ธ.ก.ส.นำเกษตรกรหัวขบวนบุกญี่ปุ่น มุ่งยกระดับมาตรฐานสินค้ามูลค่าสูง

29 ต.ค. 2566 | 15:00 น.

ธ.ก.ส. นำเกษตรกรหัวขบวนศึกษาดูงานประเทศญี่ปุ่น หวังยกระดับมาตรฐานและมูลค่าสินค้าเกษตรไทย สอดรับเป้าหมายส่งเสริม Local consumption ในท้องถิ่นควบคู่การท่องเที่ยว 

ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จัดกิจกรรมสื่อมวลชนสัญจรพร้อมนำเกษตรกรหัวขบวนศึกษาดูงานการยกระดับมาตรฐานและมูลค่าสินค้าเกษตรที่ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 20-24 ตุลาคม 2566 โดยสถานที่ในการศึกษาดูงานครั้งนี้ล้วนเกี่ยวข้องกับเกษตรกรไทย อาทิ การดูงานที่ Kyoho Wine โรงกลั่นไวน์เก่าแก่ในเมืองคุรุเมะ จังหวัดฟุคุโอกะ ได้เห็นกระบวนการพัฒนาและเทคนิกการสร้างแบรนด์ผลผลิตจากองุ่นเคียวโฮ

การเยี่ยมชม Michi No Eki สถานที่จัดจำหน่ายสินค้าเกษตรกรในท้องถิ่นของเมืองคุรุเมะที่สามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในพื้นที่มาอย่างนานมาก 15 ปี ทั้งยังทำยอดขายเป็นอันดับ 5 จาก 17 แห่งในเมืองฟุกุโอกะ

รวมถึงการดูงานเครื่องปั้นดินเผาที่ CHINA ON THE PARK ซึ่งเป็นศูนย์หัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาและเซรามิกที่ใหญ่และมีชื่อเสียงในญี่ปุ่น เป็นที่รู้จักในระดับโลกจากการประกวดแจกันจนได้รางวัลชนะเลิศที่ประเทศฝรั่งเศสมาแล้ว และศึกษาดูงานนาข้าวแบบขั้นบันไดของโอระ เมืองซากะ ติดชายฝั่งทะเลเก็งไค กลายเป็นจุดท่องเที่ยวในชุมชนติดอันดับ 1 ใน 100 ของประเทศญี่ปุ่น

นายฉัตรชัย ศิริไล ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ก

นายฉัตรชัย ศิริไล ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า ธ.ก.ส.ได้พาเกษตรกลุ่มที่เป็นลู้กค้าจากประเทศไทย หรือที่เรียกว่า เกษตรกรหัวขบวนมาดูงานที่ประเทศญี่ปุ่น โดยกลุ่มที่มาดูงานนี้ทำธุรกิจที่มีความเกี่ยวข้องกับธุรกิจที่ ธ.ก.ส.ได้พามาดูอยู่ญี่ปุ่น เช่น การแปรรูปผลผลิตเป็นไวน์ การทำเครื่องปั้นดินเผา การสร้างมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ และแนวคิดในการทำแพ็กเกจจิ้ง รวมถึงการทำนาแบบขั้นบันได

ธ.ก.ส.นำเกษตรกรหัวขบวนบุกญี่ปุ่น มุ่งยกระดับมาตรฐานสินค้ามูลค่าสูง

นับเป็นครั้งแรกที่เราพาเกษตรกรมาลงพื้นที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งการพาเกษตรกรมาในครั้งนี้ เราต้องการให้เกษตรกรของเราได้มาเห็นของจริง ได้แลกเปลี่ยนแนวคิดกับเกษตรกรของญี่ปุ่น ว่ามีแนวคิดอย่างไร มีการบริหารจัดการอย่างไร ที่สำคัญ คือ การได้เห็นของจริง ได้มาเห็นด้วยตัวเอง โดยลงพื้นที่ในครั้งนี้เพื่อเน้นย้ำให้เกษตรกรได้เห็นเกษตรมูลค่าสูง เพราะเกษตรกรของประเทศญี่ปุ่นมักจะผลิตออกมาไม่มาก ทำพอประมาณแต่สามารถมีส่วนต่าง หรือ มีมาร์จิ้นกลับมาสูงมาก 

ธ.ก.ส.นำเกษตรกรหัวขบวนบุกญี่ปุ่น มุ่งยกระดับมาตรฐานสินค้ามูลค่าสูง

ขณะที่ทรัพยากรของญี่ปุ่นมีจำกัดและเข้าสู่ภาวะสังคมผู้สูงอายุเช่นเดียวกับประเทศไทย ยกตัวอย่างเช่น โรงงานเครื่องปั้นดินเผาซึ่งมีคนงานแค่หลัก 10 คนแต่สามารถผสมผสานจากการทำเกษตรปกติแล้วบริหารจัดสรรเวลามาทำเครื่องปั้นดินเผาซึ่งเป็นการสืบทอดศิลปวัฒนธรรมไว้ ที่สำคัญ คือ สินค้ามีการพัฒนาอยู่ตลอดเวลาและดีไซน์ได้ตรงตามความต้องการของลูกค้า 

ธ.ก.ส.นำเกษตรกรหัวขบวนบุกญี่ปุ่น มุ่งยกระดับมาตรฐานสินค้ามูลค่าสูง

"ที่สำคัญ สิ่งหนึ่งที่เห็นอย่างชัดเจนในภาคการเกษตรของญี่ปุ่น ไม่ใช่การปลูกไปเรื่อย ๆ สิ่งที่เราเห็นคือ เริ่มต้นจากการวางแผนว่าจะขายสินค้าให้กับใคร เลยไปจนถึงเรื่องของการพัฒนาผลิตภัณฑ์ว่าจะตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคได้อย่างไรซึ่งตรงกับสิ่งที่ ธ.ก.ส.กำลังส่งเสริม คือ Local consumption ซึ่งเป็นการผลิตเพื่อบริโภคในท้องถิ่นในเมือง ๆ นั้น แล้วเสริมเรื่องของการเกษตรท่องเที่ยว เป็นที่มาของคำพูดที่ว่า เกษตรกรญี่ปุ่นรวย และได้เห็นว่าเขาทำอย่างไร มีกระบวนการคิดแบบไหน"

ธ.ก.ส.นำเกษตรกรหัวขบวนบุกญี่ปุ่น มุ่งยกระดับมาตรฐานสินค้ามูลค่าสูง

นางปนิดา มูลนานัด วิสาหกิจชุมชนวัยหวาน ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากกล้วย จ.เพชรบุรี หนึ่งในผู้ประกอบการที่ได้ร่วมเดินทางไปกับ ธ.ก.ส. ในครั้งนี้ กล่าวกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า จากการที่ไปดูงานที่ญี่ปุ่นเธอสามารถนำสิ่งต่าง ๆ มาปรับใช้กับวิสาหกิจชุมชนวัยหวานได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการบริหารจัดการ การผลิตสินค้า บรรจุภัณฑ์ หรือการตลาด แม้ว่าบริบทพื้นที่ของประเทศไทยกับญี่ปุ่นจะแตกต่างกันแต่ก็สามารถนำแนวคิดของญี่ปุ่นมาเพื่อต่อยอดธุรกิจได้ 

"ด้วยวิสาหกิจชุมชนวัยหวานเองผลิตสินค้าที่มีความหลากหลายมาก ยิ่งต้องเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ ที่จะพัฒนาสินค้าของกลุ่มให้มากขึ้น ในการศึกษาดูงานในครั้งนี้ ธ.ก.ส.พาไปศึกษาดูงานในสถานที่จริงและเป็นการทำธุรกิจจริง ๆ ซึ่งพวกเราเป็นผู้ประกอบการเกษตรที่ทาง ธ.ก.ส.สนับสนุนให้เป็นหัวขบวนก็ต้องนำสิ่งต่าง ๆ ที่ไปดูงานจากประเทศญี่ปุ่นมาถ่ายทอดให้กับเกษตรกรอื่น ๆ ในประเทศไทยได้รับรู้และนำกลับไปปรับใช้เหมือนกับที่เรากำลังปรับเปลี่ยน

ธ.ก.ส.นำเกษตรกรหัวขบวนบุกญี่ปุ่น มุ่งยกระดับมาตรฐานสินค้ามูลค่าสูง

การทำสื่อประชาสัมพันธ์ และการปรับเปลี่ยนบรรรจุภัณฑ์ให้ดูน่าสนใจมากขึ้นเพื่อให้เกษตรกร มีรายได้ที่เพิ่มขึ้น เมื่อเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น อาชีพเกษตรก็จะไม่สูญหายไป แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับเกษตรกรไม่ใช่แค่รายได้ที่เพิ่มขึ้นเท่านั้น เกษตรกรยังต้องการพี่เลี้ยงที่ดีอย่าง ธ.ก.ส. ด้วย ตามคำกล่าวที่ว่า "ธ.ก.ส.เป็นมากกว่าธนาคาร"

ทั้งนี้ หลังจากกลับมาจากญี่ปุ่นเธอได้เริ่มนำมาปรับใช้กับการทำงานหลาย ๆ ประการด้วยกัน อาทิ ปรับแหล่งเรียนรู้เป็นร้านกาแฟเพื่อทำเป็นแหล่งท่องเที่ยวเล็ก ๆ ที่เรียนรู้เรื่องกล้วย รวมถึงการแปรรูปสินค้าเกษตรที่กำลังคิดกันอยู่ เหมือนที่ญี่ปุ่นมุ่งเน้นว่า ให้ชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้ กิน เที่ยว เกี่ยวกับชุมชนของตัวเอง

ด้านนายอับดุลเลาะ บากา เจ้าของแบรนด์ CHABA BEEF เบอร์เกอร์และเนื้อย่าง จ.ยะลา ระบุว่า จากการร่วมทริปไปกับ ธ.ก.ส.ในครั้งนี้ทำให้เห็นไอเดียในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ การทำแพ็เกจจิ้งเพื่อเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ เช่น jerky beef รวมถึงแนวคิดของคนญี่ปุ่นที่ให้ความสำคัญ พิถีพิถันในการแปรรูปผลิตภัณฑ์ ปัจจุบันผลิตภัณฑ์ของ  CHABA BEEF เป็นผลิตภัณฑ์ที่เป็นเนื้อเเช่เเข็งซึ่งผู้บริโภคจำเป็นต้องไปทำให้สุกก่อนเเต่เราได้เห็นตัวอย่างของญี่ปุ่น พบว่า มีการพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์พร้อมทาน ดังนั้น ในอนาคตทาง CHABA BEEF อาจจะต่อยอดพัฒนาออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ให้ได้เห็นกัน

ธ.ก.ส.นำเกษตรกรหัวขบวนบุกญี่ปุ่น มุ่งยกระดับมาตรฐานสินค้ามูลค่าสูง

นางสาวณฐนนท เจริญรมย์ ประธานวิสาหกิจชุมชนบ้านเนินสว่าง "PARARAKSA" ผลิตภัณฑ์จากน้ำยางพารา จ.ระยอง กล่าวว่า สิ่งที่ได้จากการดูงานครั้งนี้ถือเป็นหัวใจของการทำธุรกิจให้มั่นคงในระยะยาว โดยเฉพาะการใช้ Soft Power การพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ การสร้างแบรนด์ รวมไปถึงวิธีการโปรโมตสินค้าออกสู่ตลาดโลก เหล่านี้ล้วนเป็นสิ่งที่กลุ่มของเธอได้ลองผิดลองถูกและพยายามผลักดันกันมาโดยตลอด

นับจากนี้มั่นใจได้ว่า สินค้าภายใต้แบรนด์ PARARAKSA ไม่ว่าจะเป็นที่นอน หมอน เบาะรองนั่ง เบาะรองหลัง และเบาะพลิกตัวจากยางพาราในจังหวัดระยองจะถูกนำความรู้ที่ได้จากการร่วมทริปดูงานกับ ธ.ก.ส.มาปรับปรุง พัฒนาในทุกช่องทางการผลิตและจำหน่ายเพื่อทำให้ทั่วโลกได้รู้จักผลิตภัณฑ์ยางพาราของไทยว่า มีคุณภาพสูง ดูแลสุขภาพทุกคนให้ดีขึ้นได้อย่างแน่นอน