นายพรชัย ฐีระเวช ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2566 (ตุลาคม 2565 - สิงหาคม 2566) รัฐบาลจัดเก็บรายได้สุทธิ จำนวน 2,368,862 ล้านบาท
สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 153,293 ล้านบาท หรือคิดเป็น 6.9% และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 4.9%
โดยหน่วยงานที่จัดเก็บได้สูงกว่าประมาณการที่สำคัญ ได้แก่ กรมสรรพากร โดยเฉพาะจากการจัดเก็บ
อันดับต่อมา คือ ส่วนราชการอื่น เนื่องจากมีรายได้พิเศษที่ไม่ได้อยู่ในประมาณการ เช่น
และกรมศุลกากร เนื่องจากมูลค่าการนำเข้าสูงกว่าประมาณการ ซึ่งเป็นผลของค่าเงินบาทที่มีแนวโน้มอ่อนค่าลง ประกอบกับมีการชำระอากรขาเข้าย้อนหลังตามคำพิพากษาคดี
อย่างไรก็ดี การจัดเก็บรายได้ของกรมสรรพสามิตยังต่ำกว่าประมาณการจากการปรับลดอัตราภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลเป็นระยะเวลา 10 เดือน เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อค่าครองชีพของประชาชนเป็นการชั่วคราวจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่อยู่ในระดับสูง
ทั้งนี้ หากไม่รวมรายได้พิเศษของส่วนราชการอื่นและกรมศุลกากร ผลการจัดเก็บรายได้รัฐบาลสุทธิสูงกว่าประมาณการ 83,317 ล้านบาท หรือคิดเป็น 3.8% และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 1.8%
ขณะที่ฐานะการคลังของรัฐบาลตามระบบกระแสเงินสดในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2566 รัฐบาลมีรายได้นำส่งคลังทั้งสิ้น 2,338,649 ล้านบาท และมีการเบิกจ่ายเงินงบประมาณทั้งสิ้น 3,010,172 ล้านบาท
โดยรัฐบาลได้กู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุล 497,643 ล้านบาท ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน 178,540 ล้านบาท ส่งผลให้เงินคงคลัง ณ สิ้นเดือนสิงหาคม 2566 มีจำนวนทั้งสิ้น 317,385 ล้านบาท
ทั้งนี้ เว็บไซต์สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) รายงานว่า ผลการจัดเก็บรายได้ช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2566 กรมสรรพากรจัดเก็บรายได้สุทธิ 1,915,181 ล้านบาท กรมสรรพสามิต 435,514 ล้านบาท และกรมศุลกากร 117,396 ล้านบาท