หลายคนคงรู้จักคำว่า "โอตากุ (Otaku)" ที่เป็นคำในภาษาญี่ปุ่น โดยเฉพาะเมื่อพูดถึงการ์ตูนหรืออะนิเมะ แต่ทราบหรือไม่ว่าแวดวงธุรกิจของญี่ปุ่นกำลังจับตามองตลาดโอตะกุว่าจะเป็นพลังขับเคลื่อนเศรษฐกิจญี่ปุ่นที่สำคัญอย่างหนึ่ง ทำให้มีความพยายามมองหาโอกาสทางธุรกิจจากกลุ่มผู้บริโภคนี้
ข้อมูลจาก กรมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ให้ข้อมูลที่น่าสนใจเเละเหตุผลว่าทำไม "โอตากุ" จึงเป็นที่สนใจสำหรับธุรกิจต่างในญี่ปุ่น มีการประเมินมูลค่าทางเศรษฐกิจจากการจับจ่ายใช้สอยของโอตากุว่า ในปี 2021 คิดเป็นมูลค่าสูงถึง 6.84 แสนล้านเยน (ประมาณ 2.05 แสนล้านบาท) โดย 5 อันดับแรก ได้แก่
จะเห็นได้ว่า สิ่งที่หลงไหลของกลุ่มโอตะกุมีความหลากหลาย ทั้งที่เป็นสินค้า ตัวบุคคล ภาคบริการและสิ่งที่เชื่อมโยงกับสิ่งที่ตนเองชื่นชอบด้วย เป็นการขยายขอบเขตการใช้จ่ายของโอตะกุ เช่น โอตะกุที่ชื่นชอบฟิกเกอร์ อาทิ เซเลอร์มูน(Sailor moon) นอกจากจะสะสมฟิกเกอร์เซเลอร์มูนก็อาจต้องมีฉากตั้งสำหรับวางประดับให้ดูน่ารัก หรือ ซื้อหาสิ่งของอื่นที่มีโทนสีเดียวกับตัวเซเลอร์มูน หรือ ไปร่วมงานมหกรรม งานชุมนุมโอตะกุของเซเลอร์มูน
ยอดการใช้จ่ายของโอตะกุจึงน่าจะมากกว่าการใช้จ่ายของคนทั่วไปประมาณ 2-3 เท่าตัว โดยเมื่อเป็นโอตะกุหรือกลายเป็นแฟนพันธุ์แท้ของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ผู้บริโภคกลุ่มนี้มักจะยึดติดอยู่กับสิ่งนั้นและยอมทุ่มเทการใช้จ่ายกับสิ่งนั้น จึงทำให้ผู้ประกอบธุรกิจในญี่ปุ่นมองว่าผู้บริโภคที่เป็นโอตะกุเหล่านี้คือลูกค้าสำคัญที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในยุคนี้ได้ โดยเฉพาะผู้ที่เป็น Gen Z
โอกาสทางธุรกิจและการตลาดมุ่งเป้าโอตากุ พฤติกรรมการบริโภคทำให้กับธุรกิจต่างในญี่ปุ่นต่างพยายามศึกษาหาช่องทางในการหาโอกาสทางธุรกิจ เช่น บริษัท Five Group ประกอบธุรกิจบริการร้านอาหาร อาหารประเภท Izakaya อาหารเกาหลีชื่อ "Kiteseyo" ซึ่งมีห้องพิเศษเรียกว่า "Oshikatsu Room" สำหรับลูกค้าเพื่อมาสังสรรค์ร่วมกันเชียร์ดาราไอดอลเกาหลีที่ชื่นชอบ บริการอาหารและเครื่องดื่มเกาหลีแบบ Street Food ในห้องมีจอทีวีขนาด 50 นิ้ว ประดับด้วยไฟนีออนและแผ่นป้ายภาษาเกาหลีสร้างบรรยากาศสไตล์เกาหลี หากลูกค้าต้องการ พนักงานร้านยังจะช่วยจัดเกมส์ที่นิยมเล่นกันสไตล์เกาหลีให้ลูกค้าได้เข้าร่วมเล่นเพิ่มความสนุกสนานด้วย
วงการอุตสาหกรรมเสื้อผ้า ในช่วงประมาณปี 2010 เป็นต้นมา สังเกตได้ว่าผู้ผลิตเสื้อผ้าแบรนด์ต่างๆในญี่ปุ่นจึงได้เริ่มมีการจับมือร่วมงานกับเจ้าของการ์ตูนอานิเมะ ซึ่งแนวโน้มดังกล่าวเห็นได้ในทุกสไตล์แฟชั่นและทุกระดับราคา ตัวอย่างเช่น Spinns ซึ่งเป็นแบรนด์ที่วัยรุ่นในญี่ปุ่นนิยม ได้จับมือกับการ์ตูนฮิตเรื่อง Jujutsukaisen (มหาเวทย์ผนึกมาร) และ Sailor Moon (เซเล่อร์มูน) เป็นต้น หรือแม้แต่แบรนด์ระดับสากล เช่น GuccI ได้มีความร่วมมือกับการ์ตูนฮิต โดระเอมอน (Doraemon) ในปี 2021 ผลิตเสื้อยืดและกระเป๋าที่มีตัวการ์ตูนโดระเอมอนออกวางจำหน่ายในร้านสาขาของ Gucci ทั่วญี่ปุ่น
คำแนะนำสำหรับผู้ผลิต-ผู้ส่งออกไทย
ขอบเขตที่กว้างและความหลากหลายของโอตากุทำให้มีโอกาสและลู่ทางทางธุรกิจมากมายในญี่ปุ่น ผู้ผลิต ผู้ส่งออกไทย ต้องทำความเข้าใจพฤติกรรมผู้บริโภคของโอตากุ และพยายามบุกเบิกช่องทางสำหรับแขนงสาขาและโอกาสทางธุรกิจใหม่ แม้ว่าโอตากุในญี่ปุ่นสำหรับแขนงการ์ตูนและอานิเมะซึ่งเป็นตลาดที่มีมูลค่าสูง ส่วนใหญ่จะเป็นคอนเทนต์ญี่ปุ่น แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นการปิดกั้นโอกาสของแขนงสาขา หรือ คอนเทนต์ที่มาจากต่างประเทศ อีกทั้งจะเห็นได้ว่าปัจจุบันมีคอนเทนต์ของผู้ผลิตไทยที่สามารถขยายตลาดเข้าไปในญี่ปุ่นได้แล้วระดับหนึ่ง การร่วมมือกับคอนเทนต์ไทยเหล่านั้นก็อาจจะเป็นช่องทางหนึ่งที่จะเข้าเข้าสู่ตลาด
การใช้ซอฟท์พาวเวอร์ของไทยที่ชาวญี่ปุ่นรู้จักคุ้นเคยแล้ว เช่น อาหารไทย มวยไทย ฯลฯ เพื่อบุกเบิกหรือพัฒนาตลาดโอตะกุใหม่ๆ ต่อไปก็เป็นได้ ทั้งนี้ ผู้ผลิตผู้ส่งออกไทยจะต้องระวังเกี่ยวกับประเด็นทรัพย์สินทางปัญญา โดยศึกษาและปฎิบัติให้เป็นไปตามกฎหมายทรัพย์สินทางปัญญาของญี่ปุ่นและไทยอย่างเข้มงวดด้วย