เอกชนระนอง ไม่หวั่น ถูกเบรกสร้าง “แลนด์บริดจ์” ชี้อยู่ระหว่างศึกษา

18 ก.ย. 2566 | 16:29 น.
อัปเดตล่าสุด :18 ก.ย. 2566 | 17:11 น.
585

เอกชนระนอง ไม่วิตกหลัง “สุริยะ”จ่อเบรกสร้าง “แลนด์บริดจ์” ชี้โครงการอยู่ระหว่างการศึกษา อีกหนึ่งปีกว่าทราบผลในเบื้องต้น

จากกรณีที่ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงโครงการสะพานเศรษฐกิจภาคใต้เชื่อมฝั่งทะเลอ่าวไทย-อันดามัน (ชุมพร-ระนอง) หรือแลนด์บริดจ์ ว่า เป็นโครงการใหญ่ที่มีมูลค่าลงทุนสูงมาก อีกทั้งยังมีประเด็นผลกระทบสิ่งแวดล้อม การคุ้มค่าในการลงทุน การหาผู้ประกอบการร่วมลงทุน จึงเห็นว่าค่อนข้างยากและต้องใช้เวลานั้น

นายพรศักดิ์  แก้วถาวร    ประธานหอการค้าจังหวัดระนอง

นายพรศักดิ์  แก้วถาวร    ประธานหอการค้าจังหวัดระนอง กล่าวว่า ขณะนี้โครงการแลนด์บริดจ์อยู่ในระหว่างการศึกษา  ประมาณปลายปี 2566 จึงจะได้รับทราบผล โครงการดังกล่าวจึงไม่น่าจะเป็นโครงการเร่งด่วน แต่เป็นโครงการต้องใช้ระยะเวลา 

ขณะที่นายนิตย์  อุ่ยเต๊กเค่ง รองประธานหอการค้าจังหวัดระนอง เปิดเผยว่า ก่อนหน้านี้ทางภาคเอกชนจังหวัดระนองต่างวิตกว่าจะส่งผลกระทบต่อหลายโครงการพัฒนา โดยเฉพาะโครงการแลนด์บริดจ์   โดยในช่วงปลายปีนี้ทางสมาคมองค์ชุมชน 14 จังหวัดภาคใต้  ประสานเข้ามาว่าพื้นที่จังหวัดระนองเพื่อจัดทำเรื่องการยอมรับโครงการแลนด์บริดจ์ ของคนในพื้นที่

นายนิตย์  อุ่ยเต๊กเค่ง รองประธานหอการค้าจังหวัดระนอง

ที่ผ่านมาทางโครงการรับฟังความเห็นประชาชนในพื้นที่ คืบหน้าไปในระดับหนึ่ง โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ชี้แจงรายละเอียดโครงการศึกษาความเหมาะสม ออกแบบเบื้องต้น ประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและวิเคราะห์รูปแบบโมเดลการพัฒนาการลงทุน (Business Development Model)
 
รวมถึงชี้แจงโครงการผู้เข้าร่วมทราบข้อมูลการพัฒนาที่จะเกิดขึ้นในจังหวัดระนองในอนาคต พร้อมกับเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมงานแสดงความคิดเห็น เพื่อร่วมกันกำหนดทิศทางการพัฒนาในภาพรวมของจังหวัดระนองต่อไป 
 

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 22  เมษายน  2565 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมขณะนั้นเป็นประธานประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (แลนด์บริดจ์)  ครั้งที่ 2/2565

เพื่อติดตามผลการดำเนินการในด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยระบุว่า ที่ปรึกษาได้นำเสนอการคัดเลือกพื้นที่ทางเลือกท่าเรือที่เหมาะสมที่สุดฝั่งอันดามัน จังหวัดระนอง คือ พื้นที่แหลมอ่าวอ่าง และฝั่งอ่าวไทย จังหวัดชุมพร คือ พื้นที่แหลมริ่ว  

เอกชนระนอง ไม่หวั่น ถูกเบรกสร้าง “แลนด์บริดจ์” ชี้อยู่ระหว่างศึกษา
 
เนื่องจากพื้นที่ทั้ง 2 ฝั่ง เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพสามารถรองรับปริมาณสินค้าได้ 20 ล้าน TEU ตามผลการคาดการณ์ปริมาณสินค้าที่จะเข้ามาที่ยังแลนด์บริดจ์ รวมทั้งยังสามารถขยายท่าเรือ ในอนาคตให้สามารถรองรับปริมาณสินค้าได้มากถึง 40 ล้าน TEU เทียบเท่ากับปริมาณสินค้าที่ท่าเรือสิงคโปร์ในปัจจุบัน และอยู่ใกล้กับร่องน้ำลึก รองรับการเข้าใช้งานของเรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่

อีกทั้งตำแหน่งท่าเรือยังสอดคล้องกับผลการศึกษาแนวเส้นทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (Motorway) และระบบราง MR8 ชุมพร – ระนอง

โดยผลการศึกษาเบื้องต้นคาดว่าจะใช้เงินลงทุนในระยะเริ่มต้นประมาณ 4แสนล้านบาท และเมื่อพัฒนาให้รองรับปริมาณสินค้าได้ 20 ล้าน TEU

หลังจากนี้ที่ประชุมได้เร่งรัดเสนอคณะทำงานบูรณาการโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ เพื่อเชื่อมโยงการขนส่ง ระหว่างอ่าวไทยและอันดามันกับแหล่งมรดกทางธรรมชาติพื้นที่แหล่งอนุรักษ์ทะเลอันดามันระหว่างกระทรวงคมนาคม และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเพื่อพิจารณาในประเด็นผลกระทบกับพื้นที่มรดกโลกและพื้นที่อุทยานแห่งชาติต่อไป