหรับนักเรียนครอบครัวยากจน ที่ไม่ได้เรียนต่อหลังจบการศึกษาภาคบังคับ จำนวน 1,520 คน 5.99 ล้านบาท

ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมแรงงานกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ

  • เพื่อเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพวิถีใหม่ จำนวน 11,960 คน 29.90 ล้านบาท

ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาฝีมือแรงงานสตรี

  • เพื่อยกระดับศักยภาพวัยแรงงาน จำนวน 3,100 คน 6.60 ล้านบาท

ค่าใช้จ่ายในการพัฒนาทักษะเฉพาะ

  • สำหรับแรงงานอิสระยุค 4.0 (Gig Worker) จำนวน 20,200 คน 141.90 ล้านบาท

ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน

  • สำหรับแรงงานในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำนวน 2500 คน 9.68 ล้านบาท

งบประมาณสำหรับประชาชนวัยแรงงาน : ค่าใช้จ่ายในการเพิ่มทักษะ ฝึกอบรม และพัฒนาด้านต่างๆ สำหรับวัยสูงอายุ (งบประมาณรวม 94,095.47 ล้านบาท)

เบี้ยผู้สูงอายุ

  • กลุ่มเป้าหมาย 11.83 ล้านคน งบประมาณ 93,215.13 ล้านบาท

เงินสงเคราะห์ผู้สูงอายุในภาวะยากลำบาก

  • กลุ่มเป้าหมาย 12,500 คน งบประมาณ 37.5 ล้านบาท

เงินอุดหนุนปรับปรุงซ่อมแซมบ้านผู้สูงอายุให้มีความปลอดภัย

  • บ้านผู้สูงอายุ 11,000 แห่ง งบประมาณ 440.00 ล้านบาท

กองทุนผู้สูงอายุ

  • กลุ่มเป้าหมาย 1900 คน งบประมาณ 57 ล้านบาท

เงินอุดหนุนการจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณี

  • กลุ่มเป้าหมาย 115,251 คน งบประมาณ 345.84 ล้านบาท

งบประมาณสำหรับประชาชน จำแนกตาม 4 ช่วงวัย : วัยสูงอายุ

แหล่งที่มา : งบประมาณฉบับประชาชน ประจำปีงบฯ พ.ศ. 2567